Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผลติดเชื้อ wound inffectionทำโดย.....แก้ไข....... (เอกสารอ้างอิง,…
แผลติดเชื้อ wound inffectionทำโดย.....แก้ไข.......
อาการ
อาการของแผลติดเชื้ออาจปรากฏ 2-3 วันหลังจากเกิดแผล หรืออาจไม่พบอาการใด ๆ เป็นเวลา 1 หรือ 2 เดือนหลังเกิดบาดแผล โดยอาการทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นหลังแผลติดเชื้อ ได้แก่
รู้สึกอุ่น ผิวหนังใกล้ ๆ บาดแผลมีรอยแดง เจ็บ หรือบวม
รู้สึกเจ็บบริเวณบาดแผลมากขึ้น
บาดแผลมีกลิ่นเหม็น
บาดแผล มีเลือดหรือหนอง
แผลติดเชื้อ (Wound Infection) คือ แผลแตกที่มีเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ผิวหนังทำให้มีอาการต่าง ๆ บริเวณบาดแผล และอาจมีอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยการติดเชื้ออาจเกิดบริเวณชั้นผิวหนัง เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังที่ลึกลงไป หรืออาจลามไปยังอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับแผล
สาเหตุของแผลติดเชื้อ
การปนเปื้อนเชื้อด้วยตัวผู้ป่วยเอง อาจมีเชื้ออยู่บนผิวหนัง มือ เยื่อเมือก แล้วเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผลที่เกิดขึ้น หรือเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหารที่เข้าสู่แผลผ่าตัดจนเกิดการติดเชื้อ
เชื้อแพร่กระจายอยู่ในอากาศหรือในสิ่งแวดล้อม แล้วสะสมที่บาดแผลจนเกิดการติดเชื้อ
มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ในอุปกรณ์ที่ใช้กับแผล เช่น ผ้าพันแผล ผ้าก๊อซ
การสัมผัสโดยตรง เช่น ได้รับเชื้อจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ มือของศัลยแพทย์ หรือพยาบาลที่มีเชื้อโรคติดอยู่ เชื้อจุลินทรีย์ที่มักทำให้เกิดแผลติดเชื้อ ได้แก่ เชื้อสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) เชื้อสเตรปโตคอคคัส พัยโอจีเนส (Streptococcus Pyogenes) เชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา (Pseudomonas Aeruginosa)
การวินิจฉัยแผลติดเชื้อ
ซักประวัติและตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจดูลักษณะบาดแผลของผู้ป่วย และอาจสอบถามว่าบาดแผลเกิดจากอะไร เป็นมานานเพียงใด มีอาการอื่น ๆ ด้วยหรือไม่ เป็นต้น
ตรวจเลือดหาการติดเชื้อ แพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยไปส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาการทำงานของภูมิต้านทานต่อเชื้อ
ตรวจด้วยการเพาะเชื้อ แพทย์จะนำตัวอย่างของหนอง หรือเนื้อเยื่อจากบาดแผลไปเพาะเชื้อ แล้วนำไปตรวจในห้องปฎิบัติการเพื่อทดสอบหาเชื้อที่เป็นสาเหตุ
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีที สแกน (Computerized Tomography: CT) เพื่อตรวจหาการติดเชื้อในเนื้อเยื่อชั้นที่ลึกลงไป หรือตรวจหาสิ่งแปลกปลอมในบาดแผล นอกจากนั้น แพทย์อาจใช้สารย้อมสี เพื่อช่วยให้เห็นภาพฉายบริเวณที่ต้องการตรวจได้ชัดเจนขึ้น ดังนั้น หากผู้ป่วยมีประวัติแพ้สารย้อมสี ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเสมอ
การพยาบาล
คำแนะนำก่อนกลับบ้าน
ทำความสะอาดแผลด้วยสบู่ น้ำสะอาด และยาล้างแผล หมั่นเปลี่ยนผ้าปิดแผลอยู่เสมอ โดยควรรีบเปลี่ยนผ้าใหม่ทันที หากผ้าพันแผลเดิมเปียกหรือสกปรก
ดูแลให้แผลแห้งอยู่เสมอ ไม่ให้แผลเปียกน้ำ โดยเฉพาะเวลาอาบน้ำ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างหลากหลาย เช่น ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ ขนมปังธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี ถั่ว ปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
เอกสารอ้างอิง