Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เบาหวาน ทำโดย... นางสาวศศิวรรณ นิลเลี่ยม (คำแนะนำ (ออกกำลังกายสม่ำเสมอ,…
เบาหวาน
ทำโดย...
นางสาวศศิวรรณ นิลเลี่ยม
พยาธิ
เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินไป โดยโรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง ซึ่งปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน แต่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจึงอาจมีผลในการทำลายหลอดเลือด และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ก็อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
โรคเบาหวานประเภทที่ 1
เป็นโรคเบาหวานที่มีสาเหตุมาจาก ความบกพร่องของร่างกายเอง ซึ่งทำให้ตับอ่อนของเราขาดภูมิคุ้มกัน และเมื่อตับอ่อนถูกทำลาย กระบวนการสร้างอินซูลินในธรรมชาติก็จะถูกทำลายไปด้วย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงต้องฉีดอินซูลิน เพื่อไปควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว
โรคเบาหวานประเภทที่ 2
เป็นเบาหวาน ที่จะพบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบชัดเจน แต่ก็มีส่วนเกี่ยวกับ พันธุกรรม น้ำหนักตัวมาก และขาดการออกกำลังกาย มีลูกมาก อีกทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น โดยเซลล์ของผู้ป่วยยังมีการสร้างอินซูลินแต่จะทำงานไม่เป็นปกติ เนื่องมาจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน จึงทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป และบางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว การรักษาอาจใช้ยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อที่จะควบคุมน้ำตาลในเลือด
อาการ
ปัสสาวะบ่อยขึ้น หิวน้ำมากขึ้น หากเริ่มมีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น และหิวน้ำมากขึ้น โดยเฉพาะตอนกลางคืน จะกระหายน้ำมากกว่าเดิม นี้เป็นสัญญาณของโรคเบาหวาน เพราะร่างกายต้องการขับน้ำตาลที่มีอยู่สูงในเลือด ออกมาทางปัสสาวะ
น้ำหนักลด น้ำหนักที่ลดผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางชนิดก็ได้ โดยเฉพาะเบาหวาน การมีน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้น้ำหนักลดลงอย่างเร็วมาก ประมาณ 5-10 กิโลภายใน 2-3 เดือน
บาดแผลหายช้า หากมีแผลที่บริเวณผิวหนัง เช่น มีดบาด การติดเชื้อ หรือรอยฟกช้ำ และแผลหายช้ามาก นั้นเป็นสัญญาณบ่งบอกให้รู้แล้วว่า คุณเป็นเบาหวานแล้ว เพราะระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงของผู้ป่วยเบาหวาน จะไปขัดขวางการทำงานของหลอดเลือด
หิวบ่อย กินจุบจิบ ถ้าเกิดหิวบ่อยและกินจุบจิบขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุ คุณอาจเป็นเบาหวานแล้วก็ได้ เพราะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จะทำให้ร่างกายต้องการอาหาร เพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด จึงส่งสัญญาณเป็นความหิวนั้นเอง
อ่อนเพลีย อารมณ์ไม่คงที่ อาการอ่อนเพลีย และอารมณ์ฉุนเฉียว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดส่งผลต่อการทำงานทุกระบบ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับอารมณ์ด้วย
สาเหตุคนไข้ของเราเป็นแบบไหน
กรรมพันธุ์
ความอ้วน
ความผิดปกติของตับอ่อน
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
การออกกำลังกายน้อย
อ้างอิง ดูรูปแบบการเขียน ต้องมีอะไรอีก
https://www.honestdocs.co/diabetes-symptoms-diagnosis-management-treatment
https://www.pobpad.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99
http://www.natureshop.in.th/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99
คำแนะนำ
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
รับแสงแดดอ่อ่นๆยามเช้าหรือเย็น
ควบคุมน้ำหนัก
รับประทานข้าวกล้องแทนข้าวขาว
หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์
ทานอาหารให้ครบ5หมู่
พยายามอย่ามำให้ร่างกายมีบาดแผล
การวินิจฉัย ค่าที่ผิดปกติ ปกติ ค่ะ
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ (Random/Casual Plasma Glucose Test)
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose: FPG)
การตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม หรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1c: HbA1c)
การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Glucose Tolerance Test: OGTT)
ภาวะแทรกซ้อน
โรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากไม่มีการควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั้งโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก (microvascular complications) เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต หรือโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่ (macrovascular complications) เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน รวมไปถึงโรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาทและที่สามารถทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยะบางส่วน นอกจากนี้สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ การแท้งบุตรได้
การรักษา
การรักษาผู้ป่วยเบาหวานในประเภทที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หากเป็นในระยะแรก ๆ สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลัง และควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจให้ยาควบคู่ไปด้วยหรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทนเช่นเดียวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1
การพยาบาล
การดูแลความสะอาด
ความสะอาดถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานร่างกายมักจะขาดน้ำทำให้ผิวแห้งและมักจะเกิดการติดเชื้อราได้ง่ายๆ
ผู้ป่วยควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้วยสบู่อ่อนๆ หลังอาบน้ำควรเช็ดตัวให้แห้ง และถ้าผิวหนังแห้งจนเกินไปควรทาโลชั่นหรือครีมบำรุงผิวทุกครั้งหลังอาบน้ำ
ควรใส่ใจทำความสะอาดเท้าของผู้ป่วยเป็นพิเศษ เพราะเท้ามักจะเป็นจุดที่เกิดบาดแผลได้ง่ายๆ ควรล้างเท้าผู้ป่วยด้วยน้ำสบู่และล้างน้ำเปล่าให้สะอาด จากนั้นควรใช้ผ้าขนหนูเช็ดให้แห้งโดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วและซอกเล็บต่างๆ
เครื่องใช้ต่างๆ ของผู้ป่วยควรสะอาดอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า ผ้าขนหนู ผ้าปูที่นอน หรือถุงเท้า เพื่อป้องการติดเชื้อต่างๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เกิดมีบาดแผลตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
การป้ องกันภาวะแทรกซ้อนทีอาจจะเกิดขึ้น โดยแนะนําให้สังเกตอาการภาวะน้ำตาลในเลือดตํำ
ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยทีบ้าน ภายหลังจากให้ผู้ป่วยได้นอนสังเกตอาการ และรับการรักษาพยาบาล
ให้คําแนะนําเกียวกับการใช้อินซูลิน คือ ควรเก็บยาอินซูลินไว้ในช่องตู้เย็นธรรมดา ห้ามแช่ในช่องแข็งเพราะจะทําให้อินซูลินเสือมสภาพ ถ้าเก็บอินซูลินไว้ในอุณหภูมิห้องจะมีอายุประมาณหนึงเดือน
การรับประทานอาหารทีถูกต้องและเหมาะสมกับโรคถือว่าเป็นสิงสําคัญทีสุดในการรักษาโรคเบาหวาน ทังนีผู้ป่วยควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลาและให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย