Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever-DHF) ทำโดยนางสาวปัญญาพร…
โรคไข้เลือดออก
(Dengue hemorrhagic fever-DHF)
ทำโดยนางสาวปัญญาพร ชูรัมย์
รหัสนักศึกษา 5948100005
พยาธิสภาพ
โรคไข้เลือดออก(Dengue hemorrhagic fever)เชื้อไวรัสในกระแสเลือดจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ทั้งแบบ Antibody,Cytokine และแบบพึ่งเซลล์ท้าให้มีการสร้างDengue specific antibody(IgG,IgM,IgE) antiplatelet antibody ร่วมกับการหลั่งไซโตคีนชนิดต่างๆมีผลกระตุ้นระบบคอมพลีเมนต์,coagulation และ fibrinolysis
ให้มีการเปลี่ยนแปลงของผนังเส้นเลือดฝอยเปราะแตกง่าย จ้านวนเกล็ดเลือดลดลงการท้าหน้าที่บกพร่อง และอายุ สั้นลงมากในระยะวิกฤติ การแข็งตัวของเลือดบกพร่อง (coagulopathy) และมีDIC (dissminted Intravascular Coagulation)
ท้าให้เลือดออกมาก มีการรั่วของพลาสมาออกมานอกหลอดเลือด เลือดมีความหนืดเพิ่มขึ้นท้าให้ค่า ฮีมาโตรคริตสูงหัวใจต้องท้างานหนัก และถ้ามีการรั่วของพลาสมามากก็จะท้าให้เกิดภาวะ Hypovolemic shock
อาการ
อาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัดทั่วไป
มีไข้สูง ตัวร้อน ปวดหัว ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย แต่ผู้ป่วยไข้เลือดออก
อาการแสดงที่รุนแรงกว่า
มีไข้สูงมาก ปวดหัวมาก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วลำตัว ในบางรายอาจคลื่นไส้อาเจียน อาจพบผื่นแดงหรือจ้ำเลือดใต้ผิวหนังทั่วตัว
สาเหตุ
เกิดจากยุงลายเพศเมียที่เป็นพาหะของโรค ดูดเลือดของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ จากนั้นไวรัสเดงกี่จะเติบโตภายในท้องของยุงลาย เมื่อยุงลายกัดคนอื่นต่อไป เชื้อไวรัสนี้ก็จะแพร่เข้าสู่ร่างกายผู้ที่ถูกกัดไปด้วย
การวินิจฉัย
สังเกตอาการด้วยตนเอง หากมีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดหัว หรือมีผื่น แดงหรือห้อเลือด ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เมื่อพบแพทย์ แพทย์จะตรวจวัดความดันโลหิต สังเกตลักษณะอาการที่แสดง พร้อมกับการซักประวัติผู้ป่วย เพื่อดูความเสี่ยงและโอกาสว่าผู้ป่วยอยู่ในบริเวณที่มีการระบาดของไข้เลือดออกหรือไม่ และอาจตรวจเลือดเพื่อดูความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดร่วมด้วย
การรักษา
การรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกนั้นยังไม่มียารักษาเฉพาะโรค เป็นเพียงการรักษาประคับประคองตามอาการอย่างใกล้ชิด โดยทั่วไป ผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีไข้สูงมากและปวดหัวรุนแรง เบื้องต้นจึงใช้ยาระงับอาการ คือ Acetaminophen หรือพาราเซตามอล ซึ่งเป็นยาแก้ปวดและลดไข้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ซึ่งจะมีผลต่อเซลล์เม็ดเลือด อาจกระทบต่อภาวะที่มีเลือดออกซึ่งทำให้อาการแย่ลง ในกรณีที่ผู้ป่วยอาเจียนและอ่อนเพลียจากไข้ แพทย์จะให้น้ำเกลือเพื่อชดเชยการเสียน้ำในร่างกาย นอกจากนี้เป็นการรักษาตามอาการที่ป่วยและเฝ้าระวังการเกิดอาการแทรกซ้อน
ภาวะเเทรกซ้อน
โรคไข้เลือดออกอาจพัฒนาความรุนแรงไปสู่ภาวะโรค Dengue Hemorrhagic Fever ซึ่งจะทำให้มีไข้สูงขึ้น อาการปวดหัวรุนแรงขึ้น อาจมีภาวะเลือดออกตามเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน และ Dengue Shock Syndrome ซึ่งเป็นภาวะที่เสียเลือดมาก พลาสมารั่ว ความดันโลหิตต่ำ นำไปสู่การช็อกที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
การป้องกัน
ปัจจุบัน มีการประกาศใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกในบางประเทศ สำหรับในประเทศไทยวัคซีนที่ช่วยป้องกันโรคไข้เลือดออกยังอยู่ในกระบวนการค้นคว้าทดลอง เพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในการรับรองประสิทธิผลทางการรักษา วิธีการป้องกันจึงเน้นไปยังวิธีการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดโรคด้วยการดูแลตัวเอง
แหล่งอ้างอิง
https://www.pobpad.com
การพยาบาล
เช็ดตัวเมื่อมีไข้ด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น หรือรับประทานยาลดไข้ งดยากลุ่มแอสไพริน
ดูแลรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย
ดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำผลไม้ งดอาหารสีดำแดง น้ำตาล
สังเกตภาวะเลือดออกจากอวัยวะต่างๆของร่างกาย
ระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่เป็นสาเหตุของเลือดออกเนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ เช่น งดออกกำลังกาย งดแปรงฟัน