Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural effusion) (การวินิจฉัย (การตรวจร่างกาย…
ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
(Pleural effusion)
การรักษา
การรักษาประคับประคองตามอาการ
งดการออกแรง
การเจาะ/ดูดน้ำ/ของเหลวออกจากโพรงเยื่อหุ้มปอด
การให้ออกซิเจน
การให้สารน้ำ/อาหารทางหลอดเลือดดำ
การให้ยาบรรเทาอาการไอ ยาช่วยละ ลายเสมหะ
การรักษาตามสาเหตุ
การให้ยาต้านไวรัสเมื่อน้ำ/ของเหลวเกิดจากปอดอักเสบ ปวดบวม จากติดเชื้อไวรัส
การให้ยาปฏิชีวนะเมื่อน้ำ/ของเหลวเกิดจากปอดอักเสบ หรือปอดบวมจากติดเชื้อแบคทีเรีย
การรักษาควบคุมโรคออโตอิมูนเมื่อสาเหตุเกิดจากโรคนี้
ชนิดของภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด
Transudate
สิ่งซึมเยิ้มใส
น้ำ/ของเหลวที่เกิดจากการซึมรั่วของน้ำ/ของเหลวในหลอดเลือดของเยื่อหุ้มปอด โดยเฉพาะจากหลอดเลือดฝอยซึมเข้าสู่โพรงเยื่อหุ้มปอด
ลักษณะ
มีอัตราส่วนของสาร LDH (Lactate dehydrogenase: เอนไซม์ (Enzyme) ชนิดหนึ่งที่เกิดเมื่อมีการบาดเจ็บของเซลล์/เนื้อเยื่อต่างๆ) เมื่อเทียบกับสาร LDH ในเลือดน้อยกว่า 0.6
มีค่าไขมันคอเลสเตอรอล (Cholesterol) น้อยกว่า 45 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
มีสารโปรตีนเป็นส่วนประกอบน้อยกว่า 25 กรัม/ลิตร
มีความถ่วงจำเพาะอยู่ในช่วงประมาณน้อยกว่า 1.012
ใส สีขาว หรือ ออกเหลืองเล็กน้อย
เกิดจากมีความดันในหลอดเลือดสูงขึ้น โดยไม่ได้เกิดจากมีพยาธิสภาพของผนังหลอดเลือด
Exudate
ชนิดเป็นสิ่งซึมเยิ้มข้น
อาจเกิดจากมีการอุดตันของระบบน้ำเหลืองของเยื่อหุ้มปอด จึงส่งผลให้เกิดน้ำ/ของเหลวสะสมในโพรงเยื่อหุ้มปอด
มีพยาธิสภาพที่ผนังของหลอดเลือดของเยื่อหุ้มปอดโดยเฉพาะผนังหลอดเลือดฝอย
ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดยอมให้น้ำ/ของเหลวในหลอดเลือดไหลซึมออกจากหลอดเลือดเข้าสู่โพรงเยื่อหุ้มปอด เช่น การอักเสบติดเชื้อ หรือการอักเสบโดยไม่ติดเชื้อของเยื่อหุ้มปอด
ลักษณะ
มีค่าไขมันคอเลสเตอรอลมากกว่า 45 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
น้ำขุ่นออกเหลือง เมื่อเกิดจากการอักเสบไม่ติดเชื้อ
มีอัตราส่วนของ LDH เมื่อเทียบกับ LDH ในเลือดมากกกว่า 0.6
มีค่าความถ่วงจำเพาะมากกว่า 1.020
เลือดเมื่อเกิดจากโรคมะเร็ง หรือจากมีอุบัติเหตุรุนแรงต่อปอด
สีขาวข้นของน้ำเหลืองที่มีไขมันปน (Chyle) เมื่อเกิดจากท่อน้ำเหลืองช่องอกอุดตัน
หนองเมื่อเกิดจากการอักเสบติดเชื้อ
การวินิจฉัย
การถ่ายภาพปอดด้วยเอกซเรย์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
การตรวจร่างกาย
การตรวจฟังเสียงหายใจ (ซึ่งจะลดลง หรือหายไปขึ้นกับปริมาณน้ำ/ของเหลว)
การตรวจเสมหะและ/หรือการเพาะเชื้อจากเสมหะ
เพื่อดูการติดเชื้อ การตรวจเสมหะทางเซลล์วิทยา (การตรวจทางเซลล์วิทยา) เพื่อการวินิจฉัยโรคมะเร็ง
ซักประวัติอาการ
ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆทั้งในอดีตและปัจจุบัน
การเจาะดูดน้ำ/ของเหลวจากโพรงเยื่อหุ้มปอด
เพื่อการตรวจหาสารต่างๆ (เช่น สารมะเร็ง สารก่อการอักเสบ) หาเชื้อโรค และ/หรือเซลล์มะเร็ง และอาจร่วมกับการส่องกล้องตรวจหลอดลม (Broncho scope)
อาการ
เกิดตามสาเหตุ จะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน
ก้อนเนื้อในเต้านมเมื่อเกิดจากโรคมะเร็งเต้านม
ตัว ตาเหลือง เมื่อเกิดร่วมกับโรคตับแข็ง
ผื่นขึ้นในผู้ป่วยโรคออโตอิมูน/โรคภูมิต้านตนเอง
บวมเท้าร่วมกับหัวใจเต้นเร็ว เต้นอ่อน เหนื่อยง่าย เมื่อเกิดจากโรคหัวใจ
มีไข้ ไอ มีเสมหะ เมื่อเกิดจากปอดบวม
จากการมีน้ำ/ของเหลวในโพรงเยื่อหุ้มปอด
หายใจเร็วผิดปกติ
สะอึก
เจ็บหน้าอก
ไอเรื้อรัง
แน่นหน้าอก
หายใจลำบาก/หายใจหอบเหนื่อย
นอนราบแล้วหายใจไม่ได้ ต้องนั่ง หรือนอนเอนตัว
สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
ชนิด Transudate
โรคปอด ที่ส่งผลให้เกิดภาวะปอดแฟบไม่ขยายตัว
การล้างไตผ่านทางช่องท้อง
โรคตับเรื้อรัง เช่น โรคตับแข็ง โดยเฉพาะระยะที่ส่งผลให้มีโปรตีนในเลือดต่ำ
โรคอื่นๆที่พบได้น้อย เช่น โรคมะเร็งปอด โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคเยื่อหุ้มหัวใจหรือถุงหุ้มหัวใจอักเสบ หัวใจล้มเหลวจากภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนอย่างรุนแรง
ภาวะหัวใจล้มเหลว โดยเฉพาะเมื่อเกิดจากการล้มเหลวของหัวใจห้องล่างซ้าย
ชนิด Exudate
โรคจากมีการอุดกั้นของหลอดเลือดปอด (Pulmonary embolism)
วัณโรคปอด
โรคปอดบวมติดเชื้อ โดยเฉพาะจากเชื้อแบคทีเรีย
โรคมะเร็งของปอด
โรคมะเร็งชนิดอื่นๆแล้วแพร่กระจายสู่ปอด
ความหมาย
เยื่อหุ้มปอด (Pleura)
เยื่อหุ้มปอดจะมี 2 ชั้น ระหว่างชั้นทั้งสองจะเป็นโพรงหรือเป็นช่อง เรียกว่า โพรงเยื่อหุ้มปอด หรือช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural cavity)
ในโพรงนี้มีของเหลวในปริมาณเล็กน้อยประมาณ 0.1 - 0.2 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัวของคนๆนั้น 1 กิโลกรัมที่หล่อลื่นเยื่อหุ้มปอดทั้ง 2 ชั้น ไม่ให้เสียดสีกัน และเนื่องจากความดันในโพรงเยื่อหุ้มปอดนี้เป็นสุญญากาศ (Vacuum) ดังนั้นโพรงเยื่อหุ้มปอดจึงยังเป็นตัวช่วยการขยายตัวของปอดในการหายใจเข้า-ออกอีกด้วย
เนื้อเยื่อบางๆ ที่ห่อหุ้มเนื้อเยื่อปอดทั้งหมดมีหน้าที่ปกป้องปอด
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการมีน้ำ/ของเหลวเข้าไปสะสมอยู่ในโพรงเยื่อหุ้มปอดมากผิดปกติ จึงก่อให้เกิดอาการต่างๆขึ้น
พยาธิสรีรวิทยา
ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยนี้ต้องอยู่ในสมดุล ปริมาณน้ำ/ของเหลวในโพรงเยื่อหุ้มปอดจึงจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ถ้ามีการเสียสมดุลของปัจจัยทั้ง 2 นี้ด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม เช่น มีน้ำ/ของเหลวซึมผ่านหลอดเลือดเยื่อหุ้มปอดมากขึ้น หรือระบบน้ำเหลืองไม่สามารถดูดซึมน้ำ/ของเหลวกลับเข้าสู่หลอดเลือดดำ/ร่างกายได้ ก็จะส่งผลให้เกิดภาวะมีน้ำ/ของเหลวในโพรงเยื่อหุ้มปอด
โดยทั่วไป การจะมีน้ำ/ของเหลวในโพรงเยื่อหุ้มปอดที่จะตรวจพบได้จากการถ่ายภาพปอดด้วยเอกซเรย์เทคนิคเฉพาะ คือ ถ่ายภาพในท่านอนตะแคงด้านที่สงสัยมีความผิดปกติ (Lateral decubitus) ปริมาณน้ำ/ของเหลวต้องมีปริมาณตั้งแต่ 50 มิลลิลิตรขึ้นไป
ปริมาณน้ำ/ของเหลวในโพรงเยื่อหุ้มปอดจะถูกควบคุมด้วย 2 กลไกสำคัญ คือ จากความดันในหลอดเลือดของเยื่อหุ้มปอดทั้ง 2 ชั้น ซึ่งจะส่งผลให้มีน้ำ/ของเหลวซึมผ่านผนังหลอดเลือดเข้าสู่ในโพรงเยื่อหุ้มปอด, และจากการดูดซึมน้ำ/ของเหลวของระบบน้ำเหลืองกลับเข้าสู่หลอดเลือดดำของเยื่อหุ้มปอด และเข้าสู่ร่างกาย ตามลำดับ
ทั้งนี้การถ่าย ภาพเอกซเรย์เทคนิคปกติ (ถ่ายในท่ายืน) จะสามารถตรวจได้ว่ามีน้ำ/ของเหลวในโพรงเยื่อหุ้มปอด มักจะต้องมีปริมาณน้ำอย่างน้อยประมาณ 200 - 300 มิลลิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นปริมาณที่จะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มเกิดอาการผิดปกติด้วย เช่น เหนื่อยง่ายขึ้นเมื่อต้องออกแรง เป็นต้น