Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดการชั้นเรียนปฐมวัย (Early Childhood Classroom Management)…
การจัดการชั้นเรียนปฐมวัย
(Early Childhood Classroom Management)
ความหมายของการจัดการในชั้นเรียน
กระบวนการต่าง ๆ ที่ครูวางแผนและเตรียมการล่วงหน้า แล้วนำมาปฏิบัติใช้ตามความจำเป็น ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับสภาพห้องเรียน พฤติกรรมนักเรียน หรือการสอนของครู โดยคำนึงถึงความเหมาะสมที่สอดคล้องกับพัฒนาการรอบด้านของเด็กเล็ก
ความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน
พฤติกรรมทางสังคมของการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน เช่น การให้ความร่วมมือ การเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม การรับผิดชอบ การรอคอย การทำงานโดยไม่รบกวนผู้อื่น การรู้จักเก็บของเล่นของใช้เข้าที่ ทั้งหมดนี้มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของโรงเรียน ครูต้องรู้วิธีจัดการในชั้นเรียนเพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้
ทุกห้องเรียนมีต้องมีระบบการจัดการ สิ่งนี้ตั้งอยู่บนค่านิยมที่ครูและเด็กต่างยอมรับร่วมกัน ตัวอย่างเช่น
กฏที่สะท้อนให้เห็นสิ่งที่ครูพอใจทำ (เปิดปิดไฟเพื่อดึงความสนใจของเด็ก)
กฏที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเฉพาะ (กดชักโครกโถส้วมเพียงครั้งเดียว)
กฏของห้องเรียนซึ่งมีทั้งกฏข้อบังคับในเข้าเรียน (มาเข้าเรียนให้ทันเวลา)
ครูอนุบาลต้องสวมบทบาทความเป็นผู้นำที่มีคุณภาพ ต้องมีระเบียบวินัย และต้องมีความสามารถในการรักษาสภาวะที่ทำให้มีการเรียนรู้เกิดขึ้น ซึ่งหัวใจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จก็คือ วิธีการจัดการในชั้นเรียนที่เหมาะสม
องค์ประกอบของการจัดการในชั้นเรียน
วิธีสอนของครูที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการตอบสนองเด็กเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
การใช้ระบบและวิธีการจัดการของกลุ่มที่ช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมการทำงานที่เกิดประโยชน์สูงสุด
ความสามารถในการแนะแนวและการปรับพฤติกรรมอย่างเหมาะสม
2.ความสัมพันธ์ทางบวกระหว่าง ครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ซึ่งจะช่วยให้ครูเข้าใจความต้องการของเด็กและสามารถตอบสนองได้อย่างถูกต้อง
1.ความเข้าใจงานวิจัยในปัจจุบัน ทฤษฎีการจัดการในชั้นเรียน จิตวิทยาพัฒนาการเด็ก และจิตวิทยาการศึกษา
กระบวนการของการจัดการในชั้นเรียน
ขั้นตอนที่ 3 การเลือกและใช้ยุทธวิธีการจัดการในชั้นเรียน ( Selecting and Utilizing Managerial Strategies)
ครูจะต้องเลือกวิธีการอย่างระมัดระวัง และให้เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจเป็นการแก้ปัญหา หรือการดำรงสภาพที่พึงปรารถนาให้คงอยู่ได้
ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์สภาพห้องเรียนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (Analyzing Existing Classroom Conditions)
เป็นการเปรียบเทียบและจำแนกระหว่าง
“ ห้องเรียนในอุดมคติ” และ “ห้องเรียนในความเป็นจริง”
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินประสิทธิภาพการจัดการในชั้นเรียน ( Assessing Managerial Effectiveness)
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดสภาพที่พึงปรารถนา
(Specifying Desirable Conditions)
การจัดการในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ คือ การทำให้ชั้นเรียนอยู่ในสภาพที่เกิดการเรียนรู้เต็มศักยภาพ โดยเริ่มต้นจากความรู้สึกนึกคิดของครูถึงสภาพบรรยากาศที่ครูปรารถนาต้องการ สภาพที่ครูปรารถนาต้องการนั้น จะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นปรัชญาของตัวครูเอง
วิธีการจัดการชั้นเรียน
วิธีการจัดการในชั้นเรียนตามแนวคิดของเวบเบอร์ (Weber)
การปรับพฤติกรรม (The Behavior Modification Classroom Management Approach)
การสร้างบรรยากาศทางอารมณ์และสังคม (The Socio-Emotional Climate Classroom Management Approach)
การจัดการเรียนการสอน(The Instructional Classroom Management Approach)
กระบวนการกลุ่ม (The Group Process Classroom Management Approach)
4.การทำตาม “ตำราอาหาร” (The Cookbook Classroom Management Approach)
3.การให้อิสระ (The Permissive Classroom Management Approach)
1.การใช้อำนาจ (The Authoritarian Classroom Management Approach)
2.การข่มขู่ (The Intimidation Classroom Management Approach )
วิธีการจัดการในชั้นเรียนตามแนวคิดของชิคเคดแดนส์ (Schickedanz)
วิธีการจัดการตามมุมมองด้านจิตวิทยา
วิธีการจัดการตามมุมมองด้านการจัดการกับกลุ่ม
1.วิธีการจัดการตามมุมมองด้านพฤติกรรมศาสตร์
มิติทั้ง 4 ด้านพฤติกรรมคู่ที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับประสิทธิภาพในการจัดการชั้นเรียนตามแนวคิดของคุนนิน
ทำหลายอย่างพร้อมกันได้ (Overlappingness) โดยสามารถดูแลชั้นเรียนได้ทั่วถึง
ดำเนินกิจกรรมได้อย่างราบรื่น ( Smoothness) ทำให้สามารถรักษาระดับความสนใจของเด็กได้โดยตลอด
ความรู้เห็นรอบตัว (Withitness) โดยทราบความเคลื่อนไหวของชั้นเรียนตลอดเวลา
มีความหลากหลายในกิจกรรมการสอน (Variety) ครูสามารถเปลี่ยนแปลงเทคนิคการสอนให้เหมาะสมกับความสนใจและความต้องการของเด็ก