Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดการชั้นเรียนปฐมวัย (องค์ประกอบของการจัดการในชัั้นเรียน…
การจัดการชั้นเรียนปฐมวัย
ความหมายของการจัดการในชั้นเรียน
การจัดการในชั้นเรียน หมายถึง กระบวนการต่างๆ ที่วางแผนและเตรียมการล่วงหน้า แล้วนำมาปฏิบัติใช้ตามความจำเป็น โดยคำนึงถึงความเหมาะสมที่สอดคล้องกับพัฒนาการรอบด้านของเด็กเล็ก ทั้งนี้ เพื่อทำให้ห้องเรียนหรือชั้นเรียนบรรลุเป้าหมายทางการเรียน
ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน
พฤติกรรมทางสังคมของการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน เช่น การให้ความร่วมมือ การเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม การรับผิดชอบ การรอคอย การทำงานโดยไม่รบกวนผู้อื่น การรู้จักเก็บของเล่นของใช้ให้เข้าที่ ทั้งหมดนี้มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของโรงเรียน ครูต้องรู้วิธีจัดการให้ชั้นเรียนเพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ ครูอนุบาลต้องสวมบทบาทความเป็นผู้นำที่มีคุณภาพ มีระเบียบวินัย และต้องมีความสามารถในการรักษาสภาวะที่ทำให้มีการเรียนรู้เกิดขึ้น
องค์ประกอบของการจัดการในชัั้นเรียน
ความเข้าใจในงานวิจัยในปัจจุบันทฤษฎีการจัดการในชั้นเรียน จิตวิทยาพัฒนาการเด็ก และจิตวิทยาการศึกษา
ความสัมพันธ์ทางบวกระหว่าง ครูกับเด็กและ เด็กกับเด็ก
วิธีสอนของครูที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุดไม่ว่จะเป็นการตอบสนองเด็กเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
การใช้ระบบและวิธีการจัดการของกลุ่มที่ช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมการทำงานที่เกิดประโยชน์สูงสุด
ความสามารถในการแนะแนวและการปรับพฤติกรรมอย่างเหมาะสม
กระบวนการของการจัดการชั้นเรียน
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดสภาพที่พึงปรารถนา
ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์สภาพห้องเรียนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ขั้นตอนที่ 3 การเลือกและใช้ยุทธวิธีการจัดการในชั้นเรียน
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินประสิทธิภาพการจัดการในชั้นเรียน
วิธีการจัดการในชั้นเรียน
วิธีการจัดการชั้นเรียนตามแนวคิดของเวเบอร์ ประกอบด้วย
1.การใช้อำนาจ
2.การข่มขู่
3.การให้อิสระ
4.การทำตาม "ตำราอาหาร"
5.การจัดการเรียนการสอน
6.การปรับพฤติกรรม
7.การสร้างบรรยากาศทางอารมณ์และสังคม
8.กระบวนการกลุ่ม
วิธีการจัดการชั้นเรียนตามแนวคิดของชิคเคน แดนส์ ประกอบด้วย
1.วิธีการจัดการชั้นเรียนตามมุมมองด้านพฤติกรรมศาสตร์
2.วิธีการจัดการตามมุมมองด้านจิตวิทยา
3.วิธีการจัดการตามมุมมองด้านการจัดการกับกลุ่ม