Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (ความสำคัญ…
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์
ความหมาย
กระบวนการที่ผู้บริหารจะต้องมีนโยบายและแนวการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับบุลคลในการทำงานโดยเฉพาะเรื่องการสรรหา ฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงาน การให้รางวัล และการเตรียมตัวเรื่องความปลอดภัย จริยธรรมและควายยุติธรรมให้กับพนักงานขององค์กร
กิจกรรม
ก่อนเข้าร่วมงาน
จะต้องทำการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ สรรหา และจูงใจบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและความเหมาะสมกับงานที่ต้องการให้เกิดความสนใจที่จะเข้าร่วมงานกับองค์กร
ขณะปฏิบัติงาน
งานทรัพยากรมนุษย์ยังมีหน้าที่ในการธำรงรักษาให้สมาชิกในองค์กรมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีและมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในองค์กร
ภายหลังจากการร่วมงาน
ต้องคำนึงถึงบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับองค์กรจนครบเกษียณหรือบุคคลที่จำเป็นต้องออกจากงานด้วยเหตุผลบางประการยกเว้นการกระทำผิดอย่างร้ายแรง โดยการจัดเตรียมความพร้อมให้บุคลากรสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อาทิ การให้บำเหน็จ บำนาญ
1.หน้าที่เกี่ยวกับองค์การ
กำหนดนโยบาย มีหน้าที่เกี่ยวกับนโยบายด้านบุคลากรรวมและเฉพาะของแต่ละหน่วยงานภายในองค์กร จัดเตรียมข้อมูลที่มีความสำคัญตลอดจนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย
ให้คำแนะนำ มีหน้าที่เช่นเดียวกับหน้าที่อื่นภายในองค์การ เช่น การเงิน การตลาด วิศวกรรม เป็นต้น แต่ละหน่วยงานจะต้องมีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาที่ตนปฏิบัติ
ให้บริการ มีลักษณะเป็นหน่วยงานสนับสนุน(staff) มีหน้าที่ในการให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษาแก่สายงานหลัก (line) เมื่อเกิดปัญหาหรือความต้องการที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร นอกจากนี้อาจมีการจัดงานในด้านต่างๆในระดับองค์การ หน่วยงาน หรือบุคลากร
การควบคุม การควบคุมกำลังคนถือเป็นหน้าที่ ที่สำคัญของงานทรัพยากรมนุษย์ถ้าองค์การมีบุคลากรจำนวนมากจะก่อให้เกิดรายจ่ายที่สูงเกินไปในทางตรงกันข้ามถ้าองค์การมีบุคลากรน้อยเกินไปจะส่งผลให้งานล่าช้า ดังนั้งจะต้องทำหน้าที่ตรวจสอบและปรับปรุงแผนงาน
2.หน้าที่เกี่ยวกับสมาชิกขององค์การ
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
จะมีส่วนช่วยสะท้อนภาพอนาคตเพื่อให้เกิดแนวทางและความทรงจำ
การจ้างงาน
หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของหน่วยงาน
การจัดการด้านตำแหน่งงาน
ดำเนินรับและบรรจุบุคลากรเข้าปฏิบัติงานและมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยในการประเมินผลงานอย่างยุติธรรมตามเกณฑ์ที่กำหนด
การฝึกอบรมและพัฒนา
เป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะให้องค์การสามารถเจริญเติบโตได้อย่างมั่นคง
การบริหารค่าตอบแทนและผลประโยชน์
เป็นหน้าที่โดยตรงของหน่วยงาน โดยจะต้องทำการประเมินค่างาน ศึกษาเปรียบเทียบและกำหนดอัตรค่าจ้างภายในองค์การ
การธำรงรักษา
รักษาบุคลากรให้ปฏิบัติงานอย่างเต็มใจตลอดจนความจงรักภักดีที่มีต่อองค์การ
ระเบียบวินัย
มีหน้าที่ในการที่จะรักษากฏระเบียบและข้อบังคับให้เป็นไปตามที่ต้องการ
แรงงานสัมพันธ์
มีหน้าที่โดยตรงในเรื่องของแรงงานสัมพันธ์ทั้งระดับ มหาภาคและจุลภาค จัดการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์การ
กิจกรรมอื่นๆ
การให้คำปรึกษาคำแนะนำหรือบริการพิเศษแก่บุคลากร
ความสำคัญ
ทำให้มีบุคลากรทำงานที่เพียงพอและต่อเนื่อง
ทำให้ได้คนดีและมีความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ
ทำให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ทำให้มีการบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการแก่บุคลากรอย่างเหมาะสม
ทำให้เกิดการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนของบุคลากร
ทำให้เกิดการประเมินผลงานของบุคลากรที่เหมาะสมและสนับสนุนคนทำงานดี
ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนทำงานด้วยกันและทำกับผู้บริหาร
พัฒนาการของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
1.ช่วงระยะก่อนเริ่มแรก
(Pre-classical Period)
โรเบิร์ต โอเวน
เสนอให้ลดระยะเวลาในการทำงาน
และป้องกันการใช้แรงงานเด็กที่อายุต่ำกว่า10ปี
ชาร์ลส์ แบบบาจ
ส่วนที่1 พนักงานได้รับโบนัส
ส่วนที่2 ค่าจ้างของพนักงานขึ้นอยู่กับกำไรของโรงงาน
2.ช่วงระยะเริ่มแรก
(Classical Period))
เฟรเดอริก ดับเบิลยู. เทเลอร์
บิดาแห่งการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ ตั้งสมมติฐานเป็นเหตุผล 3ประการ
1.เมื่อผลิตเพิ่มขึ้นตนจะต้องออกงานเพราะโรงงานไม่ต้องการคนจำนวนมาก
2.ระบบการจ่ายค้าจ้างแบบรายรายชั่วโมงทำให้คนงานพยายาม
3.ทำงานที่ใช้ประสบการณ์ ทำให้ขาดประสิทธิภาพ
เฮนรี่ แอล แกนต์
เสนอแนวคิดเกี่ยวข้องกับการจูงใจบุคลากรโดยให้รางวัลพิเศษแก่หัวหน้างานเมื่อคนงานสามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตราฐานที่ตั้งไว้
3.ช่วงแนวความคิดด้านมนุษย์สัมพันธ์
(Human Relation Movement)
ฮิวโก มันส์เทอร์เบิร์ก
เป็นนักจิตวิทยาชาวเยอรมันที่ริเริ่มสนใจศึกษาในสาขาวิชาจิตวิทยาอุตสหกรรมสนใจสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการทำงานที่ดีที่สุด
แมรี่ พาร์กเกอร์ โฟลเลตต์
สนใจเรื่องการพลวัตของกลุ่ม การแบ่งอำนาจ
การแก้ไขความขัดแย้งและการบูรณาการระบบองค์การ
อัมบราฮัม มาสโลว์
สนใจเรื่องธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การและแบ่งลำดับความต้องการของมนุษย์ออกเป็น5ลำดับ
1.ความต้องการทางกายภาพ
2.ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย
3.ความต้องการมีส่วนร่วมในสังคม
4.ความต้องการการยอมรับนับถือ
5.ความต้องการบรรลุสิ่งที่ตั้งใจ
ดักลาส แมคเกรเกอร์
กล่าวถึงแนวทางในการบริหารบุคคลภายในองค์การ เขาได้สร้างสมมติฐานที่เรียกว่า ทฤษฎีX และทฤษฎีY
ทฤษฎีX มีสมมติฐานในทางลบ คนงานเกียจคร้านมีความทะเยอทะยานต่ำชอบให้บังคับสนแต่ผลตอบแทน
ทฤษฎีY มีสมมติฐานในทางบวก คนงานมีวุฒิภาวะที่สูง ควบคุมตนเองได้ มีความรับผิดชอบ
ช่วงระยะเวลาปัจจุบัน
กระบวนการรัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการออกกฏหมายควบคุมสภาพการทำงานและมีผลต่อการดำเนินงานและมีผลให้สหภาพแรงงานเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและคนถือเป็นทรัพยากรอันมีค่าที่สุด