Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ไตรมาสที่ 3 (ระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal system) (-ปวดแสบยอดอก…
ไตรมาสที่ 3
ระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal system)
-ปวดแสบยอดอก (heartburn or pyrosis)
พบในเวลาหลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆพบในเวลาหลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆพบได้ในอายุครรภ์หลัง 30 สัปดาห์ขึ้นไป เกิดจากการเบียนบังพื้นที่ในช่องท้อง
พบได้ในอายุครรภ์หลัง 30 สัปดาห์ขึ้นไป เกิดจากการเบียนบังพื้นที่ในช่องแรงดันในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น ร่วมกับการคลายตัวของกล้ามเนื้อหูรูด ของกระเพาะอาหารส่วนบน
ท้องผูกและริดสีดวงทวาร (constipation and hemorrhoid)
เกิดจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่น้อยกว่าปกติทำให้มีอาการท้องผูกหรืออุดจาระแข็ง มีการดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ร่างกายในระดับสูงร่วมกับการกดทับของมดลูกต่อลำไส้ใหญ่ตอนปลายทำให้เกิดภาวะท้องผูกและการกดทับของหลอดเลือดบริเวณอุ้งเชิงกราน
เหงือกบวมน้ำ (epulis)
การเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้มีการคั่งของเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณช่องปากและเหงือก บริเวณโคนฟันจะบวมน้ำ เหงือกมีขนาดใหญ่ นุ่ม และยืดหยุ่นตัวมากขึ้น มองเห็นเป็นตุ่มรอบโคนฟัน มีสีคล้ำกว่าปกติ
ถุงน้ำดี (gallbladder)
อิทธิพลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่อกล้ามเนื้อเรียบ ทำให้ถุงน้ำดีในขณะตั้งครรภ์มีการบีบตัวน้อยลง เกิดภาวะ cholectasis การหลั่งของ bile salt ลดลง
ตับ (liver)
ในระยะตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงค่าเอ็นชัยม์ตับหลายชนิดที่เหมือนกับตับมีพยาธิสภาพ
ระบบเผาผลาญอาหาร metabolic change
น้ำและสารน้ำ
สาเหตุหลักเกิดจากการลดระดับของ plasma osmolarity การทำงานของ vasopreein ปริมาณสารน้ำในกระแสเลือดลดลง ยกเว้นเกลือโซเดียมที่ลดลง
ปริมาณน้ำในร่างกายสตรีตั้งครรภ์
น้ำในส่วนของทารกและน้ำคร่ำ 3.5 ลิตร
น้ำในร่างกายสตรีตั้งครรภ์ 6 ลิตร
เต้านมและส่วนเพิ่มเติมของน้ำเลือด
มดลูก
น้ำในเนื้อเยื่อ
ภาวะบวมน้ำปกติของการตั้งครรภ์ Physiological edema
ภาวะบวมน้ำที่บริเวณปลายเท้า(หลังเท้าและตาตุ่ม)
อาการบวมน้ำเกิดจากการไหลเวียนเลือดไม่ดี ปริมาณน้ำจะถูกขับออกในระยะหลังหลอด
ระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary system)
เกิดการกดทับของส่วนนำกับของกระดูกเชิงกราน(pelvic brim) กระเพาะปัสสาวะจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนเหนือขอบกระดูกเชิงกราน
ส่วนใต้ขอบกระดูกเชิงกราน
ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลง มีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะหลังถ่าย (residual urine)
การมีเลือดคั่ง (Hyperemic)
เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นร่วมกับการคลายตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะจากอิทธิพลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้สตรีตั้งครรภ์มีความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ระบบสืบพันธุ์
ปากมดลูก
ปากมดลูกนุ่มมากขึ้นและยืดตัวได้ง่ายเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อการถ่างขยายในระยะคลอด
การหดรัดตัวของมดลูกทำให้มดลูกมีลักษณะที่พร้อมจะถ่างขยาย เรียกว่า ripening
เกิดความเข้มข้นของสารคอลลาเจนลดลง
นุ่มมากขึ้นจากสารพลอสตาแกลนดินที่สร้างจากเนื้อเยื่อของปากมดลูก
ปากมดลูกมีความยืดหยุ่นมากจนสามารถใส่นิ้วมือเข้าไปใน os ได้
มดลูก
การยืดขยายตัวของมดลูกในไตรมาสที่สาม
จะยืดขยายตัวตามขนาดของทารกในครรภ์
ระดับความสูงของยอดมดลูกเป็นข้อมูลหนึ่งที่ใช้ประเมินพัฒนาการของทารกในครรภ์
ปกติจะยืดขยายตามแนวยาวและเป็นการยืดขยายส่วนตัวมดลูก
คอมดลูกจะยืดขยายดึงรั้งขึ้น ส่วนบนเป็นส่วนหนึ่งของมดลูกระยะตั้งครรภ์เรียกว่า lower uterine segment จะยืดขยายตัวเต็มที่ ระดับยอดมดลูกจะขึ้นสูงสุดถึงระดับยอดอกหลังจากนี้จะลดลงเนื่องจากมดลูกส่วนล่างฟอร์มตัวเรียบร้อย
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนตัวลงร่วมกับการเคลื่อนต่ำของส่วนนำทารกลงในอุ้งเชิงกรานเรียก ท้องลด พบได้ในอายุครรภ์ 38 สัปดาห์ขึ้นไป
การยืดขยายของมดลูกส่วนล่าง
จะยืดขยายจนถึงระยะเจ็บครรภ์คลอด
จะมีขนาด 1/3 ของมดลูกตั้งครรภ์ทั้งหมด
จะประกอบด้วย กล้ามเนื้อเรียบจำนวนไม่มากเมื่อยืดขยายตัวจะมีความบางมากกว่าส่วนบน
ในเดือนสุดท้าย การหดรัดตัวของมดลูกบ่อยครั้งมากขึ้นอาจเกิดทุก10-20นาที บางครั้งหดรัดตัวเป็นจังหวะเรียกอาการนี้ว่า “อาการเจ็บครรภ์เตือน”
อาการเจ็บครรภ์เตือน ได้แก่ การหดรัดตัวของมดลูกไม่สม่ำเสมอ ระยะห่างการเจ็บครรภ์นาน ความแรงของการหดรัดตัวไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีการเปิดของปากมดลูก มีการถ่วงรำคาญบริเวณท้องน้อย
การหดรัดตัวขณะตั้งครรภ์จะเกิดในบริเวณส่วนบน ความแรงเพิ่มมากขึ้น บ่อยขึ้น แต่ไม่รู้สึกเจ็บ ไม่สม่ำเสมอ
มดลูกมีขนาดใหญ่เต็มช่องท้องในระยะกลางไตรมาสที่สาม
สตรีตั้งครรภ์มีภาวะไม่สุขสบายจากการกดทับของมดลูกต่ออวัยวะได้แก่
อวัยวะในช่องท้อง
ปอด
เส้นเลือดใหญ่ที่เลี้ยงร่างกายส่วนล่าง
หัวใจ
กระดูกสันหลัง
ภาวะ supine hypotension
ระบบต่อมไร้ท่อ
เป็นระบบสำคัญในการช่วยให้การตั้งครรภ์พัฒนาการได้ตามปกติ
ช่วยสร้างฮอร์โมนที่สำคัญ ได้แก่
เบต้าไลโปโปรตีน
เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองและการสังเคราะห์จาก pro-teolytic-enzyme
มีการสร้างในลักษณะคงที่ตลอดการตั้งครรภ์
พบมากในภาวะที่ร่างกายมีความเครียด
เป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการคลอด
ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
ฟรีคอร์ติซอล
มีการนำเอากรดไขมันและกรดอะมิโนมาสร้างเป็นกลัยโคเจนลดการจับตัวของกลูโคสในเซลล์ไขมันและเซลล์กล้ามเนื้อ ทำให้มีกลูโคสมากพอที่จะส่งผ่านไปให้ทารกในครรภ์
เมื่อ free cortisol มีปริมาณมากทำให้เกิดภาวะ hyperglycemia
เป็นฮอร์โมนที่ต้านการทำงานของอินซูลิน ทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดสูง
ปริมาณ free cortisol ในจำนวนมากๆจะกดการสร้าง ACTH สตรีตั้งครรภ์จึงมีระดับฮอร์โมน ACTH ต่ำกว่าปกติ
อัลโดสเตอโรน
ถูกสร้างเพิ่มขึ้นในอายุครรภ์ 15 สัปดาห์
ปริมาณการสร้างประมาณ 1 มก. ต่อวันและปริมาณจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ร่างกายจะสร้างเรนิน (renin) และแองจิโอเทนซินทู (angiotensin II) เพิ่มมากขึ้น
ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อการรักษาความสมดุลของเกลือโซเดียมในร่างกายและควบคุมความดันโลหิต
ออกซิโตซิน
สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหลังสร้างเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงระยะใกล้คลอดจะมีปริมาณสูงสุด
เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
ระบบกระดูกและข้อต่อ Musculoskeletal system
ภาวะหลังแอ่น lordosis
สตรีตั้งครรภ์มีการโค้งตัวของหลังไปด้านหน้าเพื่องถ่วงดุลกับน้ำหนักของมดลูกที่เพิ่มขึ้นกล้ามเนื้อและเอ็นยึดต่างๆ
อาการ
ปวดเอว
ปวดเอ็นยึดหรือปวดเหนือกระดูกหัวหน่าว
ปวดหลัง
ปวดกล้ามเนื้อไหล่และคอ
อุ้งเชิงกรานจะมีการดึงรั้งมากขึ้น เพื่อรักษาดุลน้ำหนักตัวด้วยการแอ่นหลัง
ฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนรีแล็กซิน
พบมากที่สุดในสัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ เอื้อประโยชน์ในการคลอด
ทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นยึดในอุ้มเชิงกรานคลายตัว คลายตัวหลวม