Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) (สาเหตุ (1.การติดเชื้อแบคทีเรีย…
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
ความหมาย
โรคติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง มีการอักเสบหรือติดเชื้อของเยื่อหุ้มสมอง บริเวณส่วนที่เป็นเมมเบรนห่อหุ้มเนื้อสมองและไขสันหลัง ยังเป็นโรคที่มีอัตราตายและความพิการทางสมองสูง พบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
สาเหตุ
1.การติดเชื้อแบคทีเรีย (Becterial meningitis)
1.1 Purulent meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดเป็นหนอง
1.2 Tuberculosis meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรค
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียพบได้ไม่บ่อยเท่าเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสแต่ภาวะโรครุนแรงมากกว่า
2.การติดเชื้อไวรัส (Viral meningitis)
เป็นสาเหตุทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้บ่อยกว่าเชื้อแบคทีเรีย อาการของโรคหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์เชื้อที่ทำให้เกิด เช่น เชื้อคางทูม ค็อกแซคกี เชื้อไวรัสเริม เป็นต้น โดยเชื้อไวรัสจะแพร่กระจายผ่านทางกระแสเลือด
3.การติดเชื้อพยาธิ (Eosinophilic meningitis) เกิดจากผู้ป่วยได้รับเชื้อเข้าไปจากการรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ
4.การติดเชื้อรา (Fungal meningitis)
Cryptococcus neoformans
candida albicants
5.ปฏิกิริยาที่ไม่ใช่การติดเชื้อ (Non infections disease)
5.2 การบาดเจ็บ/กระทบกระเทือนของสมอง (trauma)
5.3 การได้รับสารพิษ (poison)
5.1 เนื้องอก (malignancy)
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
เชื้อแบคทีเรียสามารถไปสู่ Subarachnoid Space แล้วทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
การติดเชื้อลุกลามโดยตรง พวกนี้การติดเชื้อกระจายสู่ Subarachnoid Space โดยตรงโดยมีแหล่งติดเชื้อบริเวณใกล้เคียง
มีการอักเสบของหูชั้นกลางอย่างเรื้อรัง
มีการอักเสบของเส้นโลหิตดำใหญ่ ๆ ในชั้นดูรา ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่เป็นผลจากการติดเชื้อในบริเวณหน้าจมูก
Meningocele แตก
การติดเชื้อผ่านทางกระแสโลหิตโดยที่มีแหล่งติดเชื้ออยู่ที่ส่วนอื่นของร่างกายแล้วแบคทีเรียเข้าสู่กระแสโลหิต (Bacteremia) ไปสู่ Subarachnoid Space ได้
ได้รับเชื้อโดยตรงจากการเปื้อนของเชื้อ เช่น มีการแตกหักของกะโหลกศีรษะ หรือมีกระดูกแตกที่บริเวณฐานของกะโหลกศีรษะ ทำให้น้ำไขสันหลังไหลออกมาทางจมูกหรือหู
อาการและอาการแสดง
1.อาการที่แสดงว่ามีการติดเชื้อ
เบื่ออาหาร
หนาวสั่น
ในเด็กเล็ก ๆ จะกระสับกระส่ายหรือหงุดหงิดไม่ยอมดูดนม หรือมีอาเจียนได้ง่าย
มีไข้สูง
2.อาการที่แสดงว่ามีการระคายของเยื่อหุ้มสมอง (Meningeal Irritation) ร่วมกับความผิดปกติในการทำงานของสมอง
ปวดศีรษะมาก และปวดที่บริเวณคอด้วย
ระยะแรกผู้ป่วยจะซึมเล็กน้อยถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการจะเลวลงเรื่อย ๆ จนถึงหมดสติภายใน 4-5 วัน
โดยมากอาจพบอาการชัก ยกเว้นในเด็กเล็ก ๆ โดยเฉพาะภายในอายุ 6 เดือนแรกจะไม่พบ
อาการคอแข็ง (Stiftness of Neck)
Kernig’s Sign Positive
Brudzinski’s Sign Positive
3.อาการที่แสดงถึงภาวะแทรกซ้อน
สมองบวม
มีน้ำหรือหนองในช่องใต้เยื่อหุ้มสมอง
มีฝีในสมอง
การวินิจฉัย
ประวัติของผู้ป่วย
โดยบิดมารดา หรือผู้เลี้ยงดูจะให้ข้อมูลว่า ผู้ป่วยมีไข้สูง ปวดศีรษะและปวดคอ ซึม อาเจียน เด็กเล็กไม่ยอมดูดนม ร้องกวน กระสับกระส่าย
การตรวจห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
การตรวจเลือด
พบปริมาณเม็ดเลือดขาวมีจำนวนสูงขึ้น และมีอีโฮซิโนฟิลสูง ผลการนำเลือดเพาะเชื้อจะพบเชื้อแบคทีเรีย
การตรวจน้ำไขสันหลัง
การตรวจคอมพิวเตอร์สมอง (CT scan)
การตรวจคอมพิวเตอร์สมองเพื่อค้นหาตำแหน่งของการติดเชื้อและการลุกลามของโรค
การย้อมสีน้ำไขสันหลัง (gram stain)
การนำน้ำไขสันหลังย้อมสีจะพบเชื้อแบคทีเรีย และการเพาะเชื้อจากน้ำไขสันหลังจะพบมีการติดเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้นเช่นกัน
ช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคและหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค
5) น้ำตาลในน้ำไขสันหลังปกติควรมีค่าเกิน ½ ของน้ำตาลในเลือด ถ้าตรวจพบน้ำตาลในน้ำไขสันหลังต่ำ แสดงถึงภาวะเยื่อหุ้มสมองติดเชื้อแบคทีเรีย
4) โปรตีนในน้ำไขสันหลัง เด็กปกติจะตรวจพบโปรตีนในน้ำไขสันหลังไม่เกิน 40 mg/dl ถ้าตรวจพบโปรตีนในน้ำไขสันหลังสูงขึ้นร่วมกับมีเซลล์จำนวนมากขึ้นให้สงสัยว่าเกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
3.จำนวนเซลล์ในน้ำไขสันหลังเม็ดเลือดขาวในน้ำไขสันหลังในเด็กปกติไม่ควรเกิน 10 เซลล์/ม3 ส่วนผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะตรวจพบเม็ดเลือดขาวในน้ำไขสันหลังเพิ่มจำนวนมากขึ้น มากกว่า 1000 เซลล์/ม3 ส่วนใหญ่เป็นเซลล์ชนิด โพลีมอร์โฟนิวเคียร์
2.ความดันน้ำไขสันหลังปกติในเด็กโตมีค่าประมาณ 110-150 มม/น้ำ ส่วนทารกแรกเกิดมีค่าประมาณ 100 มม./น้ำ ความดันน้ำไขสันหลังผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะมีค่าสูงมากกว่า 180 มม/น้ำ
1.ลักษณะน้ำไขสันหลังปกติใสไม่มีสีแต่น้ำไขสันหลังของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีลักษณะขุ่นคล้ายน้ำซาวข้าว หรือใสแต่มีลักษณะข้น แสดงว่าเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะเซลล์ส่วนใหญ่เป็นชนิดโพลีมอร์โฟนิวเคียร์
การรักษา
การรักษาเฉพาะ
โดยทั่วไปแพทย์จะให้ยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะสอดคล้องกับผลการเพาะเชื้อน้ำไขสันหลังที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบในผู้ป่วย
การรักษาทั่วไปตามอาการและการรักษาแบบประคับประคอง
ให้ยาลดไข้เมื่อมีไข้สูง
ให้ยานอนหลับเพื่อลดอาการกระสับกระส่าย
ให้ยากันชักในผู้ป่วยที่มีอาการชักเกร็ง
ให้ยาลดอาการบวมของสมองในผู้ป่วยที่มีอาการสมองบวม เช่น ม่านตาโตขึ้น หัวใจเต้นช้า ซึมลง เป็นต้น
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อรักษาภาวะสมดุลของน้ำและอิเลคโตไลท์
เจาะคอ หรือใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่มีปัญหาการหายใจ หรือภาวะหมดสติ
การรักษาภาวะแทรกซ้อน
3.1 ของเหลวคั่งในช่องใต้เยื่อหุ้มสมอง (subdural effusion)
พบได้บ่อยร้อยละ 30 เกิดจากการเชื้อ hemophilus influenza type b ร้อยละ 20 เกิดจากการติดเชื้อ streptococcus pneumonia
3.2 ฝีในสมอง (brain abscess)
จะพบอุบัติการณ์การเกิดฝีในสมองจากภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้น้อย การรักษาทำได้โดยการผ่าตัดและ/หรือให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย
3.3 ความดันในกะโหลกศีรษะสูง
พบว่าผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ความดันน้ำไขสันหลังสูงกว่า 200 น้ำ2 ซึ่งอาจเกิดจากภาวะสมองบวม
3.4การมองเห็นและการได้ยินผิดปกติ
พบว่าผู้ป่วยเด็กเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากจากเชื้อแบคทีเรียมักเกิดปัญหาหูหนวก ซึ่งเกิดจากการอักเสบโดยรอบเส้นประสาทลุกลามเข้าถึงเส้นประสาททำให้เกิดพังผืดไปบีบรัดประสาทสมองทำให้ประสาทสมองพิการ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรค (Tuberculous meningitis)
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรค เกิดจากเชื้อ mycobacterium tuberculosis ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ประเภท acid fast bacilli เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรคเป็นผลทุติยภูมิต่อวัณโรคส่วนอื่นของร่างกาย เช่นวัณโรคปอด วัณโรคต่อมน้ำเหลือง วัณโรคกระดูก ในเด็กส่วนมากจะพบการติดเชื้อวัณโรคที่ปอดก่อนแล้วเชื้อลุกลามไปตามน้ำไขสันหลังแล้วไปสู่สมอง
อาการและอาการแสดง
แบบเฉียบพลัน พบได้ประมาณร้อยละ 10 เด็กจะมีไข้ ซึมลง การรับรู้เปลี่ยนแปลง ชัก มีอาการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง ในระยะท้ายๆผู้ป่วยจะมี decerebrate rigidity และเกิดการเลื่อนของสมอง (cerebral herniation)
แบบเรื้อรัง พบได้ประมาณร้อยละ 90
2.1 ระยะนำ (prodomal stage) ระยะนี้มีไข้ต่ำๆ บางรายไข้สูงลอย หงุดหงิด โกรธง่าย เบื่ออาหาร ซึม นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ อาเจียน เด็กเล็กจะมีอาการกระสับกระส่าย ร้องกวนผิดปกติ
2.2 ระยะเปลี่ยนแปลง (transitional stage) เป็นระยะที่มีความดันในกะโหลกศีรษะสูง มีอาการปวดศีรษะ อาเจียน ชัก ซึมมากขึ้น เด็กเล็กกะหม่อมหน้าโป่งตึง
2.3 ระยะสุดท้าย (terminal stage) ผู้ป่วยในระยะนี้จะมีอาการค่อนข้างหนัก ไข้สูง ซึมมากขึ้น ไม่รู้สึกตัว ตาค้าง รูม่านตาขยายโดยไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง อาจมีอาการกระตุก หรือมีอาการชักเกร็งบ่อย อาจมี decorticate หรือ decerebrate rigidity เป็นพักๆ
การวินิจฉัย
อาการอาการแสดงที่กล่าวข้างต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษ
3.1 การทดสอบทูเบอร์คูลิน (tuberculin test) ให้ผลบวก
3.2 การเจาะหลัง (Lumbar puncture)
2) การตรวจย้อมสีน้ำไขสันหลังเพื่อหาเชื้อจุลินทรีย์ อาจพบเชื้อแอซิด ฟาสท์ บาซิไล
3) การเพาะเชื้อน้ำไขสันหลังจะพบเชื้อวัณโรค
4) ถ้านำน้ำไขสันหลังตั้งทิ้งไว้ค้างคืนจะมีเยื่อผิว หรือฝ้าลอย ลักษณะคล้ายใยแมงมุม (cob web หรือ pellicle)
1) ลักษณะน้ำไขสันหลังใสอาจมีสีเหลืองอ่อน ตรวจนับเซลล์ในน้ำไขสันหลังได้ประมาณ 25-500 เซลล์/มม3
3.3 การถ่ายภาพรังสีทรวงอกจะพบ primary tuberculosis ที่ปอด
3.4 การตรวจคอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) เพื่อติดตามการรักษา
จากประวัติ
พบว่ามีประวัติการป่วยเป็นวัณโรคของสมาชิกในครอบครัว ผู้เลี้ยงดู ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยหรือบุคคลที่พักอาศัยใกล้ที่พักผู้ป่วย
การรักษา
การรักษาเฉพาะ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยาต้านวัณโรค อย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา ได้แก่ isoniazid (INH), rifampin, pyrazidamide, streptomycin และ ethambutal (EMB)
การรักษาแบบประคับประคอง
2.1 การให้สารน้ำ และเกลือแร่ทางหลอดเลือดดำในระยะแรกจะมีการงดน้ำงดอาหารทางปาก เพราะผู้ป่วยอาจมีอาเจียนและสำลักได้ แพทย์จึงให้สารน้ำและเกลือแร่ทางหลอดเลือดดำ
2.2 การให้นม/อาหารที่ให้พลังงาน วิตามิน เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ถ้ารับประทานทางปากไม่ได้หรือไม่รู้สติ แพทย์อาจพิจารณาให้อาหารทางสายยางและ/หรือทางหลอดเลือดดำ
การรักษาภาวะแทรกซ้อน
3.1 การให้ยากันชักในรายที่มีอาการชักเกร็ง จะช่วยป้องกันไม่ให้สมองเสียหายมากขึ้น
3.2 การให้ยาลดอาการบวมของสมอง
ภาวะแทรกซ้อน
1.ระดับสติปัญญาลดลง หรือปัญญาอ่อนขึ้นอยู่กับความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนของโรค
2.หูหนวกหรือพูดได้ช้า พบได้ไม่บ่อย
3.อาการชักมักพบบ่อยในพวกที่ได้รับการรักษาแล้วมีความพิการของสมองอย่างถาวร
4.ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง เกิดจาก communicating hydrocephalusเพราะมีการหนาตัวของ arachnoid บริเวณฐานของสมอง
การพยาบาลผูปวยเด็กที่มีการติดเชื้อของระบบประสาท
ผูปวยเด็กมีภาวะความดันสูงในกะโหลกศีรษะและเสี่ยงตอการเกิดอันตรายจากการชัก
การพยาบาล
ดูในการพยาบาลผูปวยเด็กที่มี ICP และการพยาบาลผูปวยเด็กที่มีอาการชัก
ใหยาปฏิชีวนะ ยาลดอาการบวมในสมอง ยาปองกันและยาตานการชักตามแผนการรักษาและสังเกตอาการขางเคียงจากการใชยา
ดูแลผูปวยกอนและหลังการผาตัดเกี่ยวกับทางสมอง (ถามี)
อาจไดรับสารอาหารและนํ้าไมเพียงพอ เนื่องจากอาการและพยาธิสภาพทางสมองและการไดรับยาขับนํ้า
การพยาบาล
ประเมินนํ้าหนักตัวและภาวการณ์ขาดนํ้า
ประเมินและบันทึก I/O
ติดตามผลการตรวจทางหองปฏิบัติการที่เกี่ยวของ
ดูแลการไดรับนํ้าและสารอาหาร เชน IV, gavage feeding, กระตุนใหดูดนม
ไมสุขสบายพักหลับไดนอยเนื่องจากภาวะ ICP มีการระคายเคืองจากการอักเสบของเยื่อหุมสมองหรือเนื้อเยื่อสมอง มีไข มีความเจ็บปวด
การพยาบาล
จัดสิ่งแวดลอม จัดทานอนใหเหมาะสม การจับตองหรือพลิกตัวควรทําอยางนุมนวล
วางแผนการพยาบาลเพื่อใหผูปวยมีเวลาพักและสงบอยางเพียงพอ
เช็ดตัวและใหยาลดไข หรือยาบรรเทาอาการเจ็บปวด
เสี่ยงตอการเกิดภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจ และเซลลสมองขาดออกซิเจน
การพยาบาล
ประเมินการหายใจ และภาวะขาดออกซิเจน
จัดทานอนใหหายใจสะดวกเปลี่ยนทาทุก 2 ชั่วโมง
ดูแลทางเดินหายใจใหโลง เชน ดูดเสมหะบอยตามความจําเปน จัดทานอนระบายเสมหะรวมกับการเคาะปอด
ใหออกซิเจนตามแผนการรักษา
พัฒนาการลาชา
การพยาบาล
ประเมินพัฒนาการ
ดูแลใหผูปวยไดรับการตอบสนองความตองการพื้นฐาน
เปดโอกาสใหผูปกครองมีสวนรวมในการดูและสงเสริมพัฒนาการ
จัดกิจกรรมสันทนาการใหเหมาะสมกับอาการและวัย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
อาจเกิดอันตรายต่อเซลล์สมอง เนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เป้าหมายการพยาบาล
เซลล์สมองของผู้ป่วยไม่ได้รับอันตราย และการติดเชื้อลดลง/หมดไป
เกณฑ์การประเมินผล
1.ไม่มีไข้
2.ไม่มีอาการชัก เกร็ง
3.ผู้ป่วยรู้สึกตัวดีขึ้น
4.ตรวจไม่พบอาการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง เช่น Stiffnessn of neck , Kernig’ sign และ Brudzinski’s sign
กิจกรรมการพยาบาล
1.ดูแลให้ผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเป็นหนอง ได้รับยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะ ส่วนผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรคดูแลให้ได้รับยาต้านวัณโรคร่วมด้วย
2..วัด และบันทึกสัญญาณชีพ อย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินความผิดปกติ
3.ประเมินและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท เช่น ขนาดรูม่านตา ระดับความรู้สึกตัว การรับรู้บุคคล สถานที่ เวลา ความจำ และความสามารถในการทำตามคำสั่ง อย่างน้อยทุก 1 ชั่วโมงในระยะแรกฟๆ หลังจากนั้นเมื่ออาการเริ่มคงที่ให้ประเมินอย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง หรือตามแผนการรักษา รวมทั้งสังเกตอาการชักเกร็ง อาการระคายเคืองเยื่อหุ้มสมอง ถ้ามีอาการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติใดๆ ให้รายงานแพทย์ทราบเพื่อให้การพยาบาลช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที
4.จัดให้ผู้ป่วยนอนพักอยู่บนเตียง อากาศถ่ายเทสะดวก สิ่งแวดล้อมให้งบไม่ควรทำให้เกิดเสียงดังและไม่ควรรบกวนผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น โดยเตรียมอุปกรณ์ในการให้การพยาบาลพร้อมก่อนให้การพยาบาลผู้ป่วยทุกครั้ง เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
6.ช่วยแพทย์ในการเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น เลือด น้ำไขสันหลัง เป็นต้น และติดตามผลการตรวจดังกล่าวเพื่อประเมินภาวะโรค การรักษา รวมทั้งการวางแผนในการรักษาและการพยาบาลต่อไป
5.ทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยให้สะอาดโดยเฉพาะช่องปาก เพื่อลดการติดเชื้อแทรกซ้อน