Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นางสาวจันทิมา ช่วยรัตนะ 6006510092 (Chapter 8 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท…
นางสาวจันทิมา ช่วยรัตนะ 6006510092
Chapter 5
ไวรัสคอมพิวเตอร์
ความหมายของไวรัสคอมพิวเตอร์ : :red_flag:
ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือโปรแกรมชนิดหนึ่งซึ่งถูกเขียนขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายที่สร้างผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ ให้กับระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียกใช้งานโปรแกรมนี้ ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้กับระบบในรูปแบบต่างๆ
อาการของคอมพิวเตอร์เมื่อติดไวรัส :red_flag:
การทำงานของคอมพิวเตอร์ช้ากว่าปกติ
คอมพิวเตอร์หยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ
ข้อมูลหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
ไฟล์ในแผ่นดิสก์ หรือฮาร์ดดิสก์ถูกเปลี่ยน
เป็นขยะหรือตัวอักษรประหลาดๆ
เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วบูตเครื่องจาก
ฮาร์ดดิสก์ไม่ได้
ช่องทางในการแพร่กระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ :red_flag:
หน่วยความจำสำรอง โดยผ่านการใช้งานจาก Handy Drive หรือ Flash Drive , แผ่นฟลอปปีดิสก์, ม้วนเทป, แผ่นซีดี ที่มีโปรแกรมไวรัสอยู่
ระบบเครือข่าย โดยการรับหรือคัดลอกแฟ้มผ่านระบบเครือข่าย รวมทั้งการรับจดหมายอีเมล์ที่มีแฟ้มไวรัสแนบมาด้วย
ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ :red_flag:
บูตเซกเตอร์ไวรัส เป็นไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ และจะฝังตัวเข้าแทนที่ระบบปฏิบัติการ
ไฟล์ไวรัส เป็นไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในแฟ้มข้อมูล ได้แก่ไฟล์ประเภท .EXE .COM .DLLเป็นต้น
หนอนคอมพิวเตอร์ เป็นไวรัสที่ทำงานอยู่บนหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์และจะทำการสร้างตัวเองส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆที่เชื่อมต่อกันอยู่บนระบบเครือข่าย
ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ :red_flag:
มมาโครไวรัส ไวรัสที่เขียนด้วยภาษามาโครของซอฟต์แวร์ประยุกต์ตัวใดตัวหนึ่งและจะแทรกตัวเองอยู่ในแฟ้มข้อมูลของ
ซอฟต์แวร์ตัวนั้น
ม้าโทรจัน เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมา ให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดาทั่วๆ ไป แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมได้กำหนดไว้ ซึ่งโปรแกรมตรวจสอบไวรัสธร
ม้าโทรจัน :explode:
Hacker ส่งโปรแกรม ไวรัสม้าโทรจัน
ไปเพื่อล้วงความลับของระบบ
คอมพิวเตอร์ เช่น Password ,
Username ที่ผู้ใช้กรอกในระบบ เพื่อ
เข้าสู่ Server ของระบบ โดยทำการดัก
จับเพื่อเข้าโจมตี Server ของระบบใน
ภายหลัง
วิธีการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ :red_flag:
ให้ทำการสำรองข้อมูล ที่สำคัญไว้
ติดตั้งโปรแกรมกำจัดไวรัส และตรวจสอบเป็นประจำ
ปรับปรุง หรืออัปเดทโปรแกรมกำจัดไวรัส *
ตรวจสอบแผ่นดิสก์จากการใช้งานร่วมกับผู้อื่น
สังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
หลีกเลี่ยงการ ก๊อปปี้โปรแกรมจากภายนอก
ควรหลีกเลี่ยงการเปิดเมล์ที่เราไม่รู้จักหรือไม่แน่ใจ
การแก้ปัญหาเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์มีไวรัส :red_flag:
หาโปรแกรมที่สามารถตรวจสอบ และกำจัดไวรัสได้
ตรวจสอบโดยการสแกนไวรัสจากอุปกรณ์สำรองข้อมูลทุกครั้งก่อนใช้งาน เช่น แผ่น Floppy Disk, Flash Drive, แผ่น CD เป็นต้น
ปิดเครื่อง เมื่อพบไวรัสในเครื่องคอมพิวเตอร์และให้ทำการบันทึกข้อมูลที่กำลังทำงานอยู่ แล้วออกจากระบบงาน เพราะไวรัสจะแพร่กระจายเข้าสู่หน่วยความจำและโปรแกรมต่างๆได้
ทำการถ่ายเทข้อมูล หรือกู้ข้อมูลเท่าที่จะกู้ได้
โปรแกรมตรวจสอบและกำจัดไวรัส :red_flag:
Program: AntiVir PersonalEdition Classic
Program: Trend Micro CWShredder
Program: a squared - Emsi Software Gmbh
Program: ClamWin antivirus
Program: AVAST! antivirus
Program: Bitdefender Free Edition
Program: AVG Anti-Virus - Grisofte Inc
Program: NOD32 antivirus
เทคนิคการใช้งานอินเทอร์เน็ต :red_flag:
เวลาเราเข้าเว็บไซต์ต่างๆ โปรแกรม IE ก็จะทำการdownload ข้อมูลมาเก็บไว้ในเครื่องของเราก่อน จากนั้นถ้าเราเลิกเล่น ไฟล์เหล่านี้ก็จะค้างในเครื่องของเรานอกจากปัญหาไฟล์ในเครื่องที่อาจจะเพิ่มมากขึ้น ทำให้เนื้อที่ใน harddisk ของเราไม่เพียงพอแล้ว อาจมีไวรัสแอบแฝงเข้ามาในเครื่องคอมฯ ของเราได้ด้วย
Chapter 6
การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย
การสื่อสารข้อมูล :red_flag:
ระบบเครือข่าย (network system)หมายถึง ระบบที่มีการเชื่อต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่มีความ สามารถในการรับส่งข้อมูลตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์ระหว่างกัน
การเชื่อมต่อการสื่อสารข้อมูลผ่าน
เครือข่ายท้องถิ่น(LAN) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
ระหว่างกัน รวมถึงร่วมกันใช้ทรัพยากรอื่นๆ เช่น เครื่องพริ้นเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น
การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ โดยผ่านสื่อกลาง
ไร้สาย ด้วยอุปกรณ์ ส่ง-รับข้อมูล เช่น จาน
ไมโครเวฟ เครื่องรับ-ส่งคลื่นวิทยุ จาน
ดาวเทียม เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ :red_flag:
ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
ใช้ข้อมูลในไฟล์ร่วมกัน
ความง่ายในการดูแลระบบ
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล :red_flag:
ผู้ส่ง (Sender)
ผู้รับ (Receiver)
ข่าวสารหรือข้อมูล(Message)
สื่อกลาง (Media)
โปรโตคอล(Protocol)
วิธีการถ่ายโอนข้อมูล :red_flag:
การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน
การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม
การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน :explode:
ข้อดี :
สามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็ว เนื่องจากทำการส่งข้อมูล
พร้อมกันได้ครั้งละหลายๆ บิต
ข้อเสีย
: จำนวนสายส่งข้อมูลที่ใช้ต้องมีเท่ากับจำนวนบิตที่ส่ง
ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงตามไปด้วย นิยมใช้กับการส่งข้อมูล
ในระยะใกล้ๆ
การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม :explode:
สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละบิต โดยจะส่งผ่านไปตามสายส่งเรียงลำดับตามกันไปและจะใช้สายส่งเพียงเส้นเดียว จึงทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งและนิยมส่งในระยะทางไกลๆ แต่ความเร็วในการส่งจะน้อยกว่าการส่งแบบขนาน
การติดต่อแบบอนุกรมอาจแบ่งตามรูปแบบการ
รับ-ส่งได้ 3 แบบ
การสื่อสารแบบทางเดียว (Simplex)
การสื่อสารแบบสองทางครึ่งอัตรา (Half-Duplex)
การสื่อสารแบบสองทางเต็มอัตรา (Full-Duplex)
ชนิดของสัญญาณและทิศทาง :red_flag:
การสื่อสารแบบ ทางเดียว (Simplex) : :explode:
ข้อมูลจะถูกส่งไปในทิศทางเดียวเท่านั้น
โดยผู้ส่งจะสามารถส่งข้อมูลไปให้ผู้รับได้อย่างเดียว
ส่วนผู้รับจะไม่สามารถโต้ตอบกลับมาได้
การสื่อสารแบบ สองทางครึ่งอัตรา (Half-Duplex) :explode:
ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองทิศทาง แต่จะต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเดียวเท่านั้นนั่นคือ ผู้ส่งและผู้รับสามารถทำหน้าที่ได้ทั้งส่งและรับข้อมูล แต่ไม่สามารถทำได้ในเวลาเดียวกันเช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ, กระดานสนทนา
การสื่อสารแบบ สองทางเต็มอัตรา :explode:
ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองทิศทางพร้อมกัน โดยผู้ส่งและผู้รับสามารถทำหน้าที่ทั้งส่งและรับข้อมูลพร้อมกัน เช่นโทรศัพท์, การ Upload และDownload ข้อมูลพร้อมๆ กันในอินเตอร์เน็ต, การสนทนาแบบ Chat Room เป็นต้น
สัญญาณแบบอนาล็อก(Analog Signal) :explode:
เป็นสัญญาณที่มีค่าต่อเนื่อง อยู่ในรูปแบบของคลื่น ซึ่ง
จะถูกส่งไปในรูปของสัญญาณไฟฟ้า มีการแปลงระดับ
สัญญาณ ขึ้น-ลง ตามขนาดของสัญญาณ (Amplitude)
และมีความถี่ (Frequency) ที่เรียกว่า Hertz (Hz) เช่น
การพูดทางโทรศัพท์
โมเด็ม (MODEM หรือ MOdulator-DEModulator) :explode:
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอล(Digital Signal) ให้เป็นสัญญาณอะนาล็อค(Analog Signal) และในทางกลับกันก็แปลงสัญญาณอะนาล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตอลโดยโมเด็มจะเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างเครื่อง
ประเภทของโมเด็ม :pencil2:
โมเด็มชนิดภายนอก (External Modem)
โมเด็มชนิดภายใน (Internal Modem)
สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) :explode:
เป็นสัญญาณที่มีค่าเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะถูกกำหนดค่า
เป็น “0” หรือ “1” เท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงของระดับสัญญาณไม่มีความต่อเนื่อง
( สูง = 1 และ ต่ำ = 0 )
ระบบการประมวลผลข้อมูลแบบมีศูนย์กลาง :red_flag:
การประมวลผลข้อมูลทั้งหมดจะเกิดขึ้นที่เครื่องหลักเพียงเครื่องเดียว
การประมวลผลทางไกล (Teleprocessing)
ระบบการประมวลผลข้อมูลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ :red_flag:
แบ่งการประมวลผลมาทำงานที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC)
PC ติดต่อและรับข้อมูลจาก Server มาแสดงผล
รับหน้าที่ในส่วนของการโต้ตอบและรับข้อมูลจากผู้ใช้ด้วย
ระบบการประมวลผลข้อมูลแบบกระจาย :red_flag:
มีกระจายภาระการประมวลผลไปยังเครื่องต่างๆที่เชื่อมต่อกันอยู่เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และนำผลลัพธ์ที่ได้มารวมกัน ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวม
ลดจำนวนข้อมูลที่ส่งผ่านเครือข่าย
IP Address (หมายเลขไอพี) :explode:
คือเลขที่
บอกที่อยู่เฉพาะของโหนดหรือโฮสต์ที่อยู่ใน
เครือข่าย รวมถึงคอมพิวเตอร์และเราเตอร์ด้วย
หมายเลขนี้จะเป็นที่อยู่ใน Layer 3 ซึ่ง
หมายเลขในเครือข่ายเดียวกันต้องไม่ซ้ำกัน
อย่างไรก็ตามโฮสต์หนึ่งอาจจะมีหมายเลขไอ
พีได้มากกว่าหนึ่งเลขหมายก็ได้
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่าย :red_flag:
คอมพิวเตอร์
เน็ตเวิร์กการ์ด (Network Interface Card)
สื่อกลาง หรือ ช่องทางในการสื่อสารข้อมูล (Medium)
โปรโตคอล (Protocol)
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System)
สื่อกลางประเภทไร้สาย :explode:
ไมโครเวฟ (Micro Wave)
ใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุ
ส่งสัญญาณเป็นทอดๆ จากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง
สถานีต้องตั้งอยู่ในที่สูง เช่น บนตึกสูง ,บนภูเขาสูง เป็นต้น เพื่อช่วยให้ส่งสัญญาณไปได้ไกล
ดาวเทียม
ข้อดี
ส่งข้อมูลได้ปริมาณมากและมีความเร็วสูง
ข้อเสีย
ค่าใช้จ่ายสูงมาก
ถูกดักจับสัญญาณได้ง่ายเช่นกัน
สื่อกลางประเภทมีสาย :explode:
สาย STP : (shielded Twisted-Pair)
เป็นสายคู่ตีเกลียวที่มีฉนวนโลหะลักษณะเป็นโลหะบาง
ๆ ซึ่งช่วยป้องกันการรบกวนสัญญาณจากภายนอกได้ดี
กว่าสาย UTP ในระยะทางประมาณ 100 เมตรเหมือน
กัน แต่ไม่ค่อยยืดหยุ่นในการใช้สายเนื่องจากมีขนาด
ใหญ่ ติดตั้งยากพอสมควร และราคาแพงกว่าแบบ UTP
จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม
สาย UTP : (Unshielded Twisted-Pair)
มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยลวดทองแดงที่มีฉนวน
พลาสติกหุ้ม 2 เส้นนำมาพันเป็นเกลียว ทำให้สามารถลดเสียงรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ และส่งสัญญาณได้ไม่เกิน 100 เมตร เช่น สายโทรศัพท์ ,สาย LAN
สายโคแอกเชียล (Coaxial)
เป็นสายเส้นกลม มีไส้กลางเป็นทองแดงหุ้มด้วยพลาสติก ชั้นถัดมาประกอบด้วยโลหะฟอยด์ที่ทอมาหุ้มเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน ชั้นนอกหุ้มพลาสติกอีกชั้น
สามารถทนต่อการรบกวนของสัญญาณภายนอกได้ดี
กว่าแบบสายคู่บิดเกลียว( Twisted Pair ) แต่ความนิยมใช้งานน้อยกว่าแบบTwisted Pair และราคาแพงกว่าเช่น สายเคเบิลทีวี
เส้นใยนำแสง (Fiber Optic)
ประกอบด้วยส่วนกลางที่ทำด้วยแก้ว แท่งแก้ว หรือพลาสติก ซึ่งถูกล้อมรอบด้วยเส้นใย แล้วมีพลาสติกหุ้มชั้นนอกสุดเพื่อป้องกันการสูญเสียสูญหายของสัญญาณ
จะนำส่งสัญญาณโดยใช้แสง โดยจะเปลี่ยนจากสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นแสง
สัญญาณต่างๆ ภายนอกไม่สามารถรบกวนได้เลย ในขณะที่สายอื่นๆ สัญญาณจะอ่อนลงเรื่อยๆ เมื่อมีระยะทางไกลขึ้น ราคาจึงสูงมาก
ยากต่อการติดตั้งและดูแลรักษา ถ้าเกิดเสียหายหรือหัก การซ่อมแซมทำได้ลำบาก
สามารถส่งสัญญาณได้ในทิศทางเดียว ดังนั้นในการติดตั้งจึงต้องมี 2 เส้นคู่กัน
รับ 1 เส้น ส่ง 1 เส้น สามารถส่งข้อมูลได้
เน็ตเวิร์กการ์ดหรือ NIC (Network Interface Card) :explode:
เป็นอุปกรณ์ที่ถูกติดตั้งในคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมกับเคเบิ้ลในระบบเน็ตเวิร์ก ทำหน้าที่ รับและส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์กับเน็ตเวิร์กโดยผ่านสายเคเบิ้ล จะแปลงสัญญาณที่ได้รับจากเคเบิ้ลให้เป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ และแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ใหอยู่ในรูปแบบที่สามารถเดินทางไปในสายเคเบิ้ลได้
ประเภทของระบบเครือข่าย :explode:
ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN)
เป็นเครือข่ายสื่อสารในระยะใกล้ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกันที่มีระยะทางไม่เกิน 1 ไมล์
โดยอาจการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ภายในสำนักงานที่อยู่ในตึกเดียวกันหรือระหว่างตึกที่ใกล้เคียงกันเข้าเป็นเครือข่าย
เช่น การแชร์ไฟล์ข้อมูล , การแชร์ฐานข้อมูล , การแชร์เครื่อง Print ร่วมกันเป็นต้น
ระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : MAN)
เป็นเครือข่ายสื่อสารที่ครอบคลุมพื้นที่ในระยะทางที่ไกลกว่า LAN ซึ่งอาจจะเป็นการเชื่อมต่อกันระหว่างเมืองกับเมืองหรือระหว่างจังหวัดกับจังหวัด
มักเกิดจากการเชื่อมโยงเครือข่าย LAN ในบริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน
เช่น เครือข่ายของบริษัทที่มีสาขาต่างๆ อยู่ในแต่ละจังหวัด และ การแพร่ภาพข้อมูลด้วยระบบ Cable TV เป็นต้น
ระบบเครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN)
เป็นเครือข่ายสื่อสารที่ครอบคลุมพื้นที่ในระยะทางที่ไกลมาก ในระดับประเทศระดับทวีป หรือทั่วทั้งโลก โดยส่วนมากแล้ว WAN นั้น จะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย LAN หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้สามารถส่งข้อมูลและใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ใน
ระยะทางที่ไกลขึ้น
สำหรับการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายWAN นั้นอาจจะทำได้โดยผ่านระบบโทรศัพท์ สายใยแล้วนำแสง (Fiber Optic) ไมโครเวฟ หรือดาวเทียมเป็นต้น
Chapter 7
เทคโนโลยีสารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) :red_flag:
หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำ ข้อมูลดิบ (Raw data) มา
คำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
เทคโนโลยีสารสนเทศ :red_flag:
หมายถึงกระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้
ได้สารสนเทศที่ต้องการ โดยจะรวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่นคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โทรคมนาคม กระบวนการ (ในการนำเครื่องมือ ใช้งาน)
คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี :red_flag:
มีความถูกต้องชัดเจน
ตรงกับความต้องการ
มีความกะทัดรัด ปริมาณพอเพียง
เป็นปัจจุบัน ทันสมัย
สะดวก รวดเร็ว ทันต่อการใช้งาน
เชื่อถือได้
เป็นระบบต่อเนื่องในการนำมาใช้งาน
กระบวนการของระบบสารสนเทศ :red_flag:
ขั้นเก็บข้อมูล
ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นรายงาน
ขั้นเผยแพร่
ขั้นนำไปใช้
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ :red_flag:
ผลกระทบในทางบวก
ผลกระทบในทางลบ
ผลกระทบในทางบวก :explode:
ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์
ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น
ช่วยส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยให้มีความสะดวก
ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์
เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง
ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
ผลกระทบในทางลบ :explode:
ทำให้เกิดอาชญากรรม
ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย
ทำให้เกิดความวิตกกังวล
ทำให้เกิดการเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ
ทำให้มีการพัฒนาอาวุธที่มีอำนาจทำลายสูง
ทำให้ข้อมูลหรือโปรแกรมถูกทำลายได้
ระบบประมวลผลรายการ (TPS : Transaction Processing
Systems) :red_flag:
จะให้สารสนเทศสำหรับระดับปฏิบัติการเท่านั้น
มีการใช้งานแยกจากกันในแต่ละฝ่าย
ไม่มีความยืดหยุ่น
ไม่ตอบสนองทันทีทันใด ต้องรอให้ถึงเวลา
สรุป
เช่น เจ้าหน้าที่ทำการป้อนข้อมูลในระบบการ
จองตั๋วเครื่องบิน
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS:Management Information System) :red_flag:
สร้างสารสนเทศสำหรับผู้บริหารทั้งระดับกลางและระดับสูง ช่วยใการ
ควบคุม/ตรวจสอบการดำเนินงาน
วางแผน
ตัดสินใจ
ข้อมูลอาจมาจากฐานข้อมูลของระบบประมวลผลธุรกรรม มาสรุป เปรียบเทียบ ทำสถิติวิเคราะห์ เป็นต้น
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(DSS :Decision Support
Systems) :red_flag:
ช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารเป็นไปได้
อย่างสะดวก และง่ายต่อการเรียนรู้ และการใช้
งาน
สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วและมี
ประสิทธิภาพ
มีข้อมูลและแบบจำลองสำหรับสนับสนุนการ
ตัดสินใจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะ
ของปัญหา
มีความยืดหยุ่นที่จะสนองความต้องการที่
เปลี่ยนแปลงไป
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (EIS :Executive Information Systems) :red_flag:
จุดเด่นของระบบคือการใช้งานไม่จำเป็นต้องมีค
วามรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
นำข้อมูลจากภายในองค์กร และจากภายนอก มาจัดทำข้อสรุป
เรียกใช้ได้ง่าย รวดเร็ว ดูเข้าใจง่าย
ตัวอย่างของรายงาน เช่น รายงานเกี่ยวกับการเงิน
และสถานภาพทางธุรกิจ ของบริษัท
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) :red_flag:
เกี่ยวข้องกับการจัดการ ความรู้ (Knowledge)
มากกว่าสารสนเทศ
ใช้หลักการทำงานด้วย ระบบปัญญาประดิษฐ์
(Artificial Intelligence) เช่น Neural
Network
ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ตัวอย่างของ (Expert Systems) ที่นำไปใช้ในงานด้านต่างๆ :explode:
ด้านการแพทย์ : การให้คำแนะนำแก่หมอ
ในการสั่งยาปฏิชีวนะให้คนไข้ซึ่งต้องคำนึงถึง
ปัจจัยต่างๆ หลายประการ เช่น ประวัติการ
เจ็บป่วยของคนไข้ แหล่งติดเชื้อ ราคาของยา
ด้านการผลิต : การให้คำแนะนำแก่โรงงาน
ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ชิ้นส่วน
เครื่องบิน
ด้านธรณีวิทยา : ให้คำแนะนำแก่นัก
ธรณีวิทยาในการวิเคราะห์ดินและน้ำมัน เพื่อ
พิจารณาในการขุดเจาะน้ำมัน
ด้านกระบวนการผลิต : ให้คำแนะนำในการ
กำหนดตารางเวลาในกระบวนการผลิต
(Expert Systems Scheduling) ซึ่งทำให้
บริษัทสามารถปรับตารางเวลาการการผลิต ให้
สอดคล้องกับความต้องการในการเปลี่ยนแปลง
การผลิตหรือเงื่อนไขของโรงงานที่เปลี่ยนไป
อย่างรวดเร็ว
ด้านกระบวนการทำงานของบริษัทบัตร
เครดิต : ใช้ ES ช่วยในกระบวนการทำงาน
ตั้งแต่การประมวลการสมัครของลูกค้า การ
อนุมัติเครดิต การรวมบัญชีที่ค้างชำระเกิน
กำหนด
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและขบวนการทางธุรกิจ :red_flag:
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการบัญชี
Chapter 8
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
การเปลี่ยนรูปแบบการกระทำความผิด :red_flag:
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ :explode:
อาชญากรรมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบในการกระทำความผิดทั้ง
ทางตรง และ ทางอ้อม โดยเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมในหลาย ๆ รูปแบบ ดังนี้
ใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
เป็นเป้าหมายในการกระทำความผิด
ใช้ในการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
อาชญากรรมแบบดั้งเดิมที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการกระ
ทำความผิด(Traditional Computer Crimes)
หรืออาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับ คอมพิวเตอร์
(Computer Related Crimes) เป็นการใช้
เทคโนโลยี่ช่วยในการกระทำความผิดในรูป
แบบดั้งเดิมซึ่งสามารถปรับใช้กฎหมาย ที่มี
อยู่ในปัจจุบันดำเนินคดีได้ ได้แก่
∙ คดีข่มขู่ , หมิ่นประมาท , ก่อความเดือนร้อนรำคาญ
∙ ฉ้อโกง
∙ การพนัน
∙ ขายสินค้าผิดกฎหมาย, ละเมิดลิขสิทธิ์
∙ จำหน่าย/ เผยแพร่ / ช่วยให้เผยแพร่ภาพลามกอนาจาร
ลักษณะการกระทำความผิดที่พบในประเทศไทย :red_flag:
คดีหมิ่นประมาท / ก่อความเดือดร้อนรำคาญ :explode:
∙ หมิ่นประมาทบนกระดานข่าว, เว็บบอร์ด ,เว็บไซต์
ประชาชนทั่วไป
สถาบันพระมหากษัตริย์ : เว็บไซต์,กระดานข่าว, รูปภาพ
ความมั่นคงฯ (การเมือง?)
∙ ก่อความเดือดร้อนรำคาญ/หมิ่นประมาทโดยใส่เบอร์โทรศัพท์
ของผู้อื่นลงบนกระดานข่าว ทำนองต้องการเพื่อนแก้เหงา หรือขายบริการทางเพศ
สรุปการกระทำความผิดบน
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มาก
ที่สุด :explode:
Phishing การหลอกล่อข้อมูลผ่านหน้า
เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่พยายามทำให้เหมือน
Carding การขโมยบัตรเครดิต ซึ่ง
เป็นการทดสอบบัตรว่าใช้ได้หรือไม่ และ
มีการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ตด้วย
Malware / Virus ซอฟต์แวร์ที่หวังร้าย
Spam mail Attack อีเมล์ไม่พึ่งประสงค์
ลักษณะทั่วไปของอาชญากรรม
ทางคอมพิวเตอร์ :red_flag:
ผู้กระทำความผิดอยู่ตรงไหนก็ได้ใน
โลก
ความเสียหายกระทบถึงคนจำนวน
มากและรวดเร็ว
ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนในการกระ
ทำความผิด
ยากต่อการตรวจพบร่องรอยการกระ
ทำความผิด
ยากต่อการจับกุมและนำผู้กระทำผิด
มาลงโทษ
ระบบคอมพิวเตอร์ :red_flag:
“ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความ
ว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของ
คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงาน
เข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนด
คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด
และแนวทางปฏิบัติงานให้
อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำ
หน้าที่ประมวลผลข้อมูล
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ :red_flag:
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า
ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง
หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบ
คอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบ
คอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้
และให้หมายความรวมถึงข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วย
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ :red_flag:
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความ
ว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของ
ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด
ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่
ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรือ
อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของ
ระบบคอมพิวเตอร์นั้น
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ :red_flag:
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบ
คอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง
โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับ
ตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้ง
ปรับ
การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึง :red_flag:
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกัน
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำ
ขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดัง
กล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่า
จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน
สองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ :red_flag:
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง
โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับ
ตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือ
ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การพิจารณาฐานความผิด :explode:
การกระทำซึ่งเป็นความผิดตาม มาตรา 7
อาจต้องมีการกระทำความผิดตามมาตรา 5
เสียก่อน
การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ : :red_flag:
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิ
ชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการ
ส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์
นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้
บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำ
คุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
การแก้ไข ข้อมูลคอมพิวเตอร์ :red_flag:
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย
แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่า
ทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่
เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ :red_flag:
“มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใด
โดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบ
คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ
ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงาน
ตามปกติได้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับ
ไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เหตุผล การกำหนดฐานความผิดคำนึงถึง
การก่อให้เกิดการปฏิเสธการให้บริการ
(Denial of Service) เป็นสำคัญ
สแปมเมล์ (Spam Mail) :red_flag:
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์
หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น
โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของ
การส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวน
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดย
ปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่ง
แสนบาท
การกระทำซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคง :red_flag:
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตาม
มาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่
ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือใน
ภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่
เกินสองแสนบาท
เหตุผล กำหนดโทษหนักขึ้น
ตามความเสียหายที่เกิดขึ้น
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิด
ความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบ
คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคง
ปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ
ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือ
การบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้
เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุก
ตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่น
บาทถึงสามแสนบาท
การใช้อุปกรณ์/ชุดคำสั่งในทางมิชอบ :red_flag:
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุด
คำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็น
เครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕
มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙
มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำ
คุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
เหตุผล จำกัดเฉพาะกรณีโปรแกรมคอมพิวเตอร์
เท่านั้น ซึ่งแต่เดิมรวมถึงฮาร์ดแวร์ (อุปกรณ์) ด้วย
การนำเข้า/เผยแพร่เนื้อหาอันไม่
เหมาะสม :red_flag:
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้
ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้ง
ปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดย
ประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือ
ประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะ
เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ
หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่
ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับ
ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิด
เกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมาย
อาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อ
มูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึง
ได้
การกำหนดบทลงโทษผู้ให้บริการ :red_flag:
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุน
หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตาม
มาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความ
ควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้
กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
เหตุผล ผู้ให้บริการในที่นี้มุ่งประสงค์ถึง
เจ้าของเว็บไซต์ ซึ่งมีการพิจารณาว่า ควรต้อง
มีหน้าที่ลบเนื้อหาอันไม่เหมาะสมด้วย
การเผยแพร่ภาพซึ่งตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาท :red_flag:
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่
ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์
ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่
เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วย
วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดย
ประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น
ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษ
จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูล
คอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด