Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
(แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย (ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม…
-
-
-
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้
วัฒนธรรมด้านอาหาร
อาหารของภาคใต้ มีลักษณะที่สำคัญ คือ รสจัดจ้าน นิยมใส่เครื่องเทศ เช่น ขมิ้น เนื่องจากช่วยดับกลิ่นคาวของอาหาร โดยอาหารภาคใต้จะไม่เน้นรสหวาน
แกงไตปลา เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากในภาคใต้ ส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อปลา พริกขี้หนู ตะไคร้ กระเทียม ขมิ้น กะปิ เป็นต้น
แกงเหลือง เป็นอาหารชนิดหนึ่งของภาคใต้ ส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อสัตว์
พริก ขมิ้นชัน กะปิ น้ำมะนาว เป็นต้น โดยมักจะรับประทานคู่กับผักสด
ข้าวยำ เป็นอาหารไทยภาคใต้ โดยถือกันว่าเป็นอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วน และมีคุณลักษณะพิเศษแตกต่างจากอาหารจานเดียวทั่วไป ส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ ข้าวสวย ข่า ตะไคร้ พริก ถั่วงอก เป็นต้น
-
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง
วัฒนธรรมด้านอาหาร
อาหารของภาคกลาง มีลักษณะสำคัญ คือ มีความหลากหลายในการปรุง การตกแต่งอาหาร โดยรสชาติจะมีรส เค็ม เผ็ด เปรี้ยว หวาน เคล้ากันไปตามชนิดของอาหาร
ห่อหมก เป็นอาหารที่มีมาตั้งแต่โบราณ ส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อปลา ใบยอ
หัวหอม ใบมะกรูด พริกแกง ข่า ตะไคร้ เป็นต้น
น้ำพริกปลาทู เป็นอาหารที่ได้รับความนิยม เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของภาคกลางเป็นที่ราบลุ่ม มีความอุดมสมบูรณ์ โดยส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ปลาทู พริกขี้หนู หอมแดง กระเทียม มะนาว เป็นต้น
แกงส้ม เป็นแกงที่ใส่เนื้อสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นปลาหรือกุ้ง ส่วนประกอบที่สำคัญ
ได้แก่ เนื้อสัตว์ น้ำพริกแกงส้ม พริกขี้หนู หอมแดง กะปิ เป็นต้น
-
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ
วัฒนธรรมด้านอาหาร
อาหารของภาคเหนือ มีลักษณะสำคัญ คือ รสชาติไม่จัด ไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหาร
ความหวานจะได้จากส่วนผสมของอาหารนั้นๆ
แกงฮังเล เป็นอาหารประเภทแกงรสชาติเค็ม-เปรี้ยว ส่วนประกอบที่สำคัญ
ได้แก่ เนื้อหมู พริกแห้ง หอมแดง ข่า ตะไคร้ ผงฮังเล เป็นต้น
แกงแค เป็นแกงที่ประกอบด้วยผักหลายชนิด และมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมด้วยหนึ่งอย่าง เช่น แกงแคไก่ แกงแคปลา ส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ผักตำลึง ผักชะอม ถั่วฝักยาว พริกแห้ง ข่า ตะไคร้ หอมแดง และดอกแค
น้ำพริกหนุ่ม เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป ส่วนประกอบสำคัญ
ได้แก่ พริก กระเทียม ผักสดต่างๆ เป็นต้น โดยมักจะรับประทานกับแคบหมู
-
-
วัฒนธรรมไทย
ลักษณะของวัฒนธรรมไทย
เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ พสกนิกรทุกหมู่เหล่าให้ความเคารพเทิดทูน ทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน
ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในรูปของความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งเป็นที่ยอมรับและมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติที่คนไทยสามารถพูดและเขียนอ่านได้ ภาษาไทยจึงเชื่อมโยงคนในชาติให้เข้าใจวัฒนธรรมไทยได้เป็นอย่างดี
การนับถือผู้อาวุโส เป็นวัฒนธรรมที่มีการปฏิบัติมาช้านาน โดยผู้ที่มีอายุน้อยกว่าจะให้ความเคารพนับถือผู้ที่มีอายุมากกว่า แสดงความเคารพโดยการไหว้ การทักทาย เป็นต้น
เป็นวัฒนธรรมเกษตรกรรม โดยประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชนบทและมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ผูกพันกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม อันเป็นรากฐานแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่นจากอดีตจนถึงปัจจุบัน