Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
(ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ภาค7 อภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา…
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ภาค4 อุทธรณ์และฎีกา
ลักษณะ1 อุทธรณ์
หมวด1 หลักทั่วไป
หมวด2 การพิจารณา คำพิพากษา และคำสั่งชั้นศาลอุทธรณ์
ลักษณะ2 ฎีกา
หมวด1 หลักทั่วไป
หมวด2 การพิจารณา คำพิพากษา และคำสั่งชั้นฎีกา
ภาค5 พยานหลักฐาน
หมวด1 หลักทั่วไป
หมวด2 พยานบุคคล
หมวด3 พยานเอกสาร
หมวด4 พยานวัตถุ
หมวด5 ผู้เชี่ยวชาญ
ภาค3 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น
ลักษณะ1 ฟ้องคดีอาญา และไต่สวนมูลฟ้อง
ลักษณะ2 การพิจารณา
ลักษณะ3 คำพิพากษาและคำสั่ง
ภาค6 การบังคับตามคำพิพากษา และค่าธรรมเนียม
หมวด1 การบังคับตามคำพิพากษา
หมวด2 ค่าธรรมเนียม
ภาค2 สอบสวน
ลักษณะ1 หลักทั่วไป
ลักษณะ2 การสอบสวน
หมวด1 การสอบสวนสามัญ
หมวด2 การชันสูตรพลิกศพ
ภาค7 อภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษ
ภาค1 ข้อความเบื้องต้น
ลักษณะ3 การฟ้องคดีอาญาและแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
หมวด1 การฟ้องคดีอาญา
มาตรา 33 คดีอาญาเรื่องเดียวกันซึ่งทั้งพนักงานอัยการและ ผู้เสียหายต่างได้ยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นศาลเดียวกันหรือต่างศาลกัน ศาลนั้น ๆ มีอำนาจสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน เมื่อศาล เห็นชอบโดยพลการหรือโดยโจทก์ยื่นคำร้องในระยะใดก่อนมี คำพิพากษา
แต่ทว่าจะมีคำสั่งเช่นนั้นไม่ได้ นอกจากจะได้รับความยินยอม ของศาลอื่นนั้นก่อน
มาตรา 34 คำสั่งไม่ฟ้องคดี หาตัดสิทธิผู้เสียหายฟ้องคดีโดยตนเองไม่
มาตรา 32 เมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าผู้เสียหายจะกระทำให้คดีของอัยการเสียหาย โดยกระทำหรือละเว้นกระทำการใด ๆ ในกระบวนพิจารณา พนักงาน อัยการมีอำนาจร้องต่อศาลให้สั่งผู้เสียหายกระทำหรือละเว้นกระทำ การนั้น ๆ ได้
มาตรา 35 คำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญาจะยื่นเวลาใดก่อนมี คำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ได้ ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตหรือมิอนุญาต ให้ถอนก็ได้ แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรประการใด ถ้าคำร้องนั้นได้ยื่น ในภายหลังเมื่อจำเลยให้การแก้คดีแล้ว ให้ถามจำเลยว่าจะคัดค้าน หรือไม่ แล้วให้ศาลจดคำแถลงของจำเลยไว้ ในกรณีที่จำเลยคัดค้าน การถอนฟ้อง ให้ศาลยกคำร้องขอถอนฟ้องนั้นเสีย
คดีความผิดต่อส่วนตัวนั้น จะถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใด ก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ แต่ถ้าจำเลยคัดค้าน ให้ศาลยกคำร้องขอถอน ฟ้องนั้นเสีย
มาตรา 31 คดีอาญาที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหาย ยื่นฟ้องแล้ว พนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ใน ระยะใดก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดก็ได้
มาตรา 36 คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้ว จะนำมาฟ้อง อีกหาได้ไม่ เว้นแต่จะเข้าอยู่ในข้อยกเว้นต่อไปนี้
(1) ถ้าพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีอาญาซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อ ส่วนตัวไว้แล้วได้ถอนฟ้องคดีนั้นไป การถอนนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหาย ที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่
(2) ถ้าพนักงานอัยการถอนคดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวไปโดย มิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย การถอนนั้นไม่ตัด สิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่
(3) ถ้าผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีอาญาไว้แล้ว ได้ถอนฟ้องคดีนั้นเสีย การถอนนี้ไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่ เว้นแต่ คดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว
มาตรา 30 คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่าง พิจารณาก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้
มาตรา 37 คดีอาญาเลิกกันได้ ดังต่อไปนี้
(1) ในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อผู้กระทำผิด ยินยอมเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนศาลพิจารณา
(2) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มี อัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดี อื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรซึ่ง มีโทษปรับอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบ เทียบแล้ว
(3) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มี อัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือ คดีที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งเกิดในกรุงเทพมหานคร เมื่อผู้ต้องหา ชำระค่าปรับตามที่นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ผู้ทำการในตำแหน่งนั้น ๆ ได้เปรียบเทียบแล้ว
(4) ในคดีซึ่งเปรียบเทียบได้ตามกฎหมายอื่น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบ เทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว"
มาตรา 29 เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบ สันดานสามีหรือภริยาจะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้
ถ้าผู้เสียหายที่ตายนั้นเป็นผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต หรือผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้แทนเฉพาะคดีได้ยื่นฟ้อง แทนไว้แล้ว ผู้ฟ้องแทนนั้นจะว่าคดีต่อไปก็ได้
มาตรา 38 ความผิดตามอนุ มาตรา (2) ,(3) และ (4) แห่งก่อน ถ้าเจ้าพนักงานดั่งกล่าวใน นั้นเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับ โทษถึงจำคุก ให้มีอำนาจเปรียบเทียบดั่งนี้
(1) ให้กำหนดค่าปรับซึ่งผู้ต้องหาจะพึงชำระ ถ้าผู้ต้องหาและ ผู้เสียหายยินยอมตามนั้น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวน ที่เจ้าหน้าที่กำหนดให้ภายในเวลาอันสมควร แต่ไม่เกินสิบห้าวันแล้ว คดีนั้นเป็นอันเสร็จเด็ดขาด
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบหรือเมื่อยินยอมแล้ว ไม่ชำระเงินค่าปรับภายในเวลากำหนดในวรรคก่อน ให้ดำเนินคดีต่อไป
(2) ในคดีมีค่าทดแทน ถ้าผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอมให้ เปรียบเทียบให้เจ้าหน้าที่กะจำนวนตามที่เห็นควรหรือตามที่คู่ความตกลงกัน
มาตรา 39 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้
(1) โดยความตายของผู้กระทำผิด
(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
(3) เมื่อคดีเลิกกันตาม มาตรา 37
(4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
(5) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิด เช่นนั้น
(6) เมื่อคดีขาดอายุความ
(7) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ
มาตรา 28 บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล
(1) พนักงานอัยการ
(2) ผู้เสียหาย
หมวด2 การฟ้องคดีแพ่ง ที่เกี่ยวเนื่องกับอาญา
มาตรา 44 การเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนตาม มาตรา ก่อนพนักงาน อัยการจะขอรวมไปกับคดี อาญาหรือจะยื่นคำร้องในระยะใดระหว่าง ที่คดีอาญากำลังพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นก็ได้
คำพิพากษาในส่วนเรียกทรัพย์สินหรือราคา ให้รวมเป็นส่วนหนึ่ง แห่งคำพิพากษาในคดีอาญา
มาตรา 44/1 ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทด แทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายชื่อเสียง หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยให้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้
การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้ยื่น คำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้อง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งและผู้เสียหานอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้น ทั้งนี้ คำร้องดังกล่าวต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับความเสียหาย และจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง หากศาลเห็นว่าคำร้องนั้นยังขาด สาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ร้อง แก้ไขคำร้องให้ชัดเจนก็ได้
คำร้องตามวรรคหนึ่ง จะมีคำขอประการอื่นที่มิใช่คำขอบังตับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอัน เนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญามิได้ และต้องไม่ขัดขืนหรือแย้ง กับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงงานอัยการเป็นโจทก์ และในกรณีที่พนักงงานอัยการได้ดำเนินการตามความใน มาตรา 43 แล้ว ผู้เสียหายจำยื่นคำรืองตามวรรคหนึ่งเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์อีกไม่ได้
มาตรา 43 คดีลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอกหรือรับของโจร ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะ เรียกร้องทรัพย์สิน หรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคา แทนผู้เสียหายด้วย
มาตรา 44/2 เมื่อได้รับคำร้องตาม มาตรา 44/1 ให้ศาลแจ้งให้จำเลยทราบหากจำเลยให้การ ประการใดหรือไม่ประสงค์จะให้การให้ศาลบันทึกไว้ ถ้าหากจำเลยประสงค์จะทำคำให้การเป็นหนังสือให้ศาลกำหนดระยะเวลายื่น คำให้การตามที่เห็นสมควร และเมื่อพนักงงานอัยการสืบพยานเสร็จศาลจะ อนุญาตให้ผู้เสียหายนำพยาน เข้าสืบถึงค่าสินไหมทดแทนได้เท่าที่จำเป็น หรือศาลจะพิจารณาพิพากษาคดีอาญาไป ก่อนแล้วพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งในภายหลัง
ถ้าความปรากฎต่อ ศาลว่าผู้ยื่นคำร้องตาม มาตรา 44/1 เป็นคนยากจนไม่สามารถจัดหาทนายความได้เอง ให้ศาลมีอำนาจ ตั้งทนายความให้แก่ผู้นั้น โดยทนายความที่ได้รับแต่งตั้งมีสิทธิได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายตามระเบียบ ที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนด
มาตรา 42 ในการพิจารณาคดีแพ่ง ถ้าพยานหลักฐานที่นำสืบแล้ว ในคดีอาญายังไม่เพียงพอ ศาลจะเรียกพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติม อีกก็ได้
ในกรณีเช่นนั้น ศาลจะพิพากษาคดีอาญาไปทีเดียว ส่วนคดีแพ่ง จะพิพากษาในภายหลังก็ได้
มาตรา 45 คดีเรื่องใดถึงแม้ว่าได้ฟ้องในทางอาญาแล้วก็ไม่ตัดสิทธิ ผู้เสียหายที่จะฟ้องในทางแพ่งอีก
มาตรา 41 ถ้าการพิจารณาคดีแพ่งจักทำให้การพิจารณาคดีอาญา เนิ่นช้าหรือติดขัด ศาลมีอำนาจสั่งให้แยกคดีแพ่งออกจากคดีอาญา และพิจารณาต่างหากโดยศาลที่มีอำนาจชำระ
มาตรา 46 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริง ตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
มาตรา 40 การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะฟ้องต่อ ศาลซึ่งพิจารณาคดี อาญาหรือต่อศาลที่มีอำนาจชำระคดีแพ่งก็ได้ การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 47 คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความ รับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้อง คำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่
ราคาทรัพย์สินที่สั่งให้จำเลย ใช้แก่ผู้เสียหาย ให้ศาลกำหนดตามราคาอันแท้จริง ส่วนจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เสียหายจะได้รับนั้น ให้ศาลกำหนดให้ตามความเสียหายแต่ต้องไม่เกินคำขอ
มาตรา 48 เมื่อศาลพิพากษาให้คืนทรัพย์สิน แต่ยังไม่ปรากฏตัว เจ้าของเมื่อใดปรากฏตัวเจ้าของแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งรักษาของคืน ของนั้นให้แก่เจ้าของไป
ในกรณีที่ปรากฏตัวเจ้าของ ให้ศาลพิพากษาสั่งให้เจ้าหน้าที่ซึ่ง รักษาของคืนของนั้นให้แก่เจ้าของไป
เมื่อมีการโต้แย้งกัน ให้บุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าของอันแท้จริงใน ทรัพย์สินนั้นฟ้องเรียกร้องยังศาลที่มีอำนาจชำระ
มาตรา 49 แม้จะไม่มีฟ้องคดีส่วนแพ่งก็ตาม เมื่อพิพากษาคดี ส่วนอาญาศาลจะสั่งให้คืน ทรัพย์สินของกลางแก่เจ้าของก็ได้
มาตรา 50 ในกรณีที่ศาลสั่งให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สิน หรือค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายตามมาตรา มาตรา 43 และ มาตรา 44 หรือ มาตรา 44/1 ให้ถือว่าผู้เสียหายนั้นเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
มาตรา 51 ถ้าไม่มีผู้ใดฟ้องทางอาญา สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้อง ทางแพ่งเนื่องจาก ความผิดนั้นย่อมระงับ ไปตามกำหนดเวลาดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญาเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญา แม้ถึงว่าผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตใน มาตรา 193/20 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะเป็นผู้ฟ้องหรือได้ฟ้องต่างหากจากคดีอาญาก็ตาม
ถ้าคดีอาญาใดได้ฟ้อง ต่อศาลและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลด้วยแล้ว แต่คดียังไม่เด็ดขาด อายุความซึ่งผู้เสีย หายมีสิทธิจะฟ้องคดีแพ่งย่อมสะดุดหยุดลงตาม มาตรา 95 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ถ้าโจทก์ได้ฟ้องคดีอาญา และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้วก่อนที่ได้ฟ้องคดีแพ่งสิทธิของผู้เสีย หายที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมี ตามกำหนดอายุความใน มาตรา 193/32 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ถ้าโจทก์ฟ้องคดีอาญาและศาล พิพากษายกฟ้องปล่อยจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้วก่อนที่ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของผู้เสียหายจะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ลักษณะ4 หมายเรียกและหมายอาญา
หมวด1 หมายเรียก
หมวด2 หมายอาญา
ส่วนที่2 หมายจับ
ส่วนที่3 หมายค้น
ส่วนที่1 หลักทั่วไป
ส่วนที่4 หมายขัง หมายจำคุก หมายปล่อย
ลักษณะ2 อำนาจพนักงานสอบสวนและศาล
หมวด2 อำนาจสืบสวน และสอบสวน
มาตรา 19 ในกรณีดั่งต่อไปนี้
(1) เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดใน ระหว่างหลายท้องที่
(2) เมื่อความผิดส่วนหนึ่งกระทำในท้องที่หนึ่ง แต่มีอีกส่วนหนึ่ง ในอีกท้องที่หนึ่ง
(3) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกัน ในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป
(4) เมื่อเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน
(5) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้ต้องหากำลังเดินทาง
(6) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง
พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจ สอบสวนได้
ในกรณีข้างต้นพนักงานสอบสวนต่อไปนี้ เป็นผู้รับผิดชอบในการ สอบสวน
(ก) ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้ว คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับ ได้อยู่ในเขตอำนาจ
(ข) ถ้าจับผู้ต้องหายังไม่ได้ คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการ กระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจ
มาตรา 20 ถ้าความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย ให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ หรือจะมอบหมายหน้าที่นั้น ให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคนใด เป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนแทนก็ได้
ในกรณีที่อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนมอบหมายให้พนักงานสอบสวนคนใด เป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวน อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนจะมอบหมายให้พนักงานอัยการคนใด ทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนก็ได้
ให้พนักงานอัยการที่ได้รับมอบหมายให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ หรือให้ทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนมีอำนาจ และหน้าที่ในการสอบสวนเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนบรรดาอำนาจและหน้าที่ประการอื่น ที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
ในกรณีที่พนักงานอัยการทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวน ให้พนักงานสอบสวน ปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของพนักงานอัยการในเรื่องที่เกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐาน
ในกรณีจำเป็น พนักงานสอบสวนต่อไปนี้มีอำนาจสอบสวนในระหว่างรอคำสั่ง จากอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทน
(1) พนักงานสอบสวนซึ่งผู้ต้องหาถูกจับในเขตอำนาจ
(2) พนักงานสอบสวนซึ่งรัฐบาลประเทศอื่นหรือบุคคลที่ได้รับความเสียหาย ได้ร้องฟ้องให้ทำโทษผู้ต้องหา
เมื่อพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนแล้วแต่กรณี เห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้ทำความเห็นตาม มาตรา 140 มาตรา 141 หรือ มาตรา 142 ส่งพร้อมสำนวนไปยังอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทน
มาตรา 18 ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัด ธนบุรี พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และ ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่า นายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้
สำหรับในจังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี ให้ข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหา มีที่อยู่ หรือถูกจับ ภายในเขตอำนาจ ของตนได้
ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติใน มาตรา 19 มาตรา 20 และ มาตรา 21 ความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดย ปกติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้น เป็นผู้รับผิดชอบในการ สอบสวนความผิดนั้น ๆ เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือ เพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่ อยู่หรือถูกจับ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน
ในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคน การดำเนินการ สอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้า ในท้องที่นั้นหรือผู้รักษาการแทน
มาตรา 17 พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจทำการ สืบสวนคดีอาญาได้
มาตรา 21 ในกรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในจังหวัด เดียวกันควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ให้ข้าหลวงประจำ จังหวัดนั้นมีอำนาจชี้ขาด แต่ในจังหวัดพระนครและธนบุรี ให้ผู้บังคับ บัญชาของพนักงานสอบสวนซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่รองอธิบดีกรมตำรวจ ขึ้นไปเป็นผู้ชี้ขาด
ในกรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในระหว่างหลายจังหวัด ควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ให้อธิบดีกรมอัยการหรือ ผู้ทำการแทนเป็นผู้ชี้ขาด
การรอคำชี้ขาด ไม่เป็นเหตุให้งดการสอบสวน
หมวด3 อำนาจศาล
มาตรา 24 เมื่อความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกันโดยเหตุหนึ่งเหตุใด เป็นต้น
(1) ปรากฏว่าความผิดหลายฐาน ได้กระทำลงโดยผู้กระทำผิด คนเดียวกัน หรือผู้กระทำผิดหลายคนเกี่ยวพันกันในการกระทำความ ผิดฐานหนึ่งหรือหลายฐาน จะเป็นตัวการ ผู้สมรู้หรือรับของโจรก็ตาม
(2) ปรากฏว่าความผิดหลายฐานได้กระทำลงโดยมีเจตนาอย่างเดียว กัน หรือโดยผู้กระทำผิดทั้งหลายได้คบคิดกันมาแต่ก่อนแล้ว
(3) ปรากฏว่าความผิดฐานหนึ่งเกิดขึ้น โดยมีเจตนาช่วยผู้ กระทำผิดอื่นให้พ้นจากรับโทษในความผิดอย่างอื่นซึ่งเขาได้กระทำไว้
ดั่งนี้จะฟ้องคดีทุกเรื่อง หรือฟ้องผู้กระทำความผิดทั้งหมดต่อศาล ซึ่งมีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าไว้ก็ได้
ถ้าความผิดอันเกี่ยวพันกันมีอัตราโทษอย่างสูงเสมอกัน ศาลซึ่ง มีอำนาจชำระ ก็คือศาลซึ่งรับฟ้องเรื่องหนึ่งเรื่องใดในความผิด เกี่ยวพันกันนั้นไว้ก่อน
มาตรา 25 ศาลซึ่งรับฟ้องคดีเกี่ยวพันกันไว้จะพิจารณาพิพากษา รวมกันไปก็ได้
ถ้าศาลซึ่งรับฟ้องคดีเกี่ยวพันกันไว้ เห็นว่าเป็นการสมควรที่ความ ผิดฐานหนึ่ง ควรได้ชำระในศาลซึ่งตามปกติมีอำนาจจะชำระ ถ้า หากว่าคดีนั้นไม่เกี่ยวกับคดีเกี่ยวพันกัน เมื่อศาลเดิมได้ตกลงกับอีก ศาลหนึ่งแล้ว จะสั่งให้ไปฟ้องยังศาลอื่นนั้นก็ได้
มาตรา 23 เมื่อศาลแต่สองศาลขึ้นไปต่างมีอำนาจชำระคดี ถ้าได้ ยื่นฟ้องคดีนั้นต่อศาลหนึ่งซึ่งตามฟ้องความผิดมิได้เกิดในเขต โจทก์ หรือจำเลยจะร้องขอให้โอนคดีไปชำระที่ศาลอื่นซึ่งความผิดได้เกิด ในเขตก็ได้
ถ้าโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลซึ่งความผิดเกิดในเขต แต่ต่อมาความ ปรากฏแก่โจทก์ว่าการพิจารณาคดีจะสะดวกยิ่งขึ้นถ้าให้อีกศาลหนึ่ง ซึ่งมีอำนาจชำระคดีได้พิจารณาคดีนั้น โจทก์จะยื่นคำร้องต่อศาลซึ่ง คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาขอโอนคดีไปยังอีกศาลหนึ่งก็ได้ แม้ว่าจำเลยจะคัดค้านก็ตามเมื่อศาลเห็นสมควรจะโอนคดีหรือ ยกคำร้องเสียก็ได้
มาตรา 26 หากว่าตามลักษณะของความผิด ฐานะของจำเลย จำนวนจำเลย ความรู้สึกของประชาชนส่วนมากแห่งท้องถิ่นนั้น หรือ เหตุผลอย่างอื่น อาจมีการขัดขวางต่อการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา หรือน่ากลัวว่าจะเกิดความไม่สงบหรือเหตุร้ายอย่างอื่นขึ้น เมื่อ โจทก์หรือจำเลยยื่นเรื่องราวต่ออธิบดีศาลฎีกา ขอให้โอนคดีไปศาลอื่น ถ้าอธิบดีศาลฎีกาอนุญาตตามคำขอนั้นก็ให้สั่งโอนคดีไปยังศาลดั่งที่ อธิบดีศาลฎีการะบุไว้
คำสั่งของอธิบดีศาลฎีกาอย่างใด ย่อมเด็ดขาดเพียงนั้น
มาตรา 22 เมื่อความผิดเกิดขึ้น อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลใด ให้ชำระที่ศาลนั้น แต่ถ้า
(1) เมื่อจำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับในท้องที่หนึ่งหรือเมื่อเจ้าพนักงาน ทำการสอบสวนในท้องที่หนึ่งนอกเขตของศาลดั่งกล่าวแล้ว จะชำระ ที่ศาลซึ่งท้องที่นั้น ๆ อยู่ในเขตอำนาจก็ได้
(2) เมื่อความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรไทย ให้ชำระคดีนั้น ที่ศาลอาญา ถ้าการสอบสวนได้กระทำลงในท้องที่หนึ่งซึ่งอยู่ในเขต ของศาลใด ให้ชำระที่ศาลนั้นได้ด้วย
มาตรา 27 ผู้พิพากษาในศาลใดซึ่งชำระคดีอาญา จะถูกตั้งรังเกียจ ตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งบัญญัติ ไว้ในเรื่องนั้นก็ได้
หมวด1 ลักษณะทั่วไป
มาตรา 16 อำนาจศาล อำนาจผู้พิพากษา อำนาจพนักงานอัยการ และอำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ในการที่จะปฏิบัติ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ต้องเป็นไปตามกฎหมาย และข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยการจัดตั้งศาลยุติธรรม และระบุ อำนาจและหน้าที่ของผู้พิพากษา หรือซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ ของพนักงานอัยการหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจนั้น ๆ
ลักษณะ5 จับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อยชั่วคราว
หมวด1 จับ ขัง จำคุก
หมวด2 ค้น
หมวด3 ปล่อยชั่วคราว
ลักษณะ1 หลักทั่วไป
มาตรา 13ทวิ (ยกเลิก)
มาตรา 13 การสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา ให้ใช้ภาษาไทย แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องแปลภาษาไทยท้องถิ่นหรือภาษาถิ่นหรือภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย หรือต้องแปลภาษาไทยเป็นภาษาไทยท้องถิ่น หรือภาษาถิ่นหรือภาษาต่างประเทศให้ใช้ล่ามแปล
ในกรณีที่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือพยานไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทย หรือสามารถพูดหรือเข้าใจเฉพาะภาษาไทยท้องถิ่นหรือภาษาถิ่น และไม่มีล่าม ให้พนักงานสอบสวนพนักงานอัยการหรือศาลจัดหาล่ามให้โดยมิชักช้า
ในกรณีที่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือพยานไม่สามารถพูดหรือได้ยิน หรือสื่อความหมายได้ และไม่มีล่ามภาษามือ ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล จัดหาล่ามภาษามือให้หรือจัดให้ถาม ตอบ หรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่นที่เห็นสมควร
เมื่อมีล่ามแปลคำให้การ คำพยานหรืออื่น ๆ ล่ามต้องแปลให้ถูกต้อง ล่ามต้องสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะทำหน้าที่โดยสุจริตใจ จะไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปล
ให้ล่ามลงลายมือชื่อในคำแปลนั้น
ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลสั่งจ่ายค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักแก่ล่ามที่จัดหาให้ตามมาตรานี้ ตามระเบียบที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทยกระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด หรือสำนักงานศาลยุติธรรม แล้วแต่กรณี กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
มาตรา 12ทวิ ในการร้องทุกข์ การสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง และการพิจารณาถ้าบทบัญญัติใดกำหนดให้มีนักจิตวิทยาหรือ นักสังคมสงเคราะห์เข้าร่วมด้วยแล้ว นักจิตวิทยาหรือนักสังคม สงเคราะห์ดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งได้รับค่า ตอบแทนตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนดโดยได้รับความ เห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
มาตรา 12 เอกสารซึ่งศาลหรือเจ้าพนักงานเป็นผู้ทำ คำร้องทุกข์ คำกล่าวโทษ คำให้การจำเลยหรือคำร้องซึ่งยื่นต่อเจ้าพนักงานหรือ ศาลจักต้องเขียนด้วยน้ำหมึกหรือพิมพ์ดีดหรือพิมพ์ ถ้ามีผิดที่ใดห้าม มิให้ลบออก ให้เพียงแต่ขีดฆ่าคำผิดนั้นแล้วเขียนใหม่ ผู้พิพากษา เจ้าพนักงานหรือบุคคลผู้แก้ไขเช่นนั้นต้องลงนามย่อรับรองไว้ที่ข้าง กระดาษ
ถ้อยคำตกเติมในเอกสารดั่งบรรยายใน มาตรานี้ ต้องลงนามย่อ ของผู้พิพากษา เจ้าพนักงานหรือบุคคลผู้ซึ่งตกเติมนั้นกำกับไว้
มาตรา 11 บันทึกหรือถ้อยคำสำนวนนั้น ให้เจ้าพนักงานหรือศาล อ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟัง ถ้ามีข้อความแก้ไข ทักท้วง หรือเพิ่มเติม ให้ แก้ให้ถูกต้องหรือมิฉะนั้นก็ให้บันทึกไว้ และให้ผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อ รับรองว่าถูกต้องแล้ว
ถ้าบุคคลที่ต้องลงลายมือชื่อในบันทึกหรือถ้อยคำสำนวนไม่สามารถ หรือไม่ยอมลง ให้บันทึกหรือรายงานเหตุนั้นไว้
มาตรา 10 ถ้อยคำสำนวนต้องระบุชื่อศาล สถานที่ และวันเดือนปี ที่จด ถ้าศาลจดถ้อยคำสำนวนตามคำสั่งหรือประเด็นของศาลอื่น ให้กล่าวเช่นนั้นและแสดงด้วยว่าได้ทำไปอย่างใด
ผู้พิพากษาที่จดถ้อยคำสำนวน ต้องลงลายมือชื่อของตนในถ้อย คำสำนวนนั้น
มาตรา 9 บันทึกต้องระบุสถานที่ วันเดือนปีที่ทำ นาม และตำแหน่ง ของเจ้าพนักงานผู้ทำ
เมื่อเจ้าพนักงานทำบันทึกโดยรับคำสั่งจากศาลหรือโดยคำสั่งหรือ คำขอของเจ้าพนักงานอื่น ให้เจ้าพนักงานนั้นกล่าวไว้ด้วยว่าได้รับ คำสั่งหรือคำขอเช่นนั้น และแสดงด้วยว่าได้ทำไปอย่างใด
ห้ามเจ้าพนักงานผู้ทำบันทึกลงลายมือชื่อของตนในบันทึกนั้น
มาตรา 8 นับแต่เวลาที่ยื่นฟ้องแล้ว จำเลยมีสิทธิดังต่อไปนี้
(1) ได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม
(2) แต่งทนายความแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาในศาลชั้นต้นตลอดจนชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
(3) ปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
(4) ตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐาน และคัดสำเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้นๆ
(5) ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาของศาล และคัดสำเนาหรือขอรับสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมนั้น
(6) ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน
ถ้าจำเลยมีทนายความ ทนายความนั้นย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับจำเลยดังกล่าวมาแล้วด้วย
เมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ให้ผู้เสียหายมีสิทธิตามวรรคหนึ่ง (6) เช่นเดียวกับจำเลยด้วย
มาตรา 7/1 ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขังมีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก และให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย
(1) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
(2) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน
(3) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร
(4) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหานั้นทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิตามวรรคหนึ่ง
มาตรา 7 ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่ นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือ ผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี
ถ้าผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จะออกหมายจับผู้นั้นมาก็ได้ แต่ห้ามมิให้ใช้บทบัญญัติว่าด้วยปล่อย ชั่วคราว ขังหรือจำคุกแก่ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคล ในคดีที่ นิติบุคคลนั้นเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย
มาตรา 6 ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดย ชอบธรรมหรือเป็นผู้วิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถ ไม่มีผู้อนุบาล หรือซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลไม่สามารถจะทำการตาม หน้าที่โดยเหตุหนึ่งเหตุใด รวมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถนั้น ๆ ญาติของผู้นั้นหรือผู้มีประโยชน์ เกี่ยวข้องอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งเขาเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้
เมื่อได้ไต่สวนแล้วให้ศาลตั้งผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ซึ่งยินยอมตาม ที่เห็นสมควรเป็นผู้แทนเฉพาะคดี เมื่อไม่มีบุคคลใดเป็นผู้แทนให้ ศาลตั้งพนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้แทน
ห้ามมิให้เรียกค่าธรรมเนียมในเรื่องขอตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดี
มาตรา 5 บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้
(1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่ง ได้กระทำต่อผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล
(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิด อาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะ จัดการเองได้
(3) ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิด ซึ่งกระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น
มาตรา 4 ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นหญิงมีสามี หญิงนั้นมีสิทธิ ฟ้องคดีได้เอง โดยมิต้องได้รับอนุญาตของสามีก่อน
ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 5 (2) สามีมีสิทธิฟ้องคดีอาญาแทน ภริยาได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยา
มาตรา 3 บุคคลดั่งระบุไว้ใน มาตรา 4 มาตรา 5 และ มาตรา 6 มีอำนาจจัดการต่อ ไปนี้แทนผู้เสียหายตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน มาตรา นั้น ๆ
(1) ร้องทุกข์
(2) เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้ารวมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
(3) เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
(4) ถอนฟ้องคดีอาญาหรือคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
(5) ยอมความในคดีความผิดส่วนตัว
มาตรา 2 ในประมวลกฎหมายนี้
(1) "ศาล" หมายความถึงศาลยุติธรรมหรือผู้พิพากษาซึ่งมีอำนาจ ทำการอันเกี่ยวกับคดีอาญา
(2) "ผู้ต้องหา" หมายความถึงบุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล
(3) "จำเลย" หมายความถึงบุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดย ข้อหาว่าได้กระทำความผิด
(4) "ผู้เสียหาย" หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจ จัดการแทนได้ดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 4 มาตรา 5 และ มาตรา 6
(5) "พนักงานอัยการ" หมายความถึงเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้อง ผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้เป็นข้าราชการในกรมอัยการหรือเจ้าพนักงาน อื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้
(6) "พนักงานสอบสวน" หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมาย ให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน
(7) "คำร้องทุกข์" หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อ เจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่ามีผู้กระทำความ ผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้เสียหายและการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนา จะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ
(8) "คำกล่าวโทษ" หมายความถึงการที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย ได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดีได้กระทำความผิด อย่างหนึ่งขึ้น
(9) "หมายอาญา" หมายความถึงหนังสือบงการซึ่งออกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้สั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการ จับ ขัง จำคุก หรือปล่อยผู้ต้องหา จำเลยหรือนักโทษ หรือให้ทำการค้น รวมทั้งสำเนาหมายเช่นนี้อันได้รับรองว่าถูกต้อง และคำบอกกล่าว ทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับแล้ว ตลอดจนสำเนาหมายจับหรือหมายค้นที่ได้ส่งทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 77
(10) "การสืบสวน" หมายความถึง การแสวงหาข้อเท็จจริงและ หลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจ และหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่ จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด
(11) "การสอบสวน" หมายความถึงการรวบรวมพยานหลักฐาน และการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่ จะทราบข้อเท็จจริงหรือการพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำ ผิดมาฟ้องลงโทษ
(12) "การไต่สวนมูลฟ้อง" หมายความถึงกระบวนไต่สวนของศาล เพื่อวินิจฉัยถึงมูลคดีซึ่งจำเลยต้องหา
(13) "ที่รโหฐาน" หมายความถึงที่ต่าง ๆ ซึ่งมิใช่ที่สาธารณสถาน ดั่งบัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา
(14) "โจทก์" หมายความถึงพนักงานอัยการ หรือผู้เสียหาย ซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหาย เป็นโจทก์ร่วมกัน
(15) "คู่ความ" หมายความถึงโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีก ฝ่ายหนึ่ง
(16) "พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ" หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้งพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าพนักงาน อื่น ๆ ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิด กฎหมาย ซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม
(17) "พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่" หมายความ ถึงเจ้าพนักงาน ดังต่อไปนี้
(ก) ปลัดกระทรวงมหาดไทย
(ข) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
(ค) ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย
(ฆ) ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย
(ง) อธิบดีกรมการปกครอง
(จ) รองอธิบดีกรมการปกครอง
(ฉ) ผู้อำนวยการกองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
(ช) หัวหน้าฝ่ายและหัวหน้างานในกองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
(ซ) ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง
(ฌ) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(ญ) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(ฎ) ปลัดจังหวัด
(ฏ) นายอำเภอ
(ฐ) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
(ฑ) อธิบดีกรมตำรวจ
(ฒ) รองอธิบดีกรมตำรวจ
(ณ) ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
(ด) ผู้บัญชาการตำรวจ
(ต) รองผู้บัญชาการตำรวจ
(ถ) ผู้ช่วยบัญชาการตำรวจ
(ท) ผู้บังคับการตำรวจ
(ธ) รองผู้บังคับการตำรวจ
(น) หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด
(บ) รองหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด
(ป) ผู้กำกับการตำรวจ
(ผ) ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเขต
(ฝ) รองผู้กำกับการตำรวจ
(พ) รองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเขต
(ฟ) สารวัตรใหญ่ตำรวจ
(ภ) สารวัตรตำรวจ
(ม) ผู้บังคับกองตำรวจ
(ย) หัวหน้าสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือ เทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
(ร) หัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือ เทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ทั้งนี้ หมายความรวมถึงผู้รักษาการแทนเจ้าพนักงานดังกล่าว แล้วแต่ผู้รักษาการแทนเจ้าพนักงานใน (ม) (ย) และ (ร) ต้องมียศ ตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปด้วย
(18) "สิ่งของ" หมายความถึงสังหาริมทรัพย์ใด ซึ่งอาจใช
มาตรา 1 ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าคำใดมีคำอธิบายไว้แล้วให้ถือตาม ความหมายดั่งได้อธิบายไว้ เว้นแต่ข้อความในตัวบทจะขัดกับคำอธิบายนั้น
มาตรา 14 ในระหว่างทำการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริต และไม่สามารถ ต่อสู้คดีได้ให้พนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี สั่งให้ พนักงานแพทย์ตรวจผู้นั้น เสร็จแล้วให้เรียกพนักงานแพทย์ผู้นั้นมา ให้ถ้อยคำ หรือให้การว่าตรวจได้ผลประการใด
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือศาลเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลย เป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้งดการสอบสวนไต่สวน มูลฟ้องหรือพิจารณาไว้จนกว่าผู้นั้นหายวิกลจริตหรือสามารถจะ ต่อสู้คดีได้ และให้มีอำนาจส่งตัวผู้นั้นไปยังโรงพยาบาลโรคจิต หรือมอบให้แก่ผู้อนุบาลข้าหลวงประจำจังหวัดหรือผู้อื่นที่เต็มใจรับ ไปดูแลรักษาก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร
กรณีที่ศาลงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาดั่งบัญญัติไว้ใน วรรคก่อนศาลสั่งจำหน่ายคดีเสียชั่วคราวก็ได้
มาตรา 15 วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติ ไว้โดยเฉพาะให้นำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บรรพ3 เอกเทศสัญญา
ลักษณะ2 แลกเปลี่ยน
ลักษณะ3 ให้
ลักษณะ1 ซื้อขาย
หมวด1 สภาพและหลักสำคัญของสัญญาซื้อขาย
ส่วนที่2 การโอนกรรมสิทธิ์
ส่วนที่1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด2 หน้าที่และความรับผิดของผู้ขาย
ส่วนที่2 ความรับผิดชอบเพื่อชำรุดบกพร่อง
ส่วนที่3 ความรับผิดในการรอนสิทธิ
ส่วนที่1 การส่งมอบ
ส่วนที่4 ข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิด
หมวด3 หน้าที่ของผู้ซื้อ
หมวด4 การซื้อขายเฉพาะบางอย่าง
ส่วนที่1 ขายฝาก
ส่วนที่2 ขายตามตัวอย่าง ขายตามคำพรรณนา ขายเผื่อชอบ
ส่วนที่3 ขายทอดตลาด
ลักษณะ4 เช่าทรัพย์
หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด2 หน้าที่และความรับผิดชอบ ของผู้ให้เช่า
หมวด3 หน้าที่และความรับผิดของผู้เช่า
หมวด4 ความระงับแห่งสัญญาเช่า
ลักษณะ5 เช่าซื้อ
ลักษณะ6 จ้างแรงงาน
ลักษณะ7 จ้างทำของ
ลักษณะ8 รับขน
หมวด1 รับขนของ
หมวด2 รับขนคนโดยสาร
ลักษณะ9 ยืม
หมวด1 ยืมใช้คงรูป
หมวด2 ยืมใช้สิ้นเปลือง
ลักษณะ10 ฝากทรัพย์
หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด2 วิธีเฉพาะการฝากเงิน
หมวด3 วิธีเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรม
ลักษณะ11 ค้ำประกัน
หมวด2 ผลก่อนชำระหนี้
หมวด3 ผลภายหลังชำระหนี้
หมวด4 ความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกัน
หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ12 จำนอง
หมวด3 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับจำนองและผู้จำนอง
หมวด4 การบังคับจำนอง
หมวด2 สิทธิจำนองครอบเพียงใด
หมวด5 สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง
หมวด6 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาจำนอง
หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ13 จำนำ
หมวด2 สิทธิและหน้าที่ของผู้จำนำและผู้รับจำนำ
หมวด3 การบังคับจำนำ
หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด4 ความระงับสิ้นไปแห่งการจำนำ
ลักษณะ14 เก็บของในคลังสินค้า
หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด2 ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า
ลักษณะ15 ตัวแทน
หมวด3 หน้าที่และความรับผิดของตัวการต่อตัวแทน
หมวด4 ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคล
หมวด2 หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ
หมวด5 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน
หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด6 ตัวแทนค้าต่าง
ลักษณะ16 นายหน้า
ลักษณะ17 ประนีประนอมยอมความ
ลักษณะ18 การพนันและขันต่อ
ลักษณะ19 บัญชีเดินสะพัด
ลักษณะ20 ประกันภัย
หมวด2 ประกันวินาศภัย
ส่วนที่2 วิธีเฉพาะการประกันภัยในการรับขน
ส่วนที่3 ประกันภัยค้ำจุน
ส่วนที่1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด3 ประกันชีวิต
หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ21 ตั๋วเงิน
หมวด3 ตั๋วสัญญาใช้เงิน
หมวด4 เช็ค
หมวด5 อายุความ
หมวด2 ตั๋วแลกเงิน
ส่วนที่4 การใช้เงิน
ส่วนที่5 การสอดเข้าแก้หน้า
(2) การใช้เงินเพื่อแก้หน้า
(1) การรับรองเพื่อแก้หน้า
ส่วนที่6 สิทธิไล่เบี้ยเพราะเขาไม่รับรองหรือไม่ใช้เงิน
ส่วนที่7 ตั๋วแลกเงินเป็นสำรับ
ส่วนที่3 อาวัล
ส่วนที่2 การรับรอง
ส่วนที่1 การออกและสลักหลังตั๋วแลกเงิน
หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด6 ตั๋วเงินปลอม ตั๋วเงินถูกลัก และตั๋วเงินหาย
ลักษณะ22 หุ้นส่วนและบริษัท
หมวด3 ห้างหุ้น ส่วนจำกัด
หมวด4 บริษัทจำกัด
ส่วนที่2 หุ้นและผู้ถือหุ้น
ส่วนที่3 วิธีจัดการบริษัทจำกัด
ประชุมใหญ่
บัญชีงบดุล
เงินปันผลและเงินสำรอง
กรรมการ
บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
สมุดและบัญชี
ส่วนที่1 สภาพและการตั้งบริษัทจำกัด
ส่วนที่4 การสอบบัญชี
ส่วนที่5 การตรวจ
ส่วนที่6 การเพิ่มทุนและลดทุน
ส่วนที่7 หุ้นกู้
ส่วนที่8 เลิกบริษัทจำกัด
ส่วนที่9 การควบบริษัทจำกัดเข้ากัน
ส่วนที่10 หนังสือบอกกล่าว
ส่วนที่11 การถอนทะเบียนบริษัทร้าง
หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด5 การชำระบัญชีห้างหุ้น ส่วน จดทะเบียน ห้างหุ้น ส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด
หมวด2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ
ส่วนที่3 ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้น ส่วน กับบุคคลภายนอก
ส่วนที่4 การเลิกและชำระบัญชีห้างหุ้น ส่วนสามัญ
ส่วนที่5 การจดทะเบียนห้างหุ้น ส่วนสามัญ
ส่วนที่2 ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้น ส่วน ด้วยกันเอง
ส่วนที่1 บทวิเคราะห์
ส่วนที่6 การควบห้างหุ้น ส่วนจดทะเบียนเข้ากัน
ลักษณะ23 สมาคม
บรรพ4 ทรัพย์สิน
ลักษณะ4 ภารจำยอม
ลักษณะ5 อาศัย
ลักษณะ3 ครอบครอง
ลักษณะ6 สิทธิเหนือพื้นดิน
ลักษณะ2 กรรมสิทธิ์
หมวด1 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
หมวด2 แดนแห่งกรรมสิทธิ์
หมวด3 กรรมสิทธิ์รวม
ลักษณะ7 สิทธิเก็บกิน
ลักษณะ1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ8 ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์
บรรพ2 หนี้
ลักษณะ2 สัญญา
หมวด2 ผลแห่งสัญญา
หมวด3 มัดจำและกำหนดเบี้ยปรับ
หมวด1 ก่อให้เกิดสัญญา
หมวด4 เลิกสัญญา
ลักษณะ3 จัดการงานนอกสั่ง
ลักษณะ1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด2 ผลแห่งหนี้
ส่วนที่4 เพิกถอนการฉ้อฉล
ส่วนที่3 การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
ส่วนที่5 สิทธิยึดหน่วง
ส่วนที่2 รับช่วงสิทธิ
ส่วนที่6 บุริมสิทธิ
บุริมสิทธิพิเศษ
(ก) บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์
(ข) บุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์
ลำดับแห่งบุริมสิทธิ
บุริมสิทธิสามัญ
ผลแห่งบุริมสิทธิ
ส่วนที่1 การไม่ชำระหนี้
หมวด3 ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน
หมวด1 วัตถุแห่งหนี้
หมวด4 โอนสิทธิเรียกร้อง
หมวด5 ความระงับหนี้
ส่วนที่3 หักกลบลบหนี้
ส่วนที่4 แปลงหนี้ใหม่
ส่วนที่5 หนี้เกลื่อนกลืนกัน
ส่วนที่2 ปลดหนี้
ส่วนที่1 การชำระหนี้
ลักษณะ4 ลาภมิควรได้
ลักษณะ5 ละเมิด
หมวด1 ความรับผิดเพื่อละเมิด
หมวด2 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
หมวด3 นิรโทษกรรม
บรรพ5 ครอบครัว
ลักษณะ2 บิดามารดากับบุตร
หมวด2 สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร
หมวด3 ความปกครอง
หมวด1 บิดามารดา
มวด4 บุตรบุญธรรม
ลักษณะ3 ค่าอุปการะเลี้ยงดู
ลักษณะ1 การสมรส
หมวด4 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
หมวด5 ความเป็นโมฆะของการสมรส
หมวด3 ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
หมวด6 การสิ้นสุดแห่งการสมรส
หมวด2 เงื่อนไขแห่งการสมรส
หมวด1 การหมั้น
บรรพ1 หลักทั่วไป
ข้อความเบื้องต้น
ลักษณะ3 ทรัพย์
ลักษณะ4 นิติกรรม
หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด2 การแสดงเจตนา
หมวด3 โมฆะกรรมและโมฆียะ
หมวด4 เงื่อนไขและเงื่อนเวลา
ลักษณะ2 บุคคล
หมวด1 บุคคลธรรมดา
ส่วนที่2 ความสามารถ
ส่วนที่3 ภูมิลำเนา
ส่วนที่1 สภาพบุคคล
ส่วนที่4 สาบสูญ
หมวด2 นิติบุคคล
ส่วนที่2 สมาคม
ส่วนที่3 มูลนิธิ
ส่วนที่1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ5 ระยะเวลา
ลักษณะ1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ6 อายุความ
หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด2 กำหนดอายุความ
บรรพ6 มรดก
ลักษณะ3 พินัยกรรม
หมวด2 แบบพินัยกรรม
หมวด3 ผลและการตีความแห่งพินัยกรรม
หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด4 พินัยกรรมที่ตั้งผู้ปกครองทรัพย์
หมวด5 การเพิกถอนและการตกไปแห่งพินัยกรรม หรือข้อกำหนดพินัยกรรม
หมวด6 ความเสียเปล่าแห่งพินัยกรรม หรือข้อกำหนดพินัยกรรม
ลักษณะ4 วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก
หมวด2 การรวบรวมจำหน่ายทรัพย์มรดกเป็นตัวเงิน และการชำระหนี้กับแบ่งปันทรัพย์มรดก
หมวด3 การแบ่งมรดก
หมวด1 ผู้จัดการมรดก
ลักษณะ2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก
หมวด2 การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรม ในลำดับและชั้นต่าง ๆ
หมวด3 การแบ่ง ส่วนมรดกของทายาทโดยธรรม ในลำดับและชั้นต่าง ๆ
ส่วนที่1 ญาติ
ส่วนที่2 คู่สมรส
หมวด1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด4 การรับมรดกแทนที่กัน
ลักษณะ5 มรดกที่ไม่มีผู้รับ
ลักษณะ1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด2 การเป็นทายาท
หมวด3 การตัดมิให้รับมรดก
หมวด4 การสละมรดกและอื่น ๆ
หมวด1 การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก
ลักษณะ6 อายุความ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ภาค2 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น
ลักษณะ1 วิธีพิจารณาสามัญในศาลชั้นต้น
ลักษณะ2 วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น
หมวด2 การพิจารณาโดยขาดนัด
ส่วนที่1 การขาดนัดยื่นคำให้การ
ส่วนที่2 การขาดนัดพิจารนา
หมวด3 อนุญาโตตุลาการ
หมวด1 วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่
ภาค3 อุทธรณ์และฎีกา
ลักษณะ1 อุทธรณ์
ลักษณะ2 ฎีกา
ภาค1 บททั่วไป
ลักษณะ5 พยานหลักฐาน
หมวด1 หลักทั่วไป
หมวด2 ว่าด้วยการมาศาลของพยานและการซักถามพยาน
หมวด3 การนำพยานเอกสารมาสืบ
หมวด4 การตรวจและการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญโดยศาล
ลักษณะ6 คำพิพากษาและคำสั่ง
หมวด2 ข้อความและผลแห่งคำพิพากษาและคำสั่ง
หมวด3 ค่าฤชาธรรมเนียม
ส่วนที่1 การกำหนดและการชำระค่าฤชาธรรมเนียม
และการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
ส่วนที่2 ความรับผิดชั้นที่สุดในค่าฤชาธรรมเนียม
หมวด1 หลักทั่วไปว่าด้วยการชี้ขาดตัดสินคดี
ลักษณะ4 การยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสาร
ลักษณะ3 คู่ความ
ลักษณะ2 ศาล
หมวด3 อำนาจและหน้าที่ของศาล
หมวด4 การนั่งพิจารณา
หมวด2 การคัดค้านผู้พิพากษา
หมวด5 รายงานและสำนวนความ
หมวด1 เขตอำนาจศาล
ลักษณะ1 บทวิเคราะห์ศัพท์
ภาค4 วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับตามคำพิพากษา
ลักษณะ1 วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา
หมวด1 หลักทั่วไป
หมวด2 คำขอในเหตุฉุกเฉิน
ลักษณะ2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง
หมวด1 หลักทั่วไป
หมวด2 วิธียึดทรัพย์ อายัดทรัพย์และการจ่ายเงิน
ประมวลกฎหมายอาญา
ภาค2 ความผิด
ลักษณะ1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
หมวด2 ความผิดต่อความมั่งคงของรัฐ ภายในราชอาณาจักร
หมวด3 ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ภายนอกราชอาณาจักร
หมวด1 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
หมวด4 ความผิดต่อสัมพันธไมตรี กับต่างประเทศ
ลักษณะ2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง
หมวด1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
หมวด2 ความผิดต่อตำแหน่ง หน้าที่ราชการ
ลักษณะ3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม
หมวด1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ในการยุติธรรม
หมวด2 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ในการยุติธรรม
ลักษณะ4 ความผิดเกี่ยวกับศาสนา
ลักษณะ5 ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุข ของประชาชน
ลักษณะ7 ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง
หมวด2 ความผิดเกี่ยวกับดวงตราแสตมป์ และตั๋ว
หมวด3 ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร
หมวด1 ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา
หมวด4 ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์
หมวด5 ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง
ลักษณะ8 ความผิดเกี่ยวกับการค้า
ลักษณะ9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ
ลักษณะ10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
หมวด1 ความผิดต่อชีวิต
หมวด2 ความผิดต่อร่างกาย
หมวด3 ความผิดฐานทำให้แท้งลูก
หมวด4 ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บ หรือคนชรา
ลักษณะ11 ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง
หมวด2 ความผิดฐานเปิดเผยความลับ
หมวด3 ความผิดฐานหมิ่นประมาท
หมวด1 ความผิดต่อเสรีภาพ
ลักษณะ1/1 ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
ลักษณะ12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
หมวด1 ความผิดฐานลักทรัพย์ และวิ่งราวทรัพย์
หมวด2 ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์
หมวด3 ความผิดฐานฉ้อโกง
หมวด4 ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
หมวด5 ความผิดฐานยักยอก
หมวด6 ความผิดฐานรับของโจร
หมวด7 ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
หมวด8 ความผิดฐานบุกรุก
ลักษณะ6 ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิด ภยันตรายต่อประชาชน
ภาค1 บทบัญญัติทั่วไป
ลักษณะ1 บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป
หมวด5 การพยายาม กระทำความผิด
หมวด6 ตัวการ และผู้สนับสนุน
หมวด4 ความรับผิด ในทางอาญา
หมวด7 การกระทำความผิด หลายบทหรือหลายกระทง
หมวด3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย
ส่วนที่2 วิธีการ เพื่อความปลอดภัย
ส่วนที่3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ
ส่วนที่1 โทษ
หมวด8 การกระทำความผิดอีก
หมวด2 การใช้ กฎหมายอาญา
หมวด9 อายุความ
หมวด1 บทนิยาม
ลักษณะ2 บทบัญญัติ ที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ
ภาค3 ลหุโทษ