Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Electroconvulsive Therapy : ECT การรักษาด้วยไฟฟ้า * (ข้อบ่งชี้ในการทำ…
Electroconvulsive Therapy : ECT
การรักษาด้วยไฟฟ้า
*
ความหมาย
เป็นการรักษาโดยใช้กระแสไฟฟ้าสลับ 70-150 volt ผ่านแผ่นอิเล็กโทรด(Electrodes) เข้าสู่สมองของผู้ป่วยซึ่งจะวางได้ 2 แบบคือ bilateral โดยการวางขั้วไฟฟ้าทั้ง 2 ข้างและแบบ Unilateral วางขั้วไฟฟ้าที่ขมับข้างเดียวกันที่บริเวณขมับ Fronto-temporal ผ่านสมองประมาณ 0.1-0.5 วินาที เพื่อทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการชักทั้งตัวแบบเกร็งและกระตุก (grandmal) การทำครั้งแรกมักจะเริ่มด้วยกระแสไฟฟ้า 80 โวลท์และปล่อยให้กระแสผ่าน 0.2 วินาที ถ้าไม่ชักก็เพิ่มเป็น 90 หรือ 100 โวลท์ และเพิ่มเวลาขึ้นด้วย ถ้าเพิ่มกระแสไฟฟ้า และ/หรือเวลาแล้วผู้ป่วยยังไม่ชัก เราก็มักไม่พยายามต่อไป ควรทำใหม่ในวันรุ่งขึ้นเมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านสมอง ผู้ป่วยจะหมดสติทันที
ข้อห้ามและข้อควรระวังในการรักษาด้วยไฟ้า
โรคของหลอดเลือดและหัวใจเช่นโรค Myocardial infarction ที่เพิ่งเป็นใหม่ๆ ห้ามทำ ECT เพราะอาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ (arrhythmia) ในขณะชัก และอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายมากขึ้น แต่ถ้าคลื่นหัวใจ (ekg) และระดับเอนไซม์ของหัวใจคงที่แล้วอาจ ทำ ECT ได้ แต่ต้องทำโดยความระมัดระวัง
3.การติดเชื้อในกระเเสโลหิตเฉียบพลัน
ห้ามเด็ดขาดในโรคเนื้องอกของสมอง เพราะการชักจะเพิ่มความดันภายในกระโหลกศีรษะ
4.ผู้สูงอายุ
5.ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
6.โรคปอด
ข้อดีของการรักษาด้วยไฟฟ้า
จะช่วยให้อาการทางจิตของผู้ป่วยทุเลาอย่างรวดเร็ว
สามารถคงสภาพไม่ให้อาการกำเริบซ้ำ
สามารถรักษาผู้ป่วยจิตเวชที่ไม่ตอบสนองต่อยาหรือมีความเสี่ยงต่อการใช้ยาเช่น ผู้ป่วยจิตเวชที่กำลังตั้งครรภ์ หรือผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุ
ชนิดของการช็อคด้วยไฟฟ้า มี 2 ชนิดคือ
Unilateral ECT คือการช็อคด้วยไฟฟ้า โดยให้กระแสผ่านสมองซีกเดียว ซึ่งเป็นซีกที่ nondominant เพื่อลดอาการสับสน (confusion) และอาการลืมหลังทำ อย่างไรก็ดี แพทย์บางคนพบว่าผลไม่ดีเท่า bilateral ECT และยังพบว่า verbal learning จะเสียถ้าให้กระแสผ่านสมองซักที nondominant และ nonverbal learning เสียถ้าให้กระแสผ่านสมองซีกที dominant
Bilateral ECT คือการช็อคด้วยไฟฟ้าโดยการวางขั้วไฟฟ้า (electrode) ไว้ที่ขมับ ทั้ง 2 ข้าง ให้กระแสผ่านสมองทั้ง 2 ซีก
ความถี่ในการทำ
ทำ 3 ครั้งต่อสัปดาห์จนอาการดีขึ้น ซึ่งขึ้นกับชนิดของโรค อย่างน้อยที่สุดไม่ควรทำต่ำกว่า 6 ครั้ง และมากที่สุดไม่เกิน 25 ครั้ง เฉลี่ยประมาณ 9 ครั้ง
ข้อบ่งชี้ในการทำ
สภาวะซึมเศร้าจากสาเหตุภายใน (endogenous depression) จะให้ผลดีจากการรักษาด้วยการช็อคไฟฟ้ามากกว่าสภาวะอื่นๆ ที่ใช้บ่อยคือโรคจิตทางอารมณ์แบบเศร้า สภาวะ นี้จะได้ผลดีกว่าร้อยละ 80 และได้ผลเมื่อทำประมาณ 5-10
โรคจิตทางอารมณ์แบบคลั่ง ที่มีอาการอย่างเฉียบพลัน
โรคจิตเภทแบบ catatonic และแบบเฉียบพลันที่มีอาการทางอารมณ์เป็นอาการสำคัญ
เป็น maintenance treatment ในโรคจิตเภทที่เป็นอย่างเรื้อรัง
การเตรียมผู้ป่วยก่อนทำ ECT
การเตรียมผู้ป่วยด้านร่างกาย
งดน้ำงดอหารหลังเที่ยงคืน ตรวจวัดสัญญาณชีพ ถอดฟันปลอม สิ่งของมีค่า ใส่เสื้อผ้าของโรงพยาบาล จิบน้ำแค่พอกลืนยา
การพยาบาลขณะทำการรักษาด้วยไฟฟ้า
จัดท่านอนให้อยู่ในท่านอนหงายราบบนเตียง บันทึกอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต คาดแผ่น electrode ที่ขมับใส่แผ่นยางในปากเพื่อป้องกันการอุดตันทางเดินหายใจและเกิดแผลในปาก
การเตรียมผู้ป่วยด้านจิตใจ
ประเมินความวิตกกังวล อธิบายถึงความจำเป็นและข้อดีในกาารักษาด้วยไฟฟ้า
การพยาบาลผู้ป่วยหลังการรักษาด้วยไฟฟ้า
เมื่อผู้ป่วยเริ่มฟื้นและรู้สึกตัวและหายใจได้เองแล้วย้ายผู้ป่วยไปห้องพักฟื้นหลังจากการทำการรักษา ตรวจวัดสัญญาณชีพ การหายใจ การสำลักเสมหะน้ำลาย ดูแลทำความสะอาดร่างกาย เหมือนกับผู้ป่วยหลังผ่าตัดทั่วไป อาจมีอาการสับสน ระวังอุบัติเหตุตกเตียง เฝ้าระวังอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ พร้อมบันทึกอาการและอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย