Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสื่อสารข้อมูลคืออะไร &องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล…
การสื่อสารข้อมูลคืออะไร
&องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
ผู้ส่งข่าวสาร
เป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ผู้รับข่าวสาร
รับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด
ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์
ช่องสัญญาณ
สื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว
การเข้ารหัส
เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย
การถอดรหัส
การที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร
สัญญาณรบกวน
เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ
รูปแบบการส่งสัญญาณ
แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-Way หรือ Simplex )
ในการส่งสัญญาณข้อมูล แบบซิมเพล็กซ์ข้อมูลจะถูกส่งไปในทิศทางเดียว เท่านั้นหมายถึงว่าผู้ส่ง สามารถส่งข้อมูลหรือข่าวสารไปให้แก่ผู้รับได้เพียง ฝ่ายเดียว ส่วนผู้รับไม่สามารถจะโต้ตอบกลับไปได้ ตัวอย่างเช่น การกระจาย เสียงของสถานีวิทยุ หรือการแพร่ภาพทางโทรทัศน์
แบบกลึ่งทางกึ่งทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์ (Either-Way of Two Waysหรือ Half Duplex)
การสื่อสารแบบครึ่งดูเพล็กซ์ เราสามารถส่งข้อมูลสวนทางกันได้แต่ต้องสลับ กันส่งจะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้ ตัวอย่างเช่นวิทยุสื่อสาร ของตำรวจแบบ วอล์กกี้- ทอล์กกี้ ซึ่งต้อง อาศัยการสลับสวิตช์ เพื่อแสดงการเป็นผู้ส่งสัญญาณ และให้ทาง อีกด้านหนึ่งเป็นผู้รับสัญญาณคือต้องผลัดกันพูด บางครั้งเราเรียก การสื่อแบบ ครึ่งดูเพล็กช์ว่า แบบสายคู่ (Two-Wire Line)
แบบทางคู่ (Full-Duplex)
ในแบบนี้เราสามารถส่ง ข้อมูลได้พร้อม ๆ กันทั้งสอง ทาง ตัวอย่างเช่น ในการพูด โทรศัพท์ ท่าน สามารถพูด พร้อมกันกับคู่สนทนาได้ (เช่น ในกรณี แย่งกันพูดหรือ ทะเลาะ กัน) การทำงานจะเป็นดู เพล็กซ์เต็ม แต่ในการใช้งาน จริง ๆ แล้วจะเป็น แบบครึ่งดูเพล็กซ์คือผลัดกันพูด ดังนั้น โทรศัพท์จึงเป็น อุปกรณ์แบบดูเพล็กซ์เต็ม ที่มีการใช้งานแบบครึ่งดูเพล็กซ์บางครั้งเราเรียก การสื่อสารแบบดูเพล็กซ์ เต็มว่า Four-Wire Lineประโยชน์การใช้งานของการ ส่งสัญญาณ แบบดูเพล็กซ์เต็มย่อมให้ประโยชน์ใช้สอยได้ดีกว่ารวมทั้งลด เวลาในการส่งสัญญาณ เพื่อสลับการเป็นผู้ส่งในแบบครึ่งดูเพล็กซ์อย่างไร ก็ตามค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและอุปกรณ์ของระบบการส่ง สัญญาณแบบ ดูเพล็กซ์เต็มย่อมแพงกว่าและยุ่งยากกว่าเช่นกัน
การสื่อสารข้อมูลคืออะไร
กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
ข้อมูล/ข่าวสาร
ข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆ ที่ต้องการส่งไปยังผู้รับโดยข้อมูล/ข่าวสาร
ข้อความ
ตัวเลข
รูปภาพ
เสียง
ผู้ส่ง
คนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งข้อมูล/ข่าวสาร
เครื่องคอมพิวเตอร์
โทรศัพท์
ผู้รับ
คนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับข้อมูล/ข่าวสาร
เครื่องคอมพิวเตอร์
โทรศัพท์
สื่อกลางในการส่งข้อมูล
สื่งที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูล/ข่าวสารไปยังจุดหมายปลายทาง
มีทั้งแบบมีสาย และแบบไร้สาย
โพรโทคอล
กฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติต่างๆ ที่กำหนดชึ้นมาเพื่อเป็นข้อตกลงในการสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่ง
ชนิดสื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสาร
สื่อกลางประเภทมีสาย (wired system)
สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair)
สายโคแอกเซียล (coaxial cable)
สายใยแก้วนำแสง (Optic Fiber)
สื่อกลางประเภทไร้สาย
ไมโครเวฟ (Microwave)
ดาวเทียม (satellite system)
คลื่นวิทยุ (radio)
คลื่นอินฟราเรด (Infrared)
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย
แบบบัส ( BUS Topology )
เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS ทีปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Teminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย
ข้อเสีย
ถ้าระบบเกิดข้อผิดพลาดจะหาข้อผิดพกลาดได้ยาก โดยเฉพาะถ้าเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่
ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุด
การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหาข้อจำกัด คือ จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของ สัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้
ข้อดี
ง่ายต่อการเพิ่มสถานีใหม่เข้าไปในระบบ โดยสถานีนี้สามารถใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้
ประหยัดค่าใช้จ่าย กล่าวคือ ใช้สายส่งข้อมูลน้อยกว่า เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับสายหลักได้ทันที
การเดินสายเพื่อต่อใช้งาน สามารถทำได้ง่าย
สามารถติดตั้งได้ง่าย เนื่องจากเป็นโครงสร้างเครือข่ายที่ไม่ซับซ้อน
ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย
แบบดาว ( Star topology )
เป็นการเชื่อมต่อสถานีหรือจุดต่าง ๆ ออกจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เรียกว่า File Server แต่ละสถานีจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง ไม่มีการใช้สายสัญญาณร่วมกัน เมื่อสถานีใดเกิดความเสียหายจะไม่มีผลกระทบกับสถานีอื่น ๆ ปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์ HUB เป็นตัวเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง
ข้อดี
ง่ายต่อการใช้บริการ เพราะมีศูนย์กลางอยู่ที่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายอยู่เครื่องเดียวและเมื่อเกิดความเสียหายที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นก็จะไม่มีผลกระทบอันใดเพราะใช้สายคนละเส้น
ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ
ข้อเสีย
ต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมาก เพราะแต่ละสถานีมีสายสัญญาณของตนเองเชื่อมต่อกับศูนย์กลางจึงเหมาะสมกับเครือข่ายระยะใกล้มาก กว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล การขยายระบบก็ยุ่งยากเพราะต้องเชื่อมต่อสายจากศูนย์กลางออกมา ถ้าศูนย์กลางเสียหายระบบจะใช้การไม่ได้
ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
แบบวงแหวน ( Ring Topology )
เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับสถาน สุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำสารวิ่งไปบนสายสัญญาณของแต่ละสถานี ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเองต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป
ข้อดี
ใช้สายสัญญาณน้อยกว่าแบบดาว เหมาะกับการเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณใยแก้วนำแสง เพราะส่งข้อมูลทางเดียวกันด้วยความเร็วสูง
การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของ สัญญาณข้อมูลที่ส่งออกไป
ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูลRepeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้นเป็นตนเองหรือไม่
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ไม่เปลืองสายสื่อสาร
สามารถส่งไปยังผู้รับได้หลายๆสถานีพร้อมกัน
ข้อเสีย
ถ้าสถานีใดเสียระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้จนกว่าจะแก้ไขจุดเสียนั้น และยากในการตรวจสอบว่ามีปัญหาที่จุดใดและถ้าต้องการเพิ่มสถานีเข้าไปจะพกหระทำได้ยากด้วย
ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจ
สอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง
ระบบเครือข่ายประเภทต่างๆ
MAN (Metropolitan Area Network)
ระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง
WAN (Wide Area Network)
ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย(Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up / คู่สายเช่า Leased line / ISDN) (lntegrated Service Digital Network สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพในเวลาเดียวกัน)
ประเภทระบบเครือข่าย
**
LAN (Local Area Network)
ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ คือจะเป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆ
เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน ( Personal Area Network: PAN )เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ การเชื่อมต่อพีดีเอกับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้จะอยู่ในระยะใกล้ และมีการเชื่อมต่อแบบไร้สาย
อุปกรณ์
อิมูเลเตอร์ (Emulator)
4.1. ทำหน้าที่เปลี่ยนกลุ่มข่าวสารจาก โปรโตคอลแบบหนึ่งเป็นอีกแบบหนึ่ง
เกตเวย์ (Gateway)
5.1. หน้าที่คือ ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์คั้งแต่ 2 เครือข่ายซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน สามารถสื่อสารกันได้
5.2. (ทำให้เหมือนว่าเป็นเครือข่ายเดียวกัน)
ฮับ (HUB)
3.1. เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
3.2. เชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งปลายทาง
3.3. นิยมใช้กับระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
3.4. ราคาต่ำ
เราเตอร์ (Router)
6.1. เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน อาจจะเป็นเครือข่ายเดียวกันหรือข้ามเครือข่าย
มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer)
2.2. เสียค่าใช้จ่ายสูงและใช้งานไม่เต็มที่
2.3. คอนเซนเตรเตอร์ (Concentrator) เป็นมัลติเพล็กซ์เซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง
2.1. การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point to Point)
2.4. คอนโทรลเลอร์(Controller) เป็นมัลติเพล็กซ์เซอร์ที่ส่งข้อมูลแบบอซิงโครนัส สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงได้ดี
รีพีตเตอร์ (Repeater)
7.1. ทำหน้าที่ส่งสัญญาณซ้ำ
7.2. ทำให้สามารถส่งสัญญาณได้ไกลยิ่งขึ้น
โมเด็ม (MODEM)
1.2. ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูลดิจิตอล ที่ได้รับเป็นอนาลอก และแปลงกลับเป็นข้อมูลดิจิตอลเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ปลายทาง
1.1. ย่อมาจาก Modulator – DEModulator
การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นสารสนเทศ
3. Metasearch Engines
เป็นการค้นหาที่ไม่คำนึงถึงขนาดของตัวอักษร
เป็นการสืบค้นแบบเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่น ทั้งยังมีความหลากหลายของข้อมูล
เทคนิคที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล
ใส่เครื่องหมายคำพูดครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ : เพื่อให้ Search Engine ทราบว่าเรา ต้องการผลการค้นหาที่มีเฉพาะคำในกลุ่มนั้น เช่น “Open Source Software” เป็นต้น
ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน : ควรเลือกใช้ Search Engine ที่ให้ข้อมูลเฉพาะทางที่ต้องการทราบ เช่นต้องการสืบค้นข้อมูลงานวิจัย ก็ให้เข้าเว็บที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแหล่งงานวิจัยโดยเฉพาะ
การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด : ช่วยให้ Search Engine ค้นหาโดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นตัวอักษรเล็กหรือใหญ่
ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกัน : เพื่อจะได้ผลลัพธ์ที่แคบลง และตรงกับความต้องการมากขึ้น
ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic : มี 3 ตัว คือ “ AND ” สั่งให้หาโดยต้องมีคำนั้นๆมาแสดงด้วยเท่านั้น โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น phonelink AND pager เป็นต้น “OR” สั่งให้หาโดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง “ NOT ” สั่งไม่ให้เลือกคำนั้นๆมาแสดง เช่น food and cheese not butter หมายความว่า ให้ทำการหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับ food และ cheese แต่ต้องไม่มี butter เป็นต้น
เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด : ถ้าต้องการจะค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้ เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูลแบบ Index อย่างของ yahoo เพราะ โอกาสที่จะเจอนั้น เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมานั่งสุ่มหาโดยใช้วิธีแบบ Search Engine
ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคำ : “ + ” ใช้หน้าคำที่ต้องการจริงๆ “ - ” ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ “( )” ช่วยแยกกลุ่มคำ เช่น (pentium+computer)cpu
ใช้เป็นตัวร่วม : เช่น com
เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าต่อท้ายเป็นอะไรก็ได้ หรือ
com เป็นการค้นหาคำที่มีด้านหน้าเป็นอะไรก็ได้ต่อท้ายด้วยคำว่า com
หลีก เลี่ยงการใช้ตัวเลข : ถ้าเลี่ยงไม่ได้ควรใส่เครื่องหมายคำพูด “ ” เช่น “drupal 7” เป็นต้น
หลีก เลี่ยงภาษาพูด
Help และ Site map ช่วยคุณได้ : หากต้องการคำอธิบายหรือ option หรือการใช้งาน หรือแผนผังปีกย่อยของเว็บไซต์
2.Subject Directories
จัดแบ่งหมวดหมู่จึงขึ้นกับวิจารณญาณของคนที่ทำการจัดเก็บข้อมูล
การค้นหาค่อนข้างตรงตามความต้องการของผู้ใช้ และมีถูกต้องในการค้นหามากกว่า
การวิเคราะห์รายละเอียด เนื้อหาของแต่ละเว็บเพจ
หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Engine
การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ
การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจ)
การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta)
การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site
การค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser ซึ่งการค้นหาคำในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สำหรับกรณีที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บ เพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่งไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ใช้ browser ช่วยค้นหาให้ ขึ้นแรกให้คุณนำ mouse ไป click ที่ menu Edit แล้วเลือกบรรทัดคำสั่ง Find in Page หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้ จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next โปรแกรมก็จะวิ่งหาคำดังกล่าว
Keyword Index
การค้นหาข้อมูลรูปแบบนี้ จะมีการสำรวจเว็บเพจและอ่านข้อความ ข้อมูล รวมทั้งโครงสร้างภาษาโปรแกรม HTML
วิธีการค้นหาข้อมูลแบบนี้จะเน้นการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลังเป็นสำคัญ
เป็นการค้นหาที่มีความรวดเร็วมาก แต่ความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
จัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว
ความถูกต้องของข้อมูล
ความเร็วของการทำงาน
ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น