Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่าย และระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)…
รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่าย และระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
ลักษณะการเชื่อมโยงเครือข่าย
แบบจุดต่อจุด
ข้อดี
มีความปลอดภัยในข้อมูล
ความเร็วสูง
เป็นการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เท่านั้น
ข้อเสีย
จำนวนโหนดมากต้องใช้สายมากขึ้น
ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่
แบบหลายจุด
ข้อเสีย
ต้องมีกลไกควบคุมการส่งข้อมูล
หากสายส่งข้อมูลขาดจะส่งผลกระทบต่อเครือข่าย
ไม่เหมาะกับการส่งข้อมูลครั้งละมากๆ
ข้อดี
ประหยัดสายส่งข้อมูล
สามารถเพิ่มโหนดได้ทันที
เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้เส้นทาง
หรือลิงค์เพื่อการสื่อสารร่วมกัน
รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่าย(topology)
โทโปโลยีแบบดาว (Star Topology)
โทโปโลยีแบบดาว (Star Topology) เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB)
ข้อดี
การวิเคราะห์จุดเสียบนเครือข่ายทำได้ง่ายกว่า
มีความคงทนสูงกว่าแบบบัส
ข้อเสีย
สิ้นเปลืองสายเคเบิล
พอร์ตเชื่อมต่อบนฮับมีจำนวนจำกัด
หากอุปกรณ์ฮับเสียหาย เครือข่ายจะหยุดทำงานทันที
โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology)
เป็นรูปแบบที่คอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่าน
สายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่าบัส (BUS) หรือ แบ็คโบน (Backbone)คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก
ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ
ข้อดี
มีรูปแบบโครงสร้างไม่ซับซ้อน
การเพิ่มโหนดสามารถเพิ่มเข้ากับสายแกนหลักได้ทันที
ประหยัดสายส่งข้อมูล
ข้อเสีย
หากสายแกนหลักขาด เครือข่ายทั้งระบบจะหยุดการทำงาน
ตรวจสอบจุดเสียค่อนข้างยาก
แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อบนเครือข่ายจะต้องอยู่ห่างกันตามข้อกำหนด
โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)
เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ
เครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน
ข้อดี
ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลายๆ เครื่องพร้อมๆ กัน
ไม่มีการชนกันของสัญญาณ
ส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้
เสียเวลาจากการที่รีพีตเตอร์(Repeater) จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลทุกข้อมูล
โทโปโลยีแบบเมช (Mesh Topology)
เป็นรูปแบบที่ถือว่าป้องกันการผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุดมีการทำงานโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เพื่อที่จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทุกเครื่อง
ข้อดี
ลดปัญหาการจราจรภายในเครือข่าย
ถ้ามีสายเส้นหนึ่งเส้นใดเสียหาย จะไม่ส่งผลต่อระบบ
มีความปลอดภัยสูง
ตรวจสอบความถูกต้องได้ง่าย
ข้อเสีย
ต้องใช้สายเคเบิลจ านวนมากในการต่อ
มีข้อจำกัดในการนำไปต่อกับโทโปโลยีอื่น ๆ
ยากต่อการติดตั้ง
ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Networks: LAN)
อีเทอร์เน็ต (Ethernet)
10Base5
ส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์
ความเร็วในการส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาที
ใช้สายโคแอกเชียลแบบหนา รหัส RJ-8
ระยะไกลสุดในการเชื่อมโยงต่อหนึ่งเซกเมนต์คือ 500 เมตร
แต่ละโหนดที่ติดตั้งบนสาย ต้องห่างกัน 2.5 เมตร
ภายในหนึ่งเซกเมนต์ เชื่อมต่อโหนดได้ไม่เกิน 100 เครื่อง และหากใช้รีพีตเตอร์เพื่อเพิ่มระยะทาง ก็จะสามารถขยายได้สูงสุด 5 เซกเมนต์ รวมเป็นระยะทาง 2,500 เมตร
ใช้การ์ดเครือข่ายที่มีซ็อกเก็ตแบบ AUI
ใช้เทอร์มิเนเตอร์แบบ N-Series ที่มีความต้านทานทางไฟฟ้า 50 โอห์ม
10Base2
ส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์
ความเร็วในการส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาที
ใช้สายโคแอกเชียลแบบบาง รหัส RG-58 A/U
ระยะไกลสุดในการเชื่อมต่อหนึ่งเซกเมนต์คือ 185 เมตร
แต่ละโหนดที่ติดตั้งต้องห่างกันอย่างน้อย 0.5 เมตร
ภายในหนึ่งเซกเมนต์เชื่อมต่อโหนดได้ไม่เกิน 30 เครื่อง และหากใช้รีพีตเตอร์เพื่อเพิ่มระยะทาง ก็จะสามารถขยายได้สูงสุด 5 เซกเมนต์ รวมระยะทางประมาณ 1,000 เมตร
ใช้การ์ดเครือข่ายที่มีซอกเก็ตแบบ BNC
ใช้เทอร์มิเนเตอร์ที่มีความต้านทานทางไฟฟ้า 50 โอห์ม
10BaseT
ส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์
ความเร็วในการส่งข้อมูล 10 เมกกะบิตต่อวินาที
ใช้สายเคเบิลชนิดยุทีพี รหัส CAT-3 หรือ CAT-5
มีอุปกรณ์ฮับเป็นศูนย์กลางรับส่งข้อมูลบนเครือข่าย
ระยะสูงสุดในการเชื่อมโยงต่อหนึ่งเซกเมนต์ หรือจากฮับไปยังโหนดยาวได้ไม่เกิน 100 เมตร
ภายในหนึ่งเซกเมนต์เชื่อมต่อโหนดได้หลายร้อยเครื่อง
ใช้การ์ดเครือข่ายที่มีซอกเก็ตแบบ RJ-45
ไอบีเอ็มโทเคนริง (Token Ring)
ในช่วงเวลาหนึ่งจะมีเพียงโหนดเดียวที่สามารถส่งข้อมูลในขณะนั้น นั่น
ก็คือโหนดที่ครอบครองโทเค็น โดยโทเค็นจะไปพร้อมกับข้อมูลที่ส่งไปยังโหนดภายในวงแหวน หากโหนดใดได้รับข้อมูลพร้อมรหัสโทเค็น แล้วตรวจสอบพบว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ส่งมายังตน ก็จะส่งทอดไปยังโหนดถัดไป
ภายในวงแหวนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงโหนดปลายทางที่ต้องการ
ไม่ก่อให้เกิดการชนกันของกลุ่มข้อมูลเลย
เอฟดีดีไอ (Fiber Distributed Data Interface: FDDI)
วงแหวนปฐมภูมิ (Primary Ring)
วงแหวนหลักด้านนอก ซึ่งเป็นสายส่งข้อมูลหลักภายในเครือข่าย โดยรหัสโทเค็นจะวิ่งรอบวงแหวนทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
วงแหวนทุติยภูมิ (Secondary Ring)
วงแหวนสำรองที่อยู่ด้านในโทเค็นที่อยู่วงแหวนด้านในจะวิ่งในทิศทางตรงกันข้ามกับวงแหวนด้านนอก โดยวงแหวนทุติยภูมิจะถูกใช้งานเมื่อวงแหวนปฐมภูมิเกิดปัญหา
ไวเลสแลน (Wireless LAN)
เป็นระบบที่ใช้การรับส่งข้อมูลผ่านทางคลื่นวิทยุโดยส่งผ่านทางอากาศ ไม่ต้องใช้สายสัญญาณใดๆ
เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการความสะดวกในการเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ มีความคล่องตัวสูง คลื่นวิทยุมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวาง
มาตรฐาน IEEE
มาตรฐาน 802.11b
รับส่งข้อมูลได้สูงถึง 11 เมกกะบิตต่อ
วินาที ใช้คลื่นความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)
มาตรฐาน 802.11g
รรับส่งข้อมูลสูงถึง 54 เมกกะบิตต่อวินาที
ใช้คลื่นความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)
มาตรฐาน 802.11a
รับส่งข้อมูลได้สูงถึง 54 เมกกะบิตต่อวินาทีใช้คลื่นความถี่ที่ 5 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)