Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สกุลช่างเมืองเพชร (ศิลปะปูนปั้น : image (image "นายทองร่วง…
สกุลช่างเมืองเพชร
ศิลปะปูนปั้น :
งานปูนปั้นตามรูปแบบของจังหวัดเพชรบุรี นิยมทำร่วมกับงานลงรักปิดทองและประดับกระจก เมื่อดูแล้วจะแข็งแรง ทนทานไม่หดตัวง่าย แพรวพราวมีลายเด่น ช่วยเสริมให้งานประกอบปูนปั้นเด่นยิ่งขึ้น เช่น ฐานพระ งานปูนปั้นที่มีความโดเด่นสวยงามในเมืองเพชรมีหลายแห่ง ประดับอยู่ตามอาคารและสิ่งปลูกสร้างมีมากตามวัดทั่วไป อาทิ งานปูนปั้นหน้าบันพระวิหารหลวง พระปรางค์ และงานปูนปั้นโดยทั่วไปของศาลาวัดมหาธาตุวรวิหาร ผลงานของช่างเมืองเพชรหลายท่าน ส่วนงานปูนปั้นฝีมือช่างสมัยอยุธยามีปรากฏอยู่หลายแห่ง เช่น วัดไผ่ล้อม วัดสระบัว วัดเกาะ วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร วัดบันไดอิฐ เป็นต้น
"นายทองร่วง เอมโอษฐ์"
ศิลปินแห่งชาติ สาขาทศนศิลป์กล่าวว่าจุดจุดเด่นของงานปูนปั้นเมืองเพชร เป็นงานที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ทั้งการออกแบบลวดลาย วิธีการทำงาน และวัสดุต่างๆ ซึ่งยังคงยึดตามโบราณ เช่น การนำหินปูนมาเผาแล้วหมัก ผสมกับน้ำตาล กาวและกระดาษฟาง ตำให้เข้ากันจนเหนียว วัสดุแบบไทยๆ นี้มีคุณภาพมาก สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานเป็นเดือนๆ อีกทั้งลวดลายที่ทำยังไม่นิยมทำให้ซ้ำกัน ในซุ้มหรือจั่วแต่ละจั่วจะมีลวดลายที่แตกต่างหลากหลาย “งานทุกชิ้นถือเป็นความภาคภูมิใจ เพราะงานที่ทำมีความหมายมีเนื้อหาทั้งสิ้น” อ.ทองร่วง กล่าวปิดท้าย
-
-
วัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์งานปูนปั้น ได้แก่ ปูนขาว ปูนซีเมนต์ ทราย น้ำตาลโตนดหรือน้ำตาลอ้อย ถ้วยเบญจรงค์ เครื่องตำปูน เครื่องบดปูน กาวหนัง คีม พู่กัน เกรียงเล็ก เกรียงใหญ่ แปรง ถุงมือ ปลากระดี่
ขั้นตอนสร้างสรรค์งานปูนปั้น
- การเตรียมปูน การหมักปูน ปูนขาว
- การขึ้นโครงแบบงานปูนปั้นมี 2 ลักษณะ คือ 1. ภาพนูนลอย 2. ภาพติดผนัง ภาพนูนต่ำ
- การโกลนปูน
- การปั้น
- การตกแต่งลวดลาย
ลายรดน้ำลงรักปิดทอง
งานช่างลายรดน้ำ งานประณีตศิลป์ของไทยที่มักพบเห็นตามบานประตูหน้าต่างของวัดวาอาราม รวมไปถึงบนบานประตูตู้พระไตรปิฏกนั้น ขั้นตอนและวิธีการทำตั้งแต่การทำน้ำยาหรดารที่ใช้เขียนลวดลายลงบนชิ้นงานในส่วนที่ไม่ต้องการให้ทองติด แล้วเช็ดชิ้นงานด้วยยางรักเพื่อให้ทองติด ก่อนจะปิดทองคำเปลวให้ทั่วแล้วใช้น้ำค่อยๆ รดและถูเบาๆ เพื่อชะล้างทองส่วนเกินออกเหลือเพียงส่วนที่เป็นลวดลายไว้ วิธีที่ต้องใช้น้ำรดนี่เองจึงทำให้เราเรียกงานประเภทนี้ว่า “ลายรดน้ำ”
"ธานินทร์ ชื่นใจ" หรือ ‘ครูธานินทร์’ ช่างลงรักปิดทองลายรดน้ำ หนึ่งเดียวในสกุลช่างเมืองเพชร ผู้ที่หลงรักในจิตรกรรมไทยมาตั้งแต่วัยเยาว์ โดยการเรียนรู้การเขียนลายรดน้ำของเขา เริ่มตอนที่เขาได้บวชที่วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งวัดมหาธาตุวรวิหารเป็นแหล่งรวบรวมมรดกด้านศิลปวัฒนธรรมแขนงต่าง ๆ ไว้อย่างมากมาย
-
-
ขั้นตอนการเขียนลายรดน้ำ
๑. เตรียมพื้นผิวที่จะเขียนลายรดน้ำ
๒. นำรักน้ำเกลี้ยงผสมสมุก
๓. นำหินหรือกระดาษทรายมาขัดผิวให้เรียบเสมอกัน
๔. ทาด้วยรักน้ำเกลี้ยง รอจนเมื่อแห้งสนิทนำพื้นผิวนั้นมาเช็ด ปัด ทำความสะอาด และทารักน้ำเกลี้ยงทับ ปล่อยให้แห้งทำเช่นนี้ซ้ำ ๓
๕. เตรียมน้ำยาหรดาลได้แก่หินสีเหลืองที่นำมาบดให้ละเอียด แช่น้ำ ล้างให้สะอาด และนำมาบดรวมกับน้ำส้มป่อย แล้วนำไปตากแดดให้แห้งจากนั้นนำมาใส่น้ำต้มฝักส้มผ่อย บดจนละเอียดแล้วตากแดดอีก ทำเช่นนี้ซ้ำ ๒-๓ ครั้ง จากนั้นนำยางมะขวิดมาแช่น้ำให้ละลาย แล้วนำมาผสมกับหรดาลที่เตรียมไว้จนได้ความเหนียวพอดี คือเมื่อแห้งแล้วเช็ดรักไม่หลุด
๖. ขั้นการเขียนลวดลายในสมัยโบราณ นายช่างจะนำกระดาษข่อยมาร่างตัวลายที่จะเขียน จากนั้นใช้เหล็กแหลมปรุตามเส้นลายที่เขียนไว้ และนำมากระดาษปรุลาย
๗. นำน้ำยาหรดาลที่เตรียมไว้มาเขียนตามรอยที่ใช้ลูกประคบโรยแบบปรุไว้ และถมช่องไปที่ต้องการให้เห็นพื้นรักสีดำ โดยในการเขียนนั้นต้องมีไม้รองมือ มีลักษณะเป็นไม้ยาว เล็ก หุ้มผ้าที่ปลายมิให้เกิดร่องรอยที่พื้นผิว
ขั้นตอนการเขียนหรดาลตามรอยที่ใช้ลูกประคบโรยแบบปรุไว้
๘. เมื่อเขียนเสร็จใช้ผ้านุ่มเช็ดฝุ่นออกแล้วนำผ้าชุบยางรักที่เคี่ยวไฟไว้จนเหนียว นำมาทำการเช็ดรัก คือ เช็ดยางรักลงบนพื้นที่ไม่ได้ลงหรดาล (พื้นที่จะปิดทอง) และเช็ดออกให้เหลือบางที่สุด เรียกว่า การถอนรัก การถอนรักนี้ ต้องอาศัยความชำนาญ หากทำไม่ดีจะทำให้หรดาลไม่หลุดออกในขั้นตอนสุดท้าย
ขั้นตอนการถอนรัก ใช้ผ้าชุบยางรักที่เคี่ยวไฟจนเหนียว
นำมาเช็ดรักลง บนพื้นที่ที่ต้องการจะปิดทอง และเช็ดออกให้เหลือเพียงบาง ๆ
๙. ปิดทองลงบนพื้นที่เช็ดรักไว้ โดยเมื่อปิดเสร็จก็นำกระดาษที่หุ้มแผ่นทองมาชุบน้ำ และปิดทับทองที่ลงไว้ พรมน้ำให้ชุ่มพื้นผิวทั้งหมด ทิ้งไว้ ๒-๓ นาที ให้หรดาลละลาย และเช็ดออกด้วย สำลีชุบน้ำเบา ๆ นำน้ำมารดและล้างจนน้ำยาหรดาลออกจนหมด ทำให้ส่วนที่ปิดทองกลายเป็นตัวลายตามที่เขียนไว้ติดแน่นกับพื้นรักแท้ ๆ
แทงหยวก
"ประสม สุสุทธิ” การสลักหยวกหรือการแทงหยวก เป็นงานฝีมือช่างประเภทหนึ่งที่อยู่ในช่าง สิบหมู่ ประเภทช่างสลักของอ่อน ย้อนหลังไปประมาณ 20-30 ปี ขึ้นไป มีประเพณีที่เกี่ยวกับการแทงหยวกกล้วยอยู่ 2 อย่าง คือ การโกนจุกเเละการเผาศพ การสลักหยวกกล้วยนั้นผู้ที่เป็นช่างจะต้องได้รับการฝึกหัดจนเกิดความชำนาญพอสมควร เพราะการสลักหยวกกล้วยนั้นช่างจะไม่วาดลวดลายลงไปก่อนจับมีดได้ก็ ลงมือสลักกันเลยทีเดียว
-
-
การสลักหยวกหรือการแทงหยวกเป็นงานฝีมือช่างประเภทหนึ่ง ที่จัดอยู่ในงานช่างสิบหมู่ประเภทช่างสลักของอ่อน การแทงหยวกเป็นวิชาความรู้ที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่อดีต
โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายก็คือต้นกล้วย นำมาสร้างเป็นงานฝีมือซึ่งมักใช้กันในงานตกแต่งประดับประดาเมรุเผาศพ งานบวช งานกฐินและงานตกแต่งอื่น ๆ โดยสืบทอดกันมาหลาย
ร้อยปีแล้ว และผู้ที่สืบทอดงานศิลปการแทงหยวกกล้วยที่ปัจจุบันนี้หาชมได้ยากแล้ว ก็คือคุณทวีศักดิ์ หว่างจันทร์ เป็นผู้สืบทอดฝีมือและเอกลัษณ์งานแทงหยวกกล้วยกลุ่มวัดจำปา
และเป็นวิทยากรสอนการแทงหยวกกล้วยให้แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ อีกมาก
ขั้นตอนการแทงหยวกกล้วย
ขั้นตอนแรกจะต้องเลือกต้นกล้วยตานีหรือต้นกล้วยน้ำว้าต้นสาวๆ คือ ต้นกล้วยที่ยังไม่ออกผล ถ้าออกปลี ออกลูกแล้วจะใช้ไม่ได้เพราะกาบกล้วยจะกรอบเปราะหักง่าย แต่ถ้าเป็นต้นกล้วยที่ยังสาวๆ ไม่มีลูกกาบกล้วยจะอ่อนเหนียวไม่หักง่าย ต้องเลือกต้นใหญ่พอสมควร ร้านม้าเผาศพทั่วไปจะใช้ประมาณ 10 ต้น ต่อร้านม้า 1 ครั้ง เมื่อได้ต้นกล้วยมา ก็จะลอกกาบกล้วยออกเป็นกาบๆ จนถึงแกนของลำต้นให้เหลือประมาณ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-3 นิ้ว เอาไว้ทำฐานล่างเมื่อลอกกาบกล้วยออกมาแล้วก็ต้องคัดขนาด คือกาบใหญ่ๆ รอบนอกก็เอาไว้สำหรับแทงลาย ต่าง ๆ ส่วนกาบเล็ก ๆ ก็ใช้ทำอกกลาง ประเภทลวดลายในการทำหยวกดูแล้วไม่ยากเพราะมีไม่กี่ชนิด คือ ฟันปลา ฟันสาม ฟันห้า ฟันบัว แข้งสิงค์ เเละลาบอก ซึ่งจะทำเป็นลายกนกต่าง ๆ ตามความถนัดเเละเน้นที่ความสวยงาม
ตอกกระดาษ
ครูช่างงานตอกกระดาษ อธิบายถึงงานศิลปะแขนงนี้ว่าเป็นหนึ่งในงานช่างสิบหมู่ งานตอกกระดาษคือการนำกระดาษมาสลักโดยการตอกด้วยสิ่วให้เป็นลวดลายต่างๆ แล้วนำไปปิดประดับตกแต่งสิ่งต่างๆ สำหรับเมืองเพชรบุรีนั้นจะใช้งานตอกกระดาษทำเป็นลายไทยแล้วนำมาติดประดับที่ “ลูกโกศ” ซึ่งเป็นโกศขนาดใหญ่บรรจุกระดูกที่ล้างทำความสะอาดแล้วสำหรับตั้งบำเพ็ญกุศล
ครูช่างงานตอกกระดาษ อธิบายถึงงานศิลปะแขนงนี้ว่าเป็นหนึ่งในงานช่างสิบหมู่ งานตอกกระดาษคือการนำกระดาษมาสลักโดยการตอกด้วยสิ่วให้เป็นลวดลายต่างๆ แล้วนำไปปิดประดับตกแต่งสิ่งต่างๆ สำหรับเมืองเพชรบุรีนั้นจะใช้งานตอกกระดาษทำเป็นลายไทยแล้วนำมาติดประดับที่ “ลูกโกศ” ซึ่งเป็นโกศขนาดใหญ่บรรจุกระดูกที่ล้างทำความสะอาดแล้วสำหรับตั้งบำเพ็ญกุศล
-
-