Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Electronic Transactions (พระราชบัญญัติ(Act) (หมวด ๒ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิก…
Electronic Transactions
-
-
-
-
-
-
-
-
พระราชบัญญัติ(Act)
หมวด ๒ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
จะพูดถึงบัญญัติลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ รวมทั้งหน้าที่ของบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นรูปแบบของอักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใด ที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
หมวด ๓ ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
จะพูดถึงเจตนารมย์ของธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์ เพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างความเชื่อถือและยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสาธารณะ
หมวด ๑ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
จะพูดถึงบัญญัติหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และการรองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เท่าเทียมกับกระดาษ เพื่อให้การดำเนินการใด ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติ สามารถทำได้ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และมีผลผูกพันทางกฎหมาย
หมวด ๔ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
หมวดนี้จะเน้นไปที่มาตรา ๓๕ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ จะมีผลตามกฎหมายต้องดำเนินการโดยหรือกับหน่วยงานของรัฐ เป็นการดำเนินงานตามกฎหมาย และปฏิบัติตามพระราชกฤษฏีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๔๙
หมวด ๕ คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อวางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง,ติดตามดูแลการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์,เสนอแนะหรือให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีเพื่อการตราพระราชกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๖ บทกำหนดโทษ
ผู้ใดประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่แจ้งหรือขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาหรือฝ่าฝืนคำสั่งห้ามการประกอบธุรกิจของคณะกรรมการหรือประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด โดยความผิดดังกล่าวนี้ รวมถึงการกระทำโดยนิติบุคคล ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคล หรือผู้ซึ่งมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของนิติบุคคลด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นหรือมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น
-
-