Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งครรภื (ไตรมาสที่ 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน)…
การให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งครรภื
ไตรมาสที่ 2
(อายุครรภ์ 4-6 เดือน)
การเปลี่ยนแปลง
1.น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น : ควรเพิ่มประมาณเดือนละ 1-2 กก. (รวมประมาณ 4-5 กก.)
2.มดลูกโตขึ้น จะเริ่มรู้สึดลูกดิ้นในสัปดาห์ที่ 16-22
3.ผิวคล้ำตามใบหน้า คอ ลำตัว รักแร้ มีเส้นดำขึ้นเป็นทางยาวกลางท้องตั้งแต่สะดือลงไปถึงหัวเหน่า (Linea nigra) เกิดจากระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอาจมีหน้าท้องลาย (Striae gravidarun)เกืดจากมดลูกที่โตขึ้นรวดเร็ว ทำให้หน้าท้องต้องยืดขยายมากขึ้น
4.ตกขาวหรือมูกในช่องคลอดมากขึ้นกว่าปกติ : จากการเพอ่มของฮอร์โมนและเลือดที่มาหล่อเลี้ยงบริเวณช่องคลอดมากขึ้นในขณะตั้งครรภ์
5.ระบบย่อยอาหารเปลี่ยนแปลง อาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก
6.เป็นตะคริว
คำแนะนำ
อาหาร : ควรทานให้ครบ 5 หมู่ อาจมีอาหารทุกประเภทใน 1 มื้อ หรือสลับกับมื้ออื่น แต่เมื่อรวม 5-6 มื้อในแต่ละวันควรให้มีครบทุกประเภท ในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายต้องการเฉพาะโปรตีนเพิ่มขึ้น อาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน ไม่ควรรับปรัทานมากเกินไป
เน้นผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว ป้องกันอาการท้องผูก
ธาตุเหล็ก มีในไข่แดง ตับ ผักใบเขียว ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง เพื่อจะลำเลียงออกซเจนจากเลือดแม่สู่ลูก และแคลเซีนมช่วยในการสร้างกระดูกและฟันของลุก มีในนมเป็นส่วนใหญ่
การออกกำลังกาย เช่น เดินวันละ 10-20 นาที
ท่านอน ควรนอนตะแคงซ้าย ขวา หรือหงายสลับกัน ลดจุดกดทับของร่างกาย โดยอาจมีหมอนรองรับขาให้สุงขึ้น เพื่อลดอาการบวมของขาที่เกิดจากกิจกรรมในระหว่างวัน
อาการสำคัญที่ควรมาพบแพทย์
เลือดออกทางช่ิงคลอด ในระยะนี้อาจเกิดจากภาวะรกเกาะต่ำ
ปวดท้องเป็นพักๆ อาจเกิดภาะคลอดก่อนกำหนดได้ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ จากการปัสสาวะบ่อยหรือแสบขัด
อาการตกขาวผิดปกติ เช่น สีเปลี่ยนไป คัน หีือมีกลิ่นเหม็น
ไตรมาสที่ 3
(อายุครรภ์ ึ7-9 เดือน
การเปลี่ยนแปลง
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น : ควรเพิ่มเดือนละ 2 กก. รวม 6 กก.
ปัสสาวะบ่อยขึ้น : โดยเฉพาะช่วงใกล้คลอด จากการที่ศีรษะทารกเคลื่อนต่ำลง
เหนื่อยง่าย นอนหลับไม่สบาย อึดอัด : จากภาวะที่มดลูกโตขึ้น
ปวดหลัง : จากน้ำหนักของมดลุกและตัวเด็กที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องแอ่นหลังหรือเกร็งกล้ามเนื้อหลังมากกว่าปกติ ทำให้เพิ่มภาระแก่กล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ
ตะคริว : จากกล้ามเนื้อขาต้องได้รับน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ หรือจากการที่ได้รับปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอ
คำแนะนำ
อาหาร : เพิ่มอาหารประเภทโปรจีน เช่น เนื้อสัตว์หรือเนื้อปลา ผักใบเขียวต่างๆ
การฝากครรภ์ : จะมีการตรวจปัสสาวะเพื่อดูระดับน้ำตาลและโปรตีนในปัสสาวะ เช้คความดันโลหิต ติดตามอาการบวมเพื่อตรวจหาว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษหรือไม่
การดูแลเต้านม : ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณหัวนมมาก เพราะจะชะล้างไขมันบริเวณนั้นออกไปหมด ทำให้หัวนมแห้งและแตกง่าย
ภาวะฉุกเฉินและอาการสำคัย
อาการท้องแข็ง หรือเจ็บครรภ์ทุก 5-10 นาที
มีมูกเลือดหรือเลือดสดๆออกทางช่องคลอด
มีน้ำเดิน (น้ำใสๆ คล้ายปัสสาวะราด)
ลูกดิ้นน้อยลง
ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ บวม
ไตรมาสที่
(อายุครรภ์ 1-3 เดือน)
การเปลี่ยนแปลง
ประจำเดือนไม่มาตามกำหนด
มีอาการแพ้ท้อง เกิดจากระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะแรกของการตั้งครรภ์ ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
เหนื่อย อ่อนเพบีย
น้ำหนักตัวคงที่หรือเพิ่มขึ้น 1-3 กก. ในรายที่ไม่แพ้ท้อง
คำแนะนำ
1.อาหาร : รับประทานได้ตามปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์ ในรายที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย ควรรับประทานน้อยๆ แต่พออิ่ม วันละ 4-6 มื้อ
2.การฝากครรภ์ : ในระยะแรกแพทย์จะนัดตรวจทุก 4 สัปดาห์ จนถึงไตรมาสที่ 2 จึงจะนัดถี่ขึ้นเป็น 2 และ 1 ตามลำดับ
3.การฉีดวัคซีน : ในรายที่ไม่เคยฉีดวัคซีนบาดทะยักมาก่อน จะฉีด 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย 1 เดือนในไตรมาสที่ 1-2
4.เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ : ไม่มีข้อห้ามในการตั้งครรภ์ ยกเว้นในรายที่มีความเสี่ยงสูง เช่น
-เคยมีประวัติการแท้งบุตรมาแล้วหลายครั้ง หรือมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ : ควรงดในไตรมาสแรก
ในรายที่มีประวัติเคยคลอดบุตรก่อนกำหนด : ควรงดเมื่อตั้งครรภ์ในไตรมาสสุดท้าย
อาการที่ควรมาพบแพทย์
1.แพ้ท้องมาก จนรับประทานอาหารไม่ได้เลย
2.เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด : สาเหตุที่พบบ่อยในระยะนี้คือ ภาวะแท้งคุกคาม เป็นต้น
3.ปวดมากบริเวณท้องน้อย : ในระยะตั้งครรภ์อ่อนๆอาจเกิดจากภาวะแท้งคุกคาม หรือจากการฝังตัวอ่อนผิดปกติ (ตั้งครรภ์นอกมดลูก)
4.ทางเดินปัสสาวะอักเสบ : มีอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อยเหมือนไม่สุด ปัสสาวะเป็นเลือด