Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจช่องท้อง (การดู (ดูรูปร่าง ลักษณะของท้อง ผิวหน้าท้อง รอยแผล…
การตรวจช่องท้อง
-
การเคาะ
การเคาะท้อง
ตรวจสารน้ำในช่องท้อง
ตรวจการกระเพื่อมของน้ำในช่องท้อง (Fluid thrill) ผู้ถูกตรวจนอนหงาย ผู้ตรวจวางมือซ้ายขนานกับหน้าท้องด้านขวาของผู้ถูกตรวจ แล้วใช้มือขวาของผู้ตรวจเคาะเบา ๆ ที่ท้องด้านซ้าย ถ้ามีน้ำในช่องท้อง ผู้ตรวจจะรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนที่ฝ่ามือซ้าย
ตรวจการเปลี่ยนที่ของเสียงเคาะทึบ (Shifting Dullness)
ผู้ถูกตรวจนอนหงาย เริ่มเคาะจากสะดือไปด้านข้างทั้งซ้ายและขวา จนถึงแนวเส้นกลางรักแร้ ในคนปกติจะเคาะได้เสียงโปร่ง
ถ้ามีน้ำในช่องท้องอย่างน้อย 0.5-1 จะได้เสียงทึบ จากนั้นให้ผู้ถูกตรวจพลิกตัว บริเวณที่มีสารน้ำจะเปลี่ยนที่มาอยู่ข้างล่าง ดังนั้นบริเวณเอวข้างบนที่เคยเคาะทึบจะเปลี่ยนเป็นโปร่ง เพราะน้ำมาอยู่ข้างล่าง
การเคาะตับ
เคาะที่ทรวงอกด้านขวาจากบนลงล่างในแนว mid clavicular line เริ่มเคาะที่ช่องซี่โครงที่ 2 ลงมาเรื่อยๆ ปกติจะได้ยินเสียงทึบของตับที่ช่องซี่โครงที่ 4 และจะทึบชัดเจนที่ช่องซี่โครงที่ 6
การเคาะม้าม
ผู้ถูกตรวจนอนตะแคงขวา ยกมือหนุนใต้ศรีษะ เคาะทรวงอกด้านซ้ายจากบนลงล่าง จากช่องซี่โครงที่ 7-11 แต่ละช่องซี่โครงเคาะไล่จาก anterior axillary line ไป posterior axillary line ปกติพบเสียงทึบของม้าม ได้ที่ช่องซี่โครง 9 หรือ 10 mid axillary line ซ้าย ส่วนช่องซี่โครงที่ 11 จะโปร่ง
การคลำ
การคลำลึกหรือคลำสองมือ ไม่ควรทำโดยไม่จำเป็น ใช้ปลายนิ้วชี้ กลางและนาง กดหน้าท้องลงไปลึกๆ แล้วปล่อยมือโดยเร็ว ใช้ตรวจอวัยวะที่โตกว่าปกติและคลำหาก้อนในช่องท้อง
-
การคลำม้าม ใช้ 2 มือ มือซ้ายอ้อมตัวผู้ถูกตรวจสอดฝ่ามือไประหว่างซี่โครงซี่ที่ 10 กับ 11 และดันขึ้นด้านบน มือขวาวางมือไว้ต่ำกว่าชายโครงเล็กน้อย กดมือลงลึกค้างไว้ ปกติจะคลำไม่พบขอบม้าม
การคลำไต ปกติคลำได้ขอบล่างของไตขวาระหว่างมือทั้งสองระหว่างหายใจเข้า ขอบเรียบแข็งและไม่เจ็บ ไตซ้ายคลำไม่ได้
การคลำขาหนีบ ตรวจต่อมน้ำเหลือง ชีพจร ก้อนและลักษณะผิวหนัง ปกติคลำชีพจรขาหนีบได้ ไม่พบต่อมน้ำเหลืองหรือก้อนนูน
การคลำตื้นหรือคลำเบา มือของผู้ตรวจวางราบไปกับหน้าท้อง การเคลื่อนไหวของมือเกิดจากข้อมือ คลำทั่วท้องเริ่มจากบริเวณไกลจากส่วนที่ผู้ถูกตรวจให้ประวัติว่าเจ็บปวดมากที่สุด
-
Rebound tenderness : รู้สึกเจ็บเมื่อผู้ตรวจเอามือกดลึก ๆ และปล่อยโดยเร็ว แสดงว่ามีการอักเสบของ Parietal peritoneumบริเวณนั้นเช่น Appendicitis, Peritonitis
(ตอนกดก็เจ็บ แต่ตอนปล่อยจะเจ็บมากกว่าตอนกด)
Rigidity : แข็งเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องเมื่อถูกกด แสดงว่ามีการอักเสบที่ Parietal peritoneum (แข็งเกร็งเหมือนไม้กระดาน board-like-rigidity พบใน PU perforate
-
-
-