Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัด ในจังหวัดเพชรบุรี (วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) จังหวัดเพชรบุรี wat…
วัด ในจังหวัดเพชรบุรี
วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) จังหวัดเพชรบุรี
วัดพระพุทธไสยาสน์ หรือวัดพระนอนเป็นวัดเก่าแก่อยู่คู่เมืองเพชรมายาวนาน ภายในมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ ที่มีความยาวถึง 43 เมตร มีความสูงจากเศียรถึงฐานบรรทม 15 เมตร ซึ่งเป็นพระที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย มีอายุกว่า 400 ปี และมีความงามวิจิตรเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยเลยนะครับ ภายในองค์พระนอนมีห้องถ้ำจำนวน 11 ห้อง ซึ่งภายในมีพระพุทธรูปองค์เล็กจำนวนมากนอกจากพระนอนที่เป็นจุดเด่นของวัดแห่งนี้แล้ว บริเวณวัดแห่งนี้ยังมีพระพุทธมหาอุดมมงคลนิมิต เป็นพระสมัยกรุงศรีอยุธยา ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระนั่ง และก็มีพระพุทธฉาย และวัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน)
เขาบันไดอิฐ
ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 และเลี้ยวขวาเข้าทางหลวง 3171 ห่างจากเขาวังประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นเขาขนาดย่อมมียอดสูง 121 เมตร วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียง สมเด็จพระเจ้าเสือเคยเสด็จมาฝากตัวเป็นศิษย์ของวัดนี้ ในอดีตวัดเขาบันไดอิฐมีชื่อเสียงมากทางวิทยาคมในช่วงที่หลวงพ่อแดง พระเกจิชื่อดังของจังหวัดเพชรบุรีเป็นเจ้าอาวาส ทำให้มีผู้ให้ความเคารพและเดินทางมาสักการะเป็นจำนวนมาก วัดนี้เป็นวัดที่มีชื่อเสียงทางด้านความงามของศิลปะปูนปั้นชั้นครูที่ฝากผล งานไว้เหนือหน้าบันพระอุโบสถ นอกจากนั้นบริเวณวัด ยังมีถ้ำให้ชมอีกหลายแห่ง ถ้ำแรก คือ “ถ้ำประทุน” มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ตามผนังถ้ำทั้งสองด้าน ลึกเข้าไปจะเป็นถ้ำ “พระเจ้าเสือ” ที่ชื่อเช่นนี้เพราะมีเรื่องเล่ากันมาว่า พระเจ้าเสือได้เสด็จมาหาอาจารย์แสง และได้ถวายพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรประดิษฐานไว้ในถ้ำแห่งนี้ ถัดจากถ้ำนี้เข้าไปทางด้านใต้จะมีถ้ำพระพุทธไสยาสน์ จะมีพระนอนองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ และตรงซอกผนังถ้ำมีประทุนเรือทำด้วยไม้เก่าแก่มาก เป็นประทุนเรือที่พระเจ้าเสือถวายอาจารย์แสง นอกจากถ้ำทั้งสามนี้แล้ว ยังมีถ้ำอื่น ๆ เช่น ถ้ำพระอาทิตย์ ถ้ำพระจันทร์ ถ้ำสว่างอารมณ์ ถ้ำช้างเผือก และถ้ำดุ๊คซึ่งมีชื่อตามดุ๊คโยฮันฮัลเบิร์ต ผู้สำเร็จราชการเมืองปอร์นสวิค (Braunschweig) ประเทศเยอรมัน ผู้เคยมาเยือนเพชรบุรีและมาเที่ยวถ้ำแห่งนี้
-
วัดใหญ่สุวรรณาราม
-
วัดถ้ำเขาย้อย
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาย้อย ใกล้ที่ว่าการอำเภอเขาย้อย ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 อยู่ก่อนถึงตัวเมืองเพชรบุรีประมาณ 22 กิโลเมตร ภายในถ้ำนี้มีพระพุทธรูปใหญ่น้อยหลายปางประดิษฐานอยู่ คล้ายกับถ้ำเขาหลวงและวัดถ้ำเขาบันไดอิฐที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองเพชรบุรี ตามประวัติเล่าว่าพระพุทธรูปเหล่านี้มีมานานแล้ว ต่อมาพระครูอ่อนวัดท้ายตลาดมาบูรณะใหม่ และมีเกร็ดประวัติศาสตร์เล่ากันว่าสมัยเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวยังทรงผนวชอยู่นั้น พระองค์ได้เสด็จธุดงค์มาปักกลดวิปัสสนาที่หน้าเขาย้อย แล้วทรงย้ายขึ้นมาประทับนั่งกรรมฐานอยู่ในถ้ำเขาย้อยหลายคืน
อยู่บนเขาหลวง ห่างจากเขาวังประมาณ 5 กิโลเมตร จากเชิงเขามีบันไดคอนกรีตนำสู่ทางลงถ้ำ เขาหลวงเป็นภูเขาขนาดเล็กมีความสูง 92 เมตร มีหินงอกหินย้อยสวยงาม ภายในมีปล่องที่แสงอาทิตย์สามารถส่องเข้ามาภายในถ้ำได้ทำให้สวยงามยิ่งขึ้น ถ้ำเขาหลวงถือเป็นถ้ำใหญ่และสำคัญที่สุดในเมืองเพชร ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์อันสำคัญยิ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเคยเสด็จประพาสมาและทรงโปรดถ้ำแห่งนี้มาก ทั้งยังทรงบูรณะพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณภายในถ้ำนี้หลายองค์ด้วย กัน และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างบันไดหินลงไปในถ้ำ
ตรงทางเข้าเชิงเขาหลวงด้านขวามือมีวัดใหญ่อยู่วัดหนึ่ง ชาวเมืองเรียกว่า วัดถ้ำแกลบ ปัจจุบันชื่อ “วัดบุญทวี” ซึ่งเป็นวัดใหญ่ น่าชมมาก เพราะท่านเจ้าอาวาสวัดนี้เป็นช่าง ได้ออกแบบและสร้างศาลาการเปรียญที่ใหญ่โต ประตูโบสถ์เป็นไม้สลักลายสวยงามมาก วัดถ้ำแกลบนี้มีตำนานเล่าว่า ปากถ้ำแกลบที่วัดนี้คือ ทางเข้าสู่เมืองลับแลอันเป็นเมืองที่มีแต่หญิงสาวทั้งนั้น แต่ก็เป็นเพียงตำนานของชาวเมืองเพชรนับร้อยปีมาแล้ว
วัดเขาตะเครา
ตั้งอยู่ตำบลบางครก จากตัวเมืองเพชรบุรี ข้ามทางรถไฟ บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟเพชรบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 3176 ระยะทาง 10 กิโลเมตร จะเห็นซุ้มประตูทางเข้าวัดขนาดใหญ่อยู่ทางซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเขาตะเครา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สูง 29 นิ้ว หน้าตักกว้าง 21 นิ้ว มีประวัติว่าหลวงพ่อเขาตะเครา เป็นพระพี่พระน้อง 3 องค์กับหลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา หลวงพ่อบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม บางตำราว่าเป็นพี่น้องกันถึง 5 องค์ คือ หลวงพ่อบางพลีใหญ่ และหลวงพ่อวัดไร่ขิงที่นครปฐมด้วย ประวัติของพระพุทธรูปองค์นี้เริ่มปลายสมัยอยุธยา ขณะที่ชาวบ้านแหลมเมืองเพชรหนีพม่าไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ปากน้ำแม่กลอง ซึ่งได้กลายเป็นบรรพบุรุษของชาวสมุทรสงครามในทุกวันนี้ วันหนึ่งชาวประมงบ้านแหลมไปตีอวนที่ปากอ่าว ได้พระพุทธรูปขึ้นมา 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระยืนปางอุ้มบาตร อีกองค์หนึ่งเป็นพระปางมารวิชัย ชาวบ้านแหลมนำพระยืนไปประดิษฐานที่วัดบ้านแหลม ปัจจุบันนี้คือ วัดเพชรสมุทรวิหาร กลางเมืองสมุทรสงคราม ส่วนอีกองค์มอบให้ญาติชาวบางตะบูนนำมาประดิษฐานที่ วัดเขาตะเครา อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
“หลวงพ่อทอง” วัดเขาตะเครา เป็นพระพุทธรูปแบบนั่ง พระพุทธลักษณะปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ศิลปะเชียงแสน มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๑ นิ้ว และสูง ๒๙ นิ้ว ปิดทองคำเปลวอร่ามทั้งองค์
พระมงคลวชิราจารย์ (หลวงพ่อสุข) เจ้าอาวาสวัดเขาตะเครา ได้เล่าถึงที่มาของชื่อหลวงพ่อทองแห่งวัดเขาตะเครา ว่า เดิมชาวบ้านจะเรียกพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ว่า หลวงพ่อวัดเขาตะเครา เป็นที่เคารพบูชาของชาวประมงเป็นอย่างมาก แต่ได้มาเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “หลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา” หลังจากที่เกิดปรากฏการณ์ปาฏิหาริย์ขึ้น เมื่อตอนกลางคืนของวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๗ ขณะที่อาตมาจำวัด ได้ฝันว่า มีพระอายุมากรูปหนึ่งนำถุงบรรจุทองคำยื่นให้ พร้อมกับพูดว่า ‘เอาไป’ หลังจากนั้นท่านก็หายไป
วัดเนรัญชราราม
ตั้งอยู่ริมทะเลบริเวณด้านทิศเหนือของหาดชะอำ ชื่อวัด เนรัญชราราม ได้รับการตั้งให้สอดคล้องกับชื่อวังมฤคทายวันซึ่งสร้างโดยรัชกาลที่ 6 ตามเรื่องราวในพุทธประวัติเกี่ยวกับแม่น้ำเนรัญชราและป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
สิ่งสำคัญที่น่าสนใจในวัดได้แก่ พระอุโบสถลักษณะทรงอินเดีย ซึ่งไม่ค่อยพบเห็นในประเทศไทย เป็นพระอุโบสถที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2377 พระประธานในพระอุโบสถ คือ หลวงพ่อทอง สร้างเมื่อปี 2478 เป็นพระพุทธรูปที่ชาวบ้านเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์
บริเวณลานกลางแจ้งมี พระพุทธรูปปิดทวารทั้ง 9 ที่ไม่เหมือนที่ใดในประเทศไทย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2527 เพื่อให้ประชาชนที่มาเที่ยวชะอำได้มีสิ่งสักการะ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นสีขาว นั่งปิดทวารทั้ง 9 คือ ตาสอง จมูกสอง หูสอง ปากหนึ่ง ทวารหนัก ทวารเบา รวมเป็น 9 เป็นปริศนาธรรมซึ่งหมายความถึงการตัดกิเลสโดยวิธีปิดช่องทางการเข้าและออก ของกิเลสหรือสิ่งไม่ดีงามทั้งหลาย
นอกจากนี้ยังมีศาลาจตุรมุขประดิษฐานรอยพระพุทธบาททองเหลือง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2491 และรูปหล่อพระครูสุนทรวิโรจน์ (สงวน ชาคโร) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้เป็นระยะเวลานานถึง 52 ปี และได้สร้างความเจริญให้แก่วัดและท้องถิ่นเป็นอันมาก
"
อยู่ที่ถนนพระทรง ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 2 กิโลเมตร วัดนี้เดิมเป็นเทวสถานในสมัยขอม สร้างตามลัทธิศาสนาพราหมณ์ ต่อมาเมื่ออิทธิพลของศาสนาพุทธได้แผ่ขยายเข้ามาในบริเวณนั้น จึงได้ดัดแปลงเทวสถานแห่งนี้เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนานิกายมหายาน และหินยานตามลำดับ เทวสถานที่สร้างขึ้นเดิมมีปรางค์ 5 หลัง ทำด้วยศิลาแลง ปัจจุบันเหลือเพียง 4 หลัง สันนิษฐานว่าปรางค์แต่ละหลังใช้เป็นที่ประดิษฐานเทวรูป เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม พระนางอุมา เพราะเมื่อ พ.ศ. 2499 มีผู้ขุดพบรูปสลักของพระนางอุมาในปรางค์องค์หนึ่งที่พังลง วัดนี้เมื่อดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาแล้วได้สร้างพระอุโบสถขึ้น โดยมิได้เปลี่ยนสภาพเดิมไปมากนัก จะเห็นได้ว่ารอบ ๆ วัด ยังมีกำแพงที่ก่อด้วยศิลาแลงล้อมรอบอยู่
วัดต้นสน
ผลการค้นหาประมาณ 44,600 รายการ (0.55 วินาที)
ผลการค้นหา
แผนที่ของวัดต้นสน เพชรบุรีmap expand icon
คะแนน
ตลาดวัดต้นสน
4.1
(41) · ตลาดอาหารสด
เปิด ⋅ ปิด 20:00
เส้นทาง
หลวงพ่อสัมฤทธิ์วัดต้นสน
4.6
(17) · สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
เส้นทาง
สุสานสาธารณะวัดต้นสน
4.5
(10) · สุสาน
038 282 990
เส้นทาง
สถานที่อื่นๆ
ตั้งอยู่ในอำเภอบ้านแหลม เป็นวัดสำคัญของชาวบ้านแหลม เป็นศูนย์รวมในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ ของชุมชนบ้านแหลม มีสิ่งสำคัญอันเป็นมิ่งขวัญของชาวบ้านแหลม คือหลวงพ่อสัมฤทธิ์ นอกจากนี้ยังมีรูปปั้นกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ซึ่งแปลกกว่าที่อื่น เนื่องจากด้านหลังมีรูปปั้นหลวงพ่อทวดยืนเกือบชิดกัน บริเวณหน้าวัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่น้ำเพชรบุรี มีสะพานคอนกรีตสูงทอดข้ามแม่น้ำ มีศาลาไทยริมน้ำสำหรับนั่งพักผ่อน มองเห็นทิวทัศน์สวยงามของหมู่บ้านชาวประมงมีเรือจอดอยู่เรียงรายและมีนก นางแอ่นมาทำรังอยู่ในวัดและโดยรอบ จึงมีการทำธุรกิจเก็บรังนก โดยการสร้างตึกสูงสำหรับให้นกนางแอ่นมาอาศัย
หลวงพ่อสัมฤทธิ์วัดต้นสน หลวงพ่อสัมฤทธิ์ประดิษฐานที่วัดต้นสน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นเวลาช้านานแล้ว ประวัติที่ถูกต้องแท้จริงเป็นอย่างไรไม่ทราบชัด เพราะไม่สามารถสืบหาพยานหลักฐานมาแสดง ได้แต่เล่าสืบพ่อกันมาบ้าง หลักฐานทางประวัติศาสตร์บ้าง ลักษณะทางพุทธปฎิมากรรมบ้างมาอ้างอิงเพื่อให้สอดคล้องใกล้เคียงกันพอจะเชื่อ ถือได้
ลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้ มีรูปลักษณะเป็นแบบสมัยละบุรี เป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร สูงประมาณ 87 เซนติเมตร ความกว้างพระอุระ 30 เซนติเมตร เนื้อโลหะทำด้วยสัมฤทธิ์ทั้งองค์ เป็นฝีมือการสร้างของมอญ ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อสำฤทธิ์เป็นที่รู้จักกันดีของประชาชนชาวบ้านแหลม และอำเภอใกล้เคียง ตลอดจนชาวจังหวัดต่างๆ ทั้งใกล้และไกลต่างพากันมานมัสการกราบไหว้ เสี่ยงทาย บนบานอยู่เสมอมิได้ขาด ทั้งในทางรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยน้ำพระพุทธมนต์ แคล้วคลาดภยันอันตรายต่างๆ การทำมาค้าขาย การประกอบอาชีพให้เจริญรุ่งเรือง ชาวบ้านแหลมยึดถือเอาองค์หลวงพ่อสัมฤทธิ์เป็นหลักชัยที่ยึดมั่นประจำใจในการ สร้างความดี เพื่อให้ประสพผลสำเร็จเสมอมา ทางวัดได้จัดให้มีงานนมัสการหลวงพ่อสัมฤทธิ์เป็นประจำในราวกลางเดือน 12 ของทุกปี
มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า กษัตริย์มอญแห่งกรุงหงสาวดีเป็นผู้สร้างพระองค์นี้ ในสมัยนั้นขอมยังเป็นใหญ่ในสุวรรณภูมิ ขอมกับมอญมีมัมพันธภาพทางเชื้อสายกันอย่างใกล้ชิดอันเชื่อมโยงมาแต่สมัย ทวาราวดี เหตุนี้กระมังจึงผูกเรื่องเข้ามาเกี่ยวข้องกับประวัติที่มาของหลวงพ่อ สัมฤทธิ์
มื่อสมัยสงครามมอญกับพม่า สมัยสมเด็จพระเจ้าอนิรุทธมหาราช ราว พ.ศ. 1600 ต้นเหตุแห่งสงครามคือการที่พม่าขอพระธรรมคำภีร์ ไตรปิฎกและพระคณาจารย์ เพื่อนำไปฟื้นฟูพระศาสนาในพม่าซึ่งกำลังเสื่อม แต่ทางมอญขัดข้องอ้างว่าพระคณาจารย์ไม่ยอมไป พม่าจึงยกทัพไปรบมอญ พระสงฆ์ฝ่ายรามัญประเทศได้ขนย้ายและซุกซ่อนพระธรรมคัมภีร์กับพุทธรูปเป็นการ ใหญ่
คงเป็นเพราะสาเหตุนี้กระมังหลวงพ่อสัมฤทธิ์จึงถูกซุกซ่อนในโพลงมะกอกใหญ่ แห่งหนึ่งในเมืองหลวงหงสาวดี ต่อมาพวกชีผ้าขาวตนหนึ่งได้ไปนั่งพักที่โคนต้นมะมอกซึ่งซ่อนพระพุทธรูปองค์ นี้ไว้ จึงเกิดอัศจรรย์ปาฏิหารย์เป็นแสงสว่างพุ่งออกมา ชีผ้าขาวตนนั้นเห็นเข้าจึงเอาผ้าห่มแบกขึ้นเดินรอนแรมมาจนถึงเมืองสุโขทัย บังเอิญข้ามแม่น้ำเรือเกิดล่มพระองค์นี้จึงจมหายหาไม่พบ ต่อมากล่าวว่าพระปาฏิหารย์ลอยขึ้นมากระทบเรือค้าพลูเข้า พ่อค้าจึงนำไปกับเรือโดยใช้ใบตองปิดคลุมไว้ เที่ยวล่องเรือค้าขายจนกระทั่งมาถึงอ่าวบ้านแหลม จึงนำเรือมาจอดที่ท่าน้ำวัดต้นสน หลวงพ่อสัมฤธิ์ได้ไปเข้าฝันท่านสมภารให้ไปขอซื้อที่เรือพ่อค้าก็ได้ถวายท่าน มา พระองค์นี้จึงได้ประดิษฐานเป็นหลักชัยของวัดต้นสนนับแต่นั้นมา