Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสื่อสารข้อมูล และระบบเครือข่าย : (การสื่อสารข้อมูล (องค์ประกอบของการสื่…
การสื่อสารข้อมูล และระบบเครือข่าย
:
การสื่อสารข้อมูล
ความหมาย
เริ่มต้นของยุคสื่อสารเมื่อประมาณ พ.ศ. 2513 – 2515 การติดต่อสื่อสารข้อมูลสมัยใหม่นี้ ใช้การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ กับ คอมพิวเตอร์ และความต้องการในการติดต่อระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกันก็มีมากขึ้น หรือ ที่เรียกว่า ระบบเครือข่าย (network system)
ระบบเครือข่าย (network system)
ระบบเครือข่าย (network system) หมายถึง ระบบที่มีการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่มีความ สามารถในการรับ-ส่งข้อมูลตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป เข้าด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์ระหว่างกัน
ยุคสมัยของไมโครคอมพิวเตอร์
ลักษณะของเครือข่ายจึงเริ่มจากจุดเล็กๆ อาจจะอยู่บนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เดียวกัน ขยายตัวใหญ่ขึ้นเป็นทั้งระบบที่ทำงานร่วมกันในห้องทำงาน ในตึก ระหว่างตึก ระหว่างสถาบัน ระหว่างเมือง ระหว่างประเทศ
บทบาทที่สำคัญ
อีกบทบาทหนึ่ง คือการให้บริการข้อมูล เช่น ฐานข้อมูลงานวิจัย ในมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ก็มีข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือและตำราวิชาการ หากผู้ใช้ต้องการข้อมูลใดก็สามารถติดต่อมายังศูนย์บริการข้อมูลนั้นๆ ได้
วัตถุประสงค์ของการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
ใช้ข้อมูลในไฟล์ร่วมกัน
ความง่ายในการดูแลระบบ
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
สามารถแบ่งได้เป็น 5 องค์ประกอบ
ข่าวสารหรือข้อมูล (Message)
สื่อกลาง (Media)
ผู้รับ (Receiver)
โปรโตคอล (Protocol)
ผู้ส่ง (Sender)
การเชื่อต่อการสื่อข้อมูล
การเชื่อมต่อการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน รวมถึงร่วมกันใช้ทรัพยากรอื่นๆ เช่น เครื่องพริ้นเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น
การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ โดยผ่านสื่อกลางไร้สาย ด้วยอุปกรณ์ ส่ง-รับข้อมูล เช่น จานไมโครเวฟ เครื่องรับ-ส่งคลื่นวิทยุ จานดาวเทียม เป็นต้น
ชนิดของสัญญาณ และทิศทาง
วิธีการถ่ายโอนข้อมูล
การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน
ข้อดี : สามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็ว เนื่องจากทำการส่งข้อมูลพร้อมกันได้ครั้งละหลายๆ บิต
ข้อเสีย : จำนวนสายส่งข้อมูลที่ใช้ต้องมีเท่ากับจำนวนบิตที่ส่ง ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงตามไปด้วย นิยมใช้กับการส่งข้อมูลในระยะใกล้ๆ
การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม
สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละบิต โดยจะส่งผ่านไปตามสายส่งเรียงลำดับตามกันไป และจะใช้สายเพียงเส้นเดียว จึงทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งและนิยมส่งในระยะทางไกลๆ แต่ความเร็วในการส่งจะน้อยกว่าส่งแบบขนาน
การติดต่อแบบอนุกรมอาจแบ่งตามรูปแบบการรับ-ส่งได้ 3 แบบ
การสื่อสารแบบทางเดียว (Simplex)
โดยผู้ส่งจะสามารถส่งข้อมูลไปให้ผู้รับได้อย่างเดียว
ส่วนผู้รับจะไม่สามารถโต้ตอบกลับมาได้
ข้อมูลจะถูกส่งไปในทิศทางเดียวเท่านั้น
เช่น วิทยุ, โทรทัศน์ เป็นต้น
การสื่อสารแบบสองทางเต็มอัตรา (Full-Duplex)
ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองทิศทางพร้อมกัน โดยผู้ส่งและผู้รับสามารถทำหน้าที่ทั้งส่งและรับข้อมูลพร้อมกัน เช่น โทรศัพท์, การ Upload และ
Download ข้อมูลพร้อมๆ กันในอินเตอร์เน็ต, การสนทนาแบบ Chat Room เป็นต้น
การสื่อสารแบบสองทางครึ่งอัตรา (Half-Duplex)
ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองทิศทาง แต่จะต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเดียวเท่านั้น
นั่นคือ ผู้ส่งและผู้รับสามารถทำหน้าที่ได้ทั้งส่งและรับข้อมูล แต่ไม่สามารถทำได้ในเวลาเดียวกัน
เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ, กระดานสนทนา (Webboard) , การส่ง E-mail เป็นต้น
ชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
การส่งสัญญาณแบบอะนาล็อก (Analog)
เป็นสัญญาณที่มีค่าต่อเนื่อง อยู่ในรูปแบบของคลื่น ซึ่งจะถูกส่งไปในรูปของสัญญาณไฟฟ้า มีการแปลงระดับสัญญาณ ขึ้น-ลง ตามขนาดของสัญญาณ (Amplitude) และมีความถี่ (Frequency) ที่เรียกว่า Hertz (Hz) เช่น การพูดทางโทรศัพท์
การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล (Digital)
เป็นสัญญาณที่มีค่าเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะถูกกำหนดค่าเป็น “0” หรือ “1” เท่านั้น และมีการกำหนดรหัสเอาไว้ เรียกว่า สัญญาณพัลส์ (Puse Signal)
การเปลี่ยนแปลงของระดับสัญญาณไม่มีความต่อเนื่อง ( สูง = 1 และ ต่ำ = 0 )
การประมวลผลกับการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่าย
สื่อกลาง หรือ ช่องทางในการสื่อสารข้อมูล (Medium)
สื่อกลางประเภทมีสาย
สายโคแอกเชียล (coaxial)
สามารถทนต่อการรบกวนของสัญญาณภายนอกได้ดีกว่าแบบสายคู่บิดเกลียว
( Twisted Pair ) แต่ความนิยมใช้งานน้อยกว่าแบบ Twisted Pair และราคาแพงกว่า
เช่น สายเคเบิลทีวี
เป็นสายเส้นกลม มีไส้กลางเป็นทองแดงหุ้มด้วยพลาสติก ชั้นถัดมาประกอบด้วยโลหะฟอยด์ที่ทอมาหุ้มเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน ชั้นนอกหุ้มพลาสติกอีกชั้น
เส้นใยนำแสง (fiber optic)
ประกอบด้วยส่วนกลางที่ทำด้วยแก้ว แท่งแก้ว หรือพลาสติก ซึ่งถูกล้อมรอบด้วยเส้นใย แล้วมีพลาสติกหุ้มชั้นนอกสุดเพื่อป้องกันการสูญเสียสูญหายของสัญญาณ
จะนำส่งสัญญาณโดยใช้แสง โดยจะเปลี่ยนจากสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นแสง
สัญญาณต่างๆ ภายนอกไม่สามารถรบกวนได้เลย ในขณะที่สายอื่นๆ สัญญาณจะอ่อนลงเรื่อยๆ เมื่อมีระยะทางไกลขึ้น ราคาจึงสูงมาก
ยากต่อการติดตั้งและดูแลรักษา ถ้าเกิดเสียหายหรือหัก การซ่อมแซมทำได้ลำบาก
สามารถส่งสัญญาณได้ในทิศทางเดียว ดังนั้นในการติดตั้งจึงต้องมี 2 เส้นคู่กัน
รับ 1 เส้น ส่ง 1 เส้น สามารถส่งข้อมูลได้ 100 Mbps จนกระทั่งถึง 2 Gbps ขึ้นอยู่กับชนิดของใยแก้วนำแสง
ดังนั้นจึงเหมาะกับ เน็ตเวิร์กที่ต้องการความปลอดภัยสูง และมีการส่งข้อมูลเป็นจำนวนมาก และเป็นระยะทางไกล
สายคู่บิดเกลียว (twisted pair)
สาย UTP : (Unshielded Twisted-Pair)
มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยลวดทองแดงที่มีฉนวนพลาสติกหุ้ม 2 เส้นนำมาพันเป็นเกลียว ทำให้สามารถลดเสียงรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ และ
ส่งสัญญาณได้ไม่เกิน 100 เมตร เช่น สายโทรศัพท์ , สาย LAN
สาย STP : (shielded Twisted-Pair)
เป็นสายคู่ตีเกลียวที่มีฉนวนโลหะลักษณะเป็นโลหะบางๆ ซึ่งช่วยป้องกันการรบกวนสัญญาณจากภายนอกได้ดีกว่าสาย UTP ในระยะทางประมาณ 100 เมตรเหมือนกัน แต่ไม่ค่อยยืดหยุ่นในการใช้สายเนื่องจากมีขนาดใหญ่ ติดตั้งยากพอสมควร และราคาแพงกว่าแบบ UTP จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม
สื่อกลางประเภทไร้สาย
ดาวเทียม (Satellite)
การส่งสัญญาณจากสถานีภาคพื้นดินไปยังดาวเทียม เรียกว่า การอัพลิงค์ (Uplinking)
สถานีดาวเทียมจะเดินทางด้วยความเร็วเท่ากับการหมุนของโลก
การส่งสัญญาณจากดาวเทียมไปยังสถานี ภาคพื้นดิน เรียกว่า การดาวน์ลิงค์ (Downlinking)
เนื่องจากสถานีอยู่สูงมาก จึงทำให้ส่งสัญญาณไปยังทุกจุดบนโลกที่เป็นเป้าหมาย
ข้อดี
ส่งข้อมูลได้ปริมาณมาก และมีความเร็วสูง
สถานีอบู่บนอวกาศ ห่างจากพื้นโลกประมาณ 22,000 ไมล์
ข้อเสีย
ค่าใช้จ่ายสูงมาก
ถูกดักจับสัญญาณได้ง่ายเช่นกัน
ไมโครเวฟ (Micro Wave)
สถานีต้องตั้งอยู่ในที่สูง เช่น บนตึกสูง , บนภูเขาสูง เป็นต้น เพื่อช่วยให้ส่งสัญญาณไปได้ไกล และลดจำนวนของสถานีส่ง
ข้อดี
สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง
ประหยัดค่าใช้จ่าย
ส่งสัญญาณเป็นทอดๆ จากสถานีหนึ่ง ไปยังอีกสถานีหนึ่ง
ครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณได้ ประมาณ25 - 30 ไมล์ (ประมาณ 40-48 กม.)
ใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุ
ข้อเสีย
ถูกดักจับสัญญาณได้ง่าย
ต้องไม่มีสิ่งใดมากีดขวางทางสัญญาณ (เส้นสายตา)
สัญญาณถูกรบกวรหรือแทรกแซงได้ง่าย
โปรโตคอล (Protocol)
TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
การทำงานภายใน IP Address ยังมีการแบ่งออกเป็นระดับชั้น (Class) ต่าง ๆ 5 Class คือ Class A, B, C, D และ E
Class A : หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 0.0.0.0-127.255.255.255 ซึ่งเหมาะสมสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถรองรับจะมีเครือข่ายได้ 126 เน็ตเวิร์ค และในแต่ละเครือข่ายสามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ประมาณ 16 ล้านเครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class A เป็น 120.25.2.3 หมายถึง เครือข่าย 120 หมายเลขเครื่อง 25.2.3
Class B : หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.0-191.255.255.255 จะมีเครือข่ายขนาด 16384 เน็ตเวิร์ค และจำนวนเครื่องลูกข่ายในเครือข่ายได้ 64,516 เครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class B เป็น 145.147.45.2 หมายถึง เครือข่าย 145.147 หมายเลขเครื่อง 45.2
Class C : หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 192.0.0.0-223.255.255.255 จะมีจำนวนเครือข่ายขนาด 2M+ เน็ตเวิร์ค และเครื่องลูกข่ายในแต่ละเครือข่ายได้ประมาณ 254 เครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class C เป็น 202.28.10.5 หมายถึง หมายเลขเครือข่าย 202.28.10 หมายเลขเครื่อง 5
Class D : เป็นการสำรองหมายเลข IP Address ช่วง 224.0.0.0-239.255.255.255 สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ซึ่งจะไม่มีการแจกจ่ายใช้งานทั่วไปสำหรับบุคคลทั่วไป
Class E : เป็นการสำรองหมายเลข IP Address หรือสงวนไว้ใช้ในอนาคต ช่วง 240.0.0.0-255.255.255.255 สำหรับการทดสอบและพัฒนา
Protocol Loopback
127.0.0.1 ส่งข้อมูลไปยัง Host หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวเอง
ไม่ออกไปนอกเครือข่าย ซึ่งจะถูกโพรเซสภายในเครื่องเท่านั้น
ใช้ทดสอบซอฟต์แวร์ที่ต้องส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย แต่ไม่ต้องการส่งข้อมูลออกไปรบกวนระบบเครือข่ายจริง ทำให้ลดความคับคั่งในเครือข่ายลงได้
IP Addressing
IP Address (หมายเลขไอพี) คือเลขที่บอกที่อยู่เฉพาะของโหนดหรือโฮสต์ที่อยู่ในเครือข่าย รวมถึงคอมพิวเตอร์และเราเตอร์ด้วย หมายเลขนี้จะเป็นที่อยู่ใน Layer 3 ซึ่งหมายเลขในเครือข่ายเดียวกันต้องไม่ซ้ำกัน อย่างไรก็ตามโฮสต์หนึ่งอาจจะมีหมายเลขไอพีได้มากกว่าหนึ่งเลขหมายก็ได้
เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เพื่อให้สามารถสื่อสารจากต้นทางไปยังปลายทางได้
สามารถค้นหาเส้นทางสื่อสารได้เองโดยอัตโนมัติ
OSI (Open System Interconnect)
ประมาณ ปี ค.ศ.1983 องค์กร ISO (International Organization for Standard)ได้ประกาศรูปแบบสถาปัตยกรรม OSI Model เพื่อเป็นมาตรฐานในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย โดยแบ่งการเชื่อมต่อเป็น 7 Layer
Layer7, Application Layer
-เป็นชั้นที่อยู่บนสุดของขบวนการรับส่งข้อมูล ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ โดยจะรับคำสั่งต่างๆจากผู้ใช้ส่งให้คอมพิวเตอร์แปลความหมาย และทำงานตามคำสั่งที่ได้รับในระดับโปรแกรมประยุกต์
-เช่น แปลความหมายของการกดปุ่มเมาส์ให้เป็นคำสั่งในการก็อปปี้ไฟล์ หรือดึงข้อมูลมาแสดงผลบนหน้าจอเป็นต้น
-ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้คือ Web Browser, HTTP, FTP, Telnet, WWW, SMTP, SNMP, NFS เป็นต้น
เน็ตเวิร์กการ์ด (Network Interface Card)
เป็นอุปกรณ์ที่ถูกติดตั้งในคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมกับเคเบิ้ลในระบบเน็ตเวิร์ก ทำหน้าที่ รับและส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์กับเน็ตเวิร์กโดยผ่านสายเคเบิ้ล จะแปลงสัญญาณที่ได้รับจากเคเบิ้ลให้เป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ และแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถเดินทางไปในสายเคเบิ้ลได้
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System)
รูปแบบของระบบเครือข่าย(Network Topologies)
โทโปโลยีแบบบัส (The Bus Topology)
การเพิ่มหรือลดอุปกรณ์เครือข่ายนั้นจะมีผลกับ backbone
โครงสร้างมีการเชื่อมต่อแบบ Multipoint นั่นคือ คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ทั้งหมดจะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพียงสายเดียวและจะใช้งานสายหลักนี้ร่วมกันในการส่งสัญญาณต่างๆ ซึ่งสายสื่อสารหลักนี้ เรียกว่า backbone
โทโปโลยีแบบรูปวงแหวน (The Ring Topology)
โครงสร้างแบบนี้ค่อนข้างจะติดตั้งและแก้ไขดัดแปลงง่าย เพราะอุปกรณ์แต่ละตัวจะเชื่อมต่อเฉพาะกับอุปกรณ์ที่อยู่ติดกันเท่านั้น ดังนั้นการเพิ่มหรือลดอุปกรณ์ก็ไม่กระทบกับทั้งเครือข่าย
โทโปโลยีแบบรูปดาว (The Star Topology)
เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์แต่ละตัวเข้ากับ Hub ซึ่งคอยเป็นศูนย์กลางในการควบคุมการติดต่อและกระจายสัญญาณข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ในเครือข่ายทั้งหมด
อุปกรณ์เครือข่าย
บริดจ์ (Bridge)
ทำหน้าที่คล้ายกับ repeater แต่จะมีความฉลาด มากกว่า เพราะ Bridge จะเลือกสรรข้อมูลและส่งต่อ เฉพาะข้อมูลที่เป็นของอุปกรณ์เครือข่ายเท่านั้น
ทำให้สามารถลดปริมาณการจราจรที่คับคั่งบนเครือข่ายได้ ทำให้เครือข่ายมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ใช้เชื่อมเครือข่ายย่อย 2 เครือข่ายเข้าด้วยกัน ( อาจเป็นเครือข่ายประเภทเดียวกัน หรือ ต่างประเภทกันก็ได้ เช่น เชื่อมเครือข่าย Ethernetกับ Token Ring เข้าด้วยกัน )
ฮับ (Hub)
เป็นอุปกรณ์หลักของเครือข่ายที่มีโครงสร้างแบบดาว (Star Topology) ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
ทำหน้าที่ กระจายสัญญาณ ส่งต่อไปให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับ Hub อยู่
การนำ Hub มาเพิ่มในระบบเครือข่าย ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ ซึ่งเป็นวิธีขยายเครือข่ายที่นิยมมากที่สุดวิธีหนึ่ง
ใช้เชื่อมเครือข่ายประเภทเดียวกันเท่านั้น
รีพีตเตอร์ (Repeater)
มีหน้าที่เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อ สำหรับขยายสัญญาณให้กับเครือข่าย
ปกติเมื่อสัญญาณถูกส่งออกไปตามสายสื่อสาร แรงดันของสัญญาณจะอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ เนื่องจากสายมีความต้านทาน ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณไปได้ในระยะทางที่ไกล
ดังนั้น Repeater จะทำหน้าที่ขยายแรงดันของสัญญาณทำให้สัญญาณสามารถถูกส่งผ่านสายสื่อสารไปได้ในระยะทางที่ไกลขึ้น แต่เป็นการส่งข้อมุลออกไปโดย
ไม่สนใจข้อมูลว่าเป็นของเครือข่ายไหน
สวิตซ์ (Switch)
นิยมเรียกว่า อีเธอร์เนตสวิตซ์ (Ethernet Switch) จะเป็นบริดจ์แบบหลายช่องทาง (Multiport Bridge) ที่นิยมใช้ในระบบเครือข่าย LAN แบบ Ethernet เพื่อใช้เชื่อมต่อเครือข่ายหลายๆ เครือข่าย (Segment) เข้าด้วยกัน
สวิตซ์จะช่วยลดการจราจรระหว่างเครือข่ายที่ไม่จำเป็น (เลือกส่งข้อมูลถึงผู้รับเท่าที่จำเป็นเท่านั้น) และเนื่องจากการเชื่อมต่อแต่ละช่องทาง กระทำอยู่ภายในตัวสวิตซ์เอง
ทำให้สามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลในแต่ละเครือข่าย (Switching) ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริดจ์จำนวนหลายๆ ตัวเชื่อมต่อกัน
นอกจากนี้ สวิตซ์ยังสามารถใช้เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเข้ากับตัวสวิตซ์ ซึ่งจะทำให้เครื่องๆ นั้น สามารถติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ด้วยความเร็วเต็มความ สามารถของช่องทางการสื่อสารข้อมูลกับเครื่องอื่นๆ เลย
เกตเวย์ (Gateway)
ทำหน้าที่ เชื่อมต่อ และ แปลงข้อมูลระหว่างเครือข่ายที่ต่างกัน ทั้งในส่วนของโปรโตคอลแลสถาปัตยกรรม
เช่น เครือข่ายที่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) อาจเชื่อมต่อกับระบบเมนเฟรม (Mainrrame)
สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและขยายเครือข่ายให้มีขนาดใหญ่
เราเตอร์ (Router)
สามารถทำการกรองข้อมูลที่ระบุไว้ว่าให้ผ่านไปได้เท่านั้น ทำให้ลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งบนเครือข่ายและเพิ่มระดับความปลอดภัยของข้อมูลในเครือข่าย(ป้องกันการ broadcast packet จากเครื่องหนึ่งไม่ให้ข้ามมายังอีกเครื่องหนึ่ง )
นอกจากนี้ Router ยังมีความฉลาดในการค้นหาและตัดสินใจเลือกเส้นทางในการส่งข้อมูลที่เหมาะสมและดีที่สุดได้โดยอัตโนมัติ
เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่าย ซึ่งมีความสามารถในการจัดการเครือข่ายที่ซับซ้อนได้
บริการหลักของ (NOS : Network Operating System)
บริการรักษาความปลอดภัย (Security Services)
บริการอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต (Internet/Intranet Services)
บริการดูแลและจัดการระบบ (Management Services)
บริการมัลติโพรเซสซิ่งและคลัสเตอริ่ง (Multiprocessing & Clustering Services
บริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์ (File and Print Services)
ประเภทของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : MAN)
มักเกิดจากการเชื่อมโยงเครือข่าย LAN ในบริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน
เช่น เครือข่ายของบริษัทที่มีสาขาต่างๆ อยู่ในแต่ละจังหวัด และ การแพร่ภาพข้อมูลด้วยระบบ Cable TV เป็นต้น
เป็นเครือข่ายสื่อสารที่ครอบคลุมพื้นที่ในระยะทางที่ไกลกว่า LAN ซึ่งอาจจะเป็นการเชื่อมต่อกันระหว่างเมืองกับเมืองหรือระหว่างจังหวัดกับจังหวัด
ระบบเครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN)
เป็นเครือข่ายสื่อสารที่ครอบคลุมพื้นที่ในระยะทางที่ไกลมาก ในระดับประเทศ ระดับทวีป หรือทั่วทั้งโลก โดยส่วนมากแล้ว WAN นั้น จะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย LAN หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้สามารถส่งข้อมูลและใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ในระยะทางที่ไกลขึ้น
สำหรับการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย WAN นั้นอาจจะทำได้โดยผ่านระบบโทรศัพท์ สายใยแล้วนำแสง (Fiber Optic) ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม เป็นต้น
ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN)
เช่น การแชร์ไฟล์ข้อมูล , การแชร์ฐานข้อมูล , การแชร์เครื่อง Print ร่วมกัน เป็นต้น
โดยอาจการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ภายในสำนักงานที่อยู่ในตึกเดียวกันหรือระหว่างตึกที่ใกล้เคียงกันเข้าเป็นเครือข่าย
เป็นเครือข่ายสื่อสารในระยะใกล้ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกันที่มีระยะทางไม่เกิน 1 ไมล์
คอมพิวเตอร์
ระบบการประมวลผลข้อมูลแบบกระจาย
มีกระจายภาระการประมวลผลไปยังเครื่องต่างๆที่เชื่อมต่อกันอยู่เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และนำผลลัพธ์ที่ได้มารวมกัน ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวม
ลดจำนวนข้อมูลที่ส่งผ่านเครือข่าย
ระบบการประมวลผลข้อมูลแบบไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์
PC ติดต่อและรับข้อมูลจาก Server มาแสดงผล
รับหน้าที่ในส่วนของการโต้ตอบและรับข้อมูลจากผู้ใช้ด้วย
แบ่งการประมวลผลมาทำงานที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC)
ระบบการประมวลผลข้อมูลแบบมีศูนย์กลาง
การประมวลผลทางไกล (Teleprocessing)
การประมวลผลข้อมูลทั้งหมดจะเกิดขึ้นที่เครื่องหลักเพียงเครื่องเดียว