Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลอดเลือดดำบริเวณหลอดอาหารส่วนปลายโป่งพอง (Esophageal Varices) (การพยาบาล,…
หลอดเลือดดำบริเวณหลอดอาหารส่วนปลายโป่งพอง (Esophageal Varices)
การรักษา
การรักษาทางอายุรกรรม
การใส่สายสวนสามทาง
Sengstaken-Blakemore tube (SB-tube) : เพื่อให้บอลลูนช่วยกดหยุดเลือด พร้อมทั้งถ่วงดึงไว้ด้วยตุ้มน้ำหนักขนาดประมาณ 1/2 กิโลกรัม จนกว่าเลือดจะหยุด
การให้ยา
1.ออกฤทธิ์ลดภาวะ portal hypertension : alpha blockers, nitrates, angiotensin inhibitors, serotonin antagonists, calcium channel blockers, beta blockers, prostaglandin synthetase inhibitors, digoxin และ theophyllin
2.ออกฤทธิ์หยุดเลือดเฉียบพลัน : Vasopressin, Terlipressin, Somatostatin และ Somatostatin analogs
การรักษาทางศัลยกรรม
การผ่าตัดรักษา
Transjugular intrahepatic portosystemic shunt (TIPS) : การใส่สายเข้าในหลอดเลือดที่คอไปต่อกับหลอดเลือดที่ขั้วตับ เพื่อลดความดันหลอดเลือดในขั้วตับ
การส่องกล้อง
Sclerotherapy และ Ligation ในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกเฉียบพลัน
สาเหตุ
เกิดจากความดันในระบบไหลเวียนพอร์ทัลสูงมาก (portal hypertension) พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคตับแข็ง ตับวาย
พยาธิสรีรวิทยา
ซึ่งรวมไปถึงหลอดเลือดดำในหลอดอาหาร และหากภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดระบบพอร์ทัล (portal hypertension) สูงเกิน 12 มม.ปรอท จะนำไปสู่ภาวะเลือดออกเฉียบพลันจากหลอดเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพองแตก (acute esophageal varices bleeding) ซึ่งมักพบบริเวณหลอดอาหารส่วนปลายที่ตำแหน่ง 2 ซม. จากรอยต่อของหลอดอาหารและกระเพาะอาหารขึ้นมา
จากภาวะตับแข็งซึ่งทำให้เกิดความต้านทานในหลอดเลือดสูงขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการมีพังผืดในตับอีกร้อยละ 20 ถึง 30 เกิดจากการหลั่ง nitric oxide มากขึ้น ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เมื่อภาวะความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดระบบพอร์ทัลสูงจนถึง 10 ถึง 12 มม.ปรอท จะมีผลทำให้เกิดหลอดเลือดดำที่ต่อกับหลอดเลือดระบบพอร์ทัลโป่งพอง (portosystemic collaterals)
.
การพยาบาล
NPO สังเกตลักษณะอาเจียน การขับถ่าย สวนและตวงปัสสาวะทุกชม. และบันทึกปริมาณสารน้ำเข้า-ออก
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
วัดความดันหลอดเลือดดำส่วนกลาง (Central venous pressure : CVP) ทุก 1 ชม. เพื่อประเมินภาวะน้ำในร่างกาย
ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ ได้แก่ งดดื่มสุรา หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เพิ่มความดันในช่องท้อง กินอาหารอ่อนและสังเกตอาการผิดปกติ
ตรวจวัดสัญญาณชีพทุกๆ 15-30 นาที เจาะ Hct ทุก 4-6 ชม. เพื่อป้องกันภาวะ Hypovolemic Shock
การวินิจฉัย
การซักประวัติ มีประวัติเป็นโรคตับเรื้อรัง ดื่มสุราเป็นเวลานาน
ตรวจร่างกาย พบอาการแสดงของโรคตับร่วมกับอาการของเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ: LFT - การตรวจการทำงานของตับ CBC - การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง
Coagulogram - ประเมินหน้าที่ของตับ
การตรวจพิเศษ Esophagoscope: การตรวจหลอดอาหารด้วยกล้อง, Gastroscope: การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและสำไส้เล็กส่วนต้น, Endoscope: การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร
อาการ
มีเลือดออกในทางเดินอาหารชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ใจสั่น หายใจเร็ว และหมดสติซึ่งเป็นอาการแสดงของภาวะช็อกจากการเสียเลือดทำให้ปริมาตรเลือดออกจากหัวใจลดลง อาจมีหรือไม่มีอาการปวดท้องนำมาก่อนก็ได้ ตรวจหน้าท้องพบหน้าท้องแข็งเกร็งเป็นตะคริว ปวดศีรษะ และตรวจเลือดพบเม็ดเลือดแดงน้อยในรายตกเลือด
อาการแสดง
อาเจียนเป็นเลือดสด (hematemesis) ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ (melena) ซีด อ่อนเพลียอย่างรวดเร็ว เหงื่อออก
ปวดศีรษะ หน้ามืดจะเป็นลม มือเท้าเย็น เป็นตะคริว