Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
infected wound แผลติดเชื้อ ทำโดย...นางสาวศศิวรรณ นิลเลี่ยม…
infected wound แผลติดเชื้อ ทำโดย...นางสาวศศิวรรณ นิลเลี่ยม
การพยาบาล
ให้ยาตามแผลการรักษา
ติดตามผลlab
ดูแลรักษาความสะอาดของบาดแผล
อ้างอิง
https://www.pobpad.com/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD
http://haamor.com/th/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD/
https://medthai.com/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD/
อาการ
อาการทั่วไป
รู้สึกอุ่น ผิวหนังใกล้ ๆ บาดแผลมีรอยแดง เจ็บ หรือบวม
รู้สึกเจ็บบริเวณบาดแผลมากขึ้น
บาดแผลมีกลิ่นเหม็น
บาดแผล มีเลือดหรือหนอง
อาการที่ควรไปพบแพทย์
มีไข้ หรือหนาวสั่น
รู้สึกเจ็บปวดมากขึ้น หรือมีอาการบวมแดงเพิ่มมากขึ้นบริเวณที่มีบาดแผล
รู้สึกชาที่ผิวหนังบริเวณบาดแผล
อาการไม่ดีขึ้นแม้เวลาผ่านไป
สงสัยหรือกังวลเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น
อาการที่ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว
หายใจไม่อิ่ม
หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ
ซึมลง หรือรู้สึกสับสน
มีเลือดซึมออกมาจากบาดแผล
แผลแตกออก หรือรู้สึกว่าแผลกำลังฉีกขาด
รู้สึกเจ็บปวดจากบาดแผลมาก
มีเส้นสีแดงออกมาจากบริเวณแผลติดเชื้อ
พยาธิสภาพ
แผลที่มีการอักเสบลุกลามเป็นบริเวณกว้างซึ่งเกิดจากการติดเชื้อที่มีสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งปนเปื้อนมากในแผล ทำให้มีอาการปวด บวม แดง ร้อน หลังจากนั้นจะเกิดเป็นหนองหรือช้ำเลือดช้ำหนอง ซึ่งจะส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเริ่มตาย ส่วนใหญ่มักเป็นแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุ
วินิจฉัย
แผลติดเชื้อได้จากการตรวจดูลักษณะของบาดแผลและอาจร่วมกับการนำสารคัดหลั่งจากแผลไปตรวจเพื่อย้อมดูเชื้อและ/หรือเพื่อการตรวจเพาะเชื้อ
สาเหตุ
การปนเปื้อนเชื้อด้วยตัวผู้ป่วยเอง อาจมีเชื้ออยู่บนผิวหนัง มือ เยื่อเมือก แล้วเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผลที่เกิดขึ้น หรือเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหารที่เข้าสู่แผลผ่าตัดจนเกิดการติดเชื้อ
เชื้อแพร่กระจายอยู่ในอากาศหรือในสิ่งแวดล้อม แล้วสะสมที่บาดแผลจนเกิดการติดเชื้อ
มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ในอุปกรณ์ที่ใช้กับแผล เช่น ผ้าพันแผล ผ้าก๊อซ
การสัมผัสโดยตรง เช่น ได้รับเชื้อจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ มือของศัลยแพทย์ หรือพยาบาลที่มีเชื้อโรคติดอยู่ เชื้อจุลินทรีย์ที่มักทำให้เกิดแผลติดเชื้อ ได้แก่ เชื้อสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) เชื้อสเตรปโตคอคคัส พัยโอจีเนส (Streptococcus Pyogenes) เชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา (Pseudomonas Aeruginosa)
ภาวะแทรกซ้อน
ผิวหนังบริเวณรอบ ๆ แผลบวมแดง เจ็บปวด และแผลฟื้นฟูได้ไม่ดีเท่าที่ควร
อาจทำให้เกิดฝี ซึ่งจะเป็นก้อนบวมนูน และมีอาการเจ็บปวด
เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังอื่น ๆ เช่น โรคพุพอง (Impetigo)
เกิดการติดเชื้อจนกลายเป็นบาดทะยัก
เกิดการติดเชื้อจนทำให้เป็นโรคแบคทีเรียกินเนื้อ (Necrotizing Fasciitis) ซึ่งเป็นภาวะที่ผิวหนังเกิดความเสียหาย เกิดเยื่อตาย และเกิดอาการเจ็บปวดมาก
การติดเชื้ออาจแพร่กระจายสู่เนื้อเยื่อส่วนที่ลึกลงไปใต้ผิวหนัง จนเกิดเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis)
การติดเชื้ออาจแพร่กระจายสู่กระแสเลือดได้ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบาย มีไข้ และอาจนำไปสู่การติดเชื้อที่รุนแรงขึ้น เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด หรือภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis) ซึ่งเสี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
คำแนะนำ
ทำความสะอาดแผลด้วยสบู่ น้ำสะอาด และยาล้างแผล หมั่นเปลี่ยนผ้าปิดแผลอยู่เสมอ โดยควรรีบเปลี่ยนผ้าใหม่ทันที หากผ้าพันแผลเดิมเปียกหรือสกปรก
ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งเวลาทำแผล และปิดแผลป้องกันเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกเข้าสู่บาดแผล
ดูแลให้แผลแห้งอยู่เสมอ ไม่ให้แผลเปียกน้ำ โดยเฉพาะเวลาอาบน้ำ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างหลากหลาย เช่น ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ ขนมปังธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี ถั่ว ปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เพราะอาหารที่มีประโยชน์ อาจช่วยให้แผลฟื้นฟูได้เร็วขึ้น
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่เพราะนิ
การรักษา
การทำแผล เป็นการทำความสะอาดแผล ดูแลให้แผลแห้งและสะอาดเพื่อที่แผลจะได้หายเร็วขึ้น โดยแพทย์อาจใช้ผ้าพันแผล หรือที่ปิดแผลแบบสุญญากาศปิดแผลเอาไว้
การใช้ยารักษา แพทย์อาจจ่ายยาบรรเทาอาการเจ็บปวดและบวมแดง และให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ เช่น เมโทรไนดาโซล (Metronidazole) อิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ฟลูคลอกซาซิลลิน (Flucloxacillin) เป็นต้น
การรักษาด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ (Hyperbaric Oxygen Therapy: HBO) เป็นการใช้เครื่องออกซิเจนความดันสูงช่วยให้เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนมากขึ้น โดยผู้ป่วยจะนั่งอยู่ในห้องที่มีออกซิเจนความดันสูง เพื่อช่วยฟื้นฟูบาดแผล
การผ่าตัด ในบางกรณี แพทย์อาจต้องผ่าตัดล้างแผลให้สะอาด นำส่วนที่มีการติดเชื้อและเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกไป หรือนำสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในบาดแผลออกมา เพื่อรักษาการติดเชื้อและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ