Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดการชั้นเรียนปฐมวัย (Early Childhood Classroom Management) Picture4
การจัดการชั้นเรียนปฐมวัย
(Early Childhood Classroom Management)
ความหมายของการจัดการในชั้นเรียน :<3:
กระบวนการต่าง ๆ ที่ครูวางแผนและเตรียมการล่วงหน้า แล้วนำมาปฏิบัติใช้ตามความจำเป็น ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับสภาพห้องเรียน พฤติกรรมนักเรียน หรือการสอนของครู โดยคำนึงถึงความเหมาะสม
ที่สอดคล้องกับพัฒนาการรอบด้านของเด็กเล็ก ทั้งนี้เพื่อทำให้ห้องเรียนหรือชั้นเรียนบรรลุเป้าหมายทางการเรียน
ความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน :<3:
พฤติกรรมทางสังคมของการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน เช่น การให้ความร่วมมือ การเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม การรับผิดชอบ การรอคอย ทั้งหมดนี้มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของโรงเรียน ครูต้องรู้วิธีจัดการในชั้นเรียนเพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้
ทุกห้องเรียนมีต้องมีระบบการจัดการ สิ่งนี้ตั้งอยู่บนค่านิยมที่ครูและเด็กต่างยอมรับร่วมกัน ตัวอย่างเช่น
กฏที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเฉพาะ (กดชักโครกโถส้วมเพียงครั้งเดียว)
กฏที่สะท้อนให้เห็นสิ่งที่ครูพอใจทำ (เปิดปิดไฟเพื่อดึงความสนใจของเด็ก)
กฏของห้องเรียนซึ่งมีทั้งกฏข้อบังคับในเข้าเรียน (มาเข้าเรียนให้ทันเวลา)
องค์ประกอบของการจัดการในชั้นเรียน :<3:
การจัดการในชั้นเรียนควรมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1.ความเข้าใจงานวิจัยในปัจจุบัน ทฤษฎีการจัดการในชั้นเรียน จิตวิทยาพัฒนาการเด็ก และจิตวิทยาการศึกษา
2.ความสัมพันธ์ทางบวกระหว่าง ครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ซึ่งจะช่วยให้ครูเข้าใจความต้องการของเด็กและสามารถตอบสนองได้อย่างถูกต้อง
วิธีสอนของครูที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการตอบสนองเด็กเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
การใช้ระบบและวิธีการจัดการของกลุ่มที่ช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมการทำงานที่เกิดประโยชน์สูงสุด
ความสามารถในการแนะแนวและการปรับพฤติกรรมอย่างเหมาะสม
กระบวนการของการจัดการในชั้นเรียน :<3:
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดสภาพที่พึงปรารถนา (Specifying Desirable Conditions)
ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์สภาพห้องเรียนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
(Analyzing Existing Classroom Conditions)
ขั้นตอนที่ 3 การเลือกและใช้ยุทธวิธีการจัดการในชั้นเรียน
( Selecting and Utilizing Managerial Strategies)
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินประสิทธิภาพการจัดการในชั้นเรียน
( Assessing Managerial Effectiveness)
วิธีการจัดการในห้องเรียน :<3:
การจัดการในชั้นเรียนในปัจจุบัน ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะการควบคุมความประพฤติของเด็ก แต่หันมาให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์กิจกรรม การจัดเตรียมสื่อที่เหมาะสม
วิธีการจัดการในชั้นเรียนตามแนวคิดของเวบเบอร์ (Weber)
การใช้อำนาจ (The Authoritarian Classroom Management Approach)
2.การข่มขู่ (The Intimidation Classroom Management Approach )
การให้อิสระ (The Permissive Classroom Management Approach)
4.การทำตาม “ตำราอาหาร” (The Cookbook Classroom Management Approach)
การจัดการเรียนการสอน (The Instructional Classroom Management Approach
การปรับพฤติกรรม (The Behavior Modification Classroom Management Approach)
การสร้างบรรยากาศทางอารมณ์และสังคม (The Socio-Emotional Climate Classroom Management Approach)
กระบวนการกลุ่ม (The Group Process Classroom Management Approach)
วิธีการจัดการในชั้นเรียนตามแนวคิดของชิคเคดแดนส์ (Schickedanz)
1.วิธีการจัดการตามมุมมองด้านพฤติกรรมศาสตร์ (Behaviorist Perspective) มีพื้นฐานมาจากความเชื่อที่ว่า ครูสามารถควบคุมทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนด้วยวิธีการเสริมแรง (reinforcement)
วิธีการจัดการตามมุมมองด้านจิตวิทยา (Psychological Perspective) มีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่ว่า การเปลี่ยนพฤติกรรมจะเกิดขึ้นได้ เมื่อครูเข้าใจสาเหตุที่เด็กประพฤติผิด ครูจะต้องให้ความรัก และรับรู้ความต้องการของเด็ก หมั่นสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน เข้าใจกัน
วิธีการจัดการตามมุมมองด้านการจัดการกับกลุ่ม (Group Management Perspective) ในมุมมองนี้ ตัวห้องเรียนเองเปรียบเสมือนกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่เด็กๆ เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งถูกปรับแต่งด้วยสภาพความเป็นไปของกลุ่มในห้องเรียนนั้นๆ
มิติทั้ง 4 ด้านพฤติกรรมคู่ที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับประสิทธิภาพในการจัดการชั้นเรียนตามแนวคิดของคุนนิน (Kounin)
1.ความรู้เห็นรอบตัว (Withitness) โดยทราบความเคลื่อนไหวของชั้นเรียนตลอดเวลา
2.ทำหลายอย่างพร้อมกันได้ (Overlappingness) โดยสามารถดูแลชั้นเรียนได้ทั่วถึง
ดำเนินกิจกรรมได้อย่างราบรื่น ( Smoothness) ทำให้สามารถรักษาระดับความสนใจของเด็กได้โดยตลอด
มีความหลากหลายในกิจกรรมการสอน (Variety) ครูสามารถเปลี่ยนแปลงเทคนิคการสอนให้เหมาะสมกับความสนใจและความต้องการของเด็ก