Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสภาพตามทฤษฎี (พยาธิสรีรภาพ (ภาวะความดันคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง…
พยาธิสภาพตามทฤษฎี
พยาธิสรีรภาพ
-
-
เมื่อร่างกายมีภาวะหายใจล้มเหลวจะมีความดันออกซิเจนในเลือดต่ำ (Hypoxemia) หรือ PaO2 ต่ำ ในระยะแรก และตามมาด้วยความดันคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง (Hypercapnia) หรือ PaO2 สูง
-
ความหมาย
เป็นภาวะที่ปอดไม่สามารถทำงานแลกเปลี่ยนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและมีผลที่ทำให้เกิดการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และเกิดภาวะขาดออกซิเจน (O2) ในเลือด
สาเหตุ
เกิดจากหลอดลมตีบตัน หอบหืด หลอดลมอักเสบรุนแรง เนื้อปอดถูกทำลาย เช่น ภาวะปอดอักเสบมากๆ มีน้ำหรือลมในช่องเยื่อหุ้มปอดมากๆ กล้ามเนื้อการหายใจเสียหน้าที่ เช่น โรคไขสันหลังอักเสบ (Poliomyelitis), Myasthenia gravis ศูนย์หายใจในเมดัลลาเสียหน้าที่ เช่น มีเลือดออกในสมอง ได้รับสารพิษจากยา มีภาวะพร่องออกซิเจน
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยภาวะการหายใจล้มเหลวอย่างเฉียบพลัน อาศัยประวัติของผู้ป่วยที่อาจเป็นข้อบ่งชี้ให้นึกถึงโรคที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวอย่างเฉียบพลัน เช่น ประวัติที่ผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บศีรษะ(head injury) กล้ามเนื้ออ่อนแรง ช็อค โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นต้น ปัจจัยชักนำ เช่น การติดเชื้อ มีไข้ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและอาศัยอาการแสดงทางคลินิกที่แสดงถึงมีภาวะ hypoxemia hypercapnia และ acidosis แต่เนื่องจากอาการแสดงดังกล่าวไม่ชี้เฉพาะว่าจะเกิดกับภาวะหายใจล้มเหลวอย่างเฉียบพลันเท่านั้น อาจเป็นอาการแสดงของการดำเนินของโรคอื่นก็ได้ ดังนั้นจึงต้องใช้การเจาะเลือดตรวจ arterial blood gas เพื่อช่วยการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยรายนั้นเกิดภาวะการหายใจล้มเหลวอย่างเฉียบพลัน ตามความหมายของภาวะการหายใจล้มเหลวที่ให้ไว้ว่าถ้าค่า PaO2 ต่ำกว่า 50 มม.ปรอท ขณะหายใจในอากาศธรรมดาและ/หรือ PaCO2 สูงกว่า 50 มม.ปรอท ให้นึกถึงว่าจะเกิดภาวะการหายใจล้มเหลวอย่างเฉียบพลันและรีบจัดการช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพทันที
การรักษา
รักษาตามอาการและสาเหตุ เช่น บรรเทาการตีบตันของหลอดลมโดยให้ยาขยายหลอดลมเจาะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดออกหากมีน้ำมาก รักษาปอดอักเสบโดยใช้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อ ให้ออกซิเจน ซึ่กปกติให้ในความเข้มข้นสูง ยกเว้นในรายที่มีการอุดกั้นของหลอดลมเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและโรคถุงลมโป่งพอง จะให้ออกซิเจนประมาณ 25-35% เพื่อป้องกันการเกิด CO2 narcosis ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
การพยาบาล
ดูแลผู้ป่วยไม่ให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจหรือเกิดการสำลัก ขจัดเสมหะ สำหรับผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจที่ต้องให้ออกซิเจน ระวังการเกิด CO2 narcosis เช่น ซึมลง หายใจช้าลง บางรายอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อช่วยควบคุมระดับ CO2 และ O2 ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ทั้งด้ายร่างกาย จิตใจ และสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว