Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคความดันโลหิตสูง ( Hypertension )ทำโดย นางสาวจิรารัตน์ เชิดชู 5948100144
โรคความดันโลหิตสูง ( Hypertension )ทำโดย นางสาวจิรารัตน์ เชิดชู
5948100144
อาการ
วิงเวียนศรีษะ
มึนงง
ปวดศีรษะข้างเดียว
เหนื่อยหอบ1ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
BP=157/78 mm.Hg
U/D = HT
ภาวะแทรกซ้อน
หัวใจโตและหลอดเลือดหัวใจหนาตัว
หลอดเลือดเล็กๆอุดตัน
ไตวายเรื้อรัง
เลือดออกที่จอตา
เลือดในสมองตีบแตก
สาเหตุ
พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
ไขมันสูง
อ้วน
เบาหวาน
การพยาบาล
ประเมินอาการผู้ป่วย เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียนศรีษะ. มึนงงและปวดศีรษะข้างเดียว ผู้ป่วยแจ้งว่าไม่มีอาการปวดศีรษะ ตาไม่พร่ามัว แขนขาไม่อ่อนแรง
ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ
ให้ยาตามแผนการรักษา
Diltiazem 100 mg 1 เม็ดก่อนอาหารเช้า-เย็น และเฝ้าระวังผลข้างเคียง ผื่นคัน หน้าบวม ลิ้นบวม คอบวม เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก วิงเวียนศรีษะคล้ายจะหมดสติ
Amlodipine 40 mg 1 เม็ดทันที และเฝ้าระวังผลข้างเคียง การบวมตามมือเท้าขาส่วนล่าง ข้อเท้าปวดศีรษะ ท้องเสีย มึนศรีษะ หน้ามืด เหนื่อยง่าย ใจสั่น
ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การหกล้มและเป็นลม โดยให้นั่งพัก10 นาทีและวัดความดันโลหิตอีกครั้งหนึ่ง
การรักษา
ทำการผ่าตัดเราหยุดใช้ยาที่เป็นสาเหตุทำให้ความดันโลหิตสูง การรักษาทำการผ่าตัดเราหยุดใช้ยาที่เป็นสาเหตุทำให้ความดันโลหิตสูง
รับประทานยา
พยาธิสภาพ
ความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ ค่าปกติของคนเราคือ 120/80 มิลิเมตรปรอท แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง
ประเภทโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ (Secondary Hypertension) ความดันโลหิตสูงชนิดนี้ พบจำนวนน้อย และสามารถรักษาให้หายขาดได้ มักเกิดจากสาเหตุการได้รับยา หรือฮอร์โมนบางชนิด และโรคต่างๆ ที่พบได้บ่อย คือ โรคไต โรคของต่อมไร้ท่อ และความผิดปกติของหลอดเลือดแดงใหญ่
โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Primary Hypertension or Essential
Hypertension) พบมากที่สุดประมาณร้อยละ 90 – 95 ของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง โดยมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น กรรมพันธุ์ การรับประทานเกลือมาก โรคอ้วน การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น โรคความดันโลหิตสูงชนิดนี้ มักพบมากในวัยกลางคนจนถึงวัยสูงอายุ และมักมีประวัติทางครอบครัว หรือกรรมพันธุ์ เช่น มีพ่อแม่พี่น้อง หรือสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้อยู่และส่วนใหญ่มักเป็นกับคนอ้วน
คำแนะนำก่อนกลับบ้าน
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสมไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักเกินตัวและจำกัดอาหารไขมันแป้งน้ำตาลและอาหารเคมเพิ่มผักและผลไม้ชนิดไม่หวาน
ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันเช่นเดินวันละ5-10 นาที
หลีกเลี่ยงความเคลียด
มาพบแพทย์ตามนัดเสมอและรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม
รีบพบแพทย์ภายใน24 ชั่วโมงหรือฉุกเฉินขึ้นกับความรุนแรงของอาการเมื่อปวดศีรษะมาก เหนื่อยมากกว่าผิดปกติ ถ้าบวม เจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น เหงื่อออกมาก แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ปากเบี้ยวคลื่นไส้อาเจียน
พักผ่อนให้เพียงพอและรักษาสุขภาพจิตให้ดีอยู่เสมอ
การวินิจฉัย
ความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 mm.Hg
ผู้ป่วยแจ้งว่า มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง
เอกสารอ้างอิง
http://haamor.com/th/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87/
https://www.honestdocs.co/high-blood-pressure
https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/heart_disease/Hypertension/index.htm
https://medthai.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87/
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) หมายถึง ภาวะที่มีความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวที่มีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิต ตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัวที่มีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิต ตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรปรอท โดยมีการวัดความดันโลหิตตั้งแต่ 2 ครั้ง ขึ้นไป
ค่าความดันโลหิต แบ่งเป็น 2 ค่า
ความดันช่วงบนหรือความดันซีสโตลิก (Systolic Blood Pressure) หมายถึง ค่าแรงดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว ซึ่งจะเป็นค่าสูงสุดของแรงดันเลือดที่ตรวจพบ มักมีค่าสูงตามวัย และเปลี่ยนแปลงตามท่าของร่างกาย อารมณ์ และการเคลื่อนไหว ค่าความดันโลหิตสูงมีค่าที่วัดได้ตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอท
ความดันช่วงล่าง (Diastolic Blood Pressure) หมายถึง แรงดันเลือดขณะหัวใจคลาย ค่าความดันโลหิตสูงมีค่าที่วัดได้ตั้งเเต่ 90 มิลลิเมตรปรอท