Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Major depressive disorder (โรคซึมเศร้า) (ประเภทของโรคซึมเศร้า…
Major depressive disorder
(โรคซึมเศร้า)
ความหมาย
เป็นความผิดปกติของสมอง ที่มีผลกระทบต่อความนึกคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมและสุขภาพกาย แต่คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าโรคซึมเศร้า เป็นผลมาจากความผิดปกติของจิตใจ สามารถแก้ไขให้หายได้ด้วยตนเอง ในความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน
ประเภทของโรคซึมเศร้า
Dysthymia Depression
มีอาการรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก แต่เป็นอย่างต่อเนื่องนานกว่า นั่นคือ จะมีอาการอย่างน้อย 2 ปี แต่มักจะนานกว่า 5 ปี อาการไม่รุนแรงถึงขนาดทำอะไรไม่ได้ เนื่องจากผู้ที่ป่วยจะมีอารมณ์ผิดปกติสลับไปด้วย
Bipolar disorder
บางรายจะมีอารมณ์เซ็ง ซึมเศร้าสลับกับอาการลิงโลด โดยเป็นอารมณ์ที่ต่างกัน หรือ ต่างขั้วกัน โดยซึมเศร้าชนิดนี้จะมีผลต่อการตัดสินใจและมักก่อให้เกิดปัญหา เช่น การใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย หรือตัดสินใจผิดๆ และอาจมีความคิดฆ่าตัวตายในช่วงที่มีอาการซึมเศร้าได้
Major Depression
จะมีความผิดปกติที่มีอารมณ์ซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ ผู้ที่ป่วยจะมีอาการเศร้าสลดอย่างมาก จนไม่มีความสนใจในกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยทำให้กลับมามีความสุขสดชื่นเหมือนเดิม
สาเหตุ
ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน เชื่อว่ามาจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน
ปัจจัยด้านสังคม มีความเครียด วิธีเลี้ยงดูในวัยเด็ก
อาการแสดงของโรคทางกายอย่างอื่นๆ เช่น ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน หรือ โรคพาร์กินสัน
ปัจจัยทางชีวภาพ กรรมพันธุ์เป็นปัจจัยสำคัญ โดยพบว่า ถ้ามีญาติพี่น้องเป็นโรคซึมเศร้า จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น 2-3 เท่า
อาการ
การเปลี่ยนแปลงทางความนึกคิด
ครุ่นคิดวนเวียนอยู่กับเรื่องต่างๆ
สูญเสียความมั่นใจในตนเองไปจากเดิม
สมาธิ และความจำลดลง
มีความคิดที่จะทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย
อาการทางกาย
เคลื่อนไหวเชื่องช้า
สีหน้าเศร้าหมอง โต้ตอบช้า สะเทือนใจง่าย
นอนหลับได้น้อย ตื่นบ่อยหรือตื่นเช้ากว่าปกติ
ความอยากรับประทานอาหารลดลงหรือเพิ่มขึ้น
พละกำลังลดลง เหนื่อยง่าย ถึงแม้จะใช้แรงเพียงเล็กน้อย
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
อารมณ์เศร้าหมอง ท้อแท้ เบื่อหน่าย หดหู่
ขาดความสนใจ ความสนุกสนาน ความพึงพอใจ
อารมณ์หงุดหงิด วิตกกังวล
การรักษา
จิตบำบัด (Psychotherapy)
การบำบัดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Therapy: IPT)
การบำบัดเพื่อช่วยปรับทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมและปฏิสัมพันธ์ (Cognitive Behavioral Therapy: CBT)
การช่วยให้สามารถจัดการกับประสบการณ์ตึงเครียดในชีวิต (Problem-Solving Therapy: PST)
การให้ปรึกษา (Counselling)
การรักษาด้วยการกระตุ้นเซลล์สมอง
(Brain Stimulation Therapies)
การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
(Transcranial Magnetic Stimulation: TMS)
การบำบัดช็อคด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy: ECT)
การใช้ยา(Antidepressants)
ช่วยในการปรับสมดุลของสารเคมีในสมองที่ควบคุมอารมณ์และความเครียด ในผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง แพทย์อาจใช้ยาต้านเศร้าผสานกับการบำบัดด้วยการพูดคุย
ยาต้านเศร้าที่ใช้บ่อย
กลุ่ม SNRI (Serotonin Norepinephrine Reuptake Inhibitor) เช่น Venlafaxine, Duloxetine และ Desvenlafaxine
ยาคลายกังวล (Anxiolytic drug) และยานอนหลับ (Sedative drug) ซึ่งจิตแพทย์มักให้ร่วมกับยาต้านเศร้า โดยยาที่นิยมใช้ได้แก่ Lorazepam, Alprazolam และ Clonazepam
กลุ่ม SSRI (Selective Serotonin Reuptake Inhibitor) เช่น Fluoxetine, Sertraline และ Escitalopam 3