Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเร่งคลอด (Induction of labor) (กรณีที่ควรเร่งคลอด (คุณแม่ตั้งครรภ์เกิน…
การเร่งคลอด (Induction of labor)
กรณีที่ควรเร่งคลอด
คุณแม่ตั้งครรภ์เกิน 40 สัปดาห์ (Postterm pregnancy) เป็นกรณีที่พบได้บ่อยที่สุด เพราะถ้าปล่อยไว้รกจะเสื่อมจนไม่สามารถนำอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงทารกในครรภ์ได้อีกต่อไป จึงอาจทำให้ขาดออกซิเจนและอาหารได้
คุณแม่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาลมาก เพราะถ้ารอให้เจ็บครรภ์คลอดก่อนแล้วค่อยเดินทางมาโรงพยาบาลเกรงว่าอาจจะไม่ทันกาล ซึ่งอาจทำให้มีการคลอดระหว่างทางได้
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด (Premature rupture of membranes) หรือก่อนที่อายุครรภ์จะครบ 37 สัปดาห์ เพราะถ้าปล่อยให้ตั้งท้องไปนาน ๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรือเด็กมีความพิการแต่กำเนิดได้
ทารกในครรภ์เติบโตช้าหรือมีน้ำหนักตัวน้อย (Severe fetal growth restriction) เนื่องจากคุณแม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเลือด โรคติดเชื้อต่าง ๆ หรือสภาพมดลูกไม่สมบูรณ์, คุณแม่ที่สูบบุหรี่จัด และคุณแม่รับประทานอาหารที่ไม่เพียงพอและเหมาะสมในขณะตั้งครรภ์ ในกรณีเหล่านี้คุณหมออาจตัดสินใจเร่งคลอดเพื่อนำเด็กออกมาเลี้ยงข้างนอกจะปลอดภัยกว่า
ความดันโลหิตสูง (Gestational hypertension) หรือ ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia, Eclampsia) เป็นภาวะที่ทำให้เส้นเลือดทั่วร่างกายหดรัดตัว ทำให้ปริมาณของเลือดที่ส่งไปเลี้ยงจึงลดน้อยลง ถ้าปล่อยไว้อาจทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้ เพราะเนื้อเยื่อรกบางส่วนขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง
คุณแม่เกิดการอักเสบติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ (Chorioamnionitis)
ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Abruptio placenta)
ภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios)
การตั้งครรภ์แฝดที่มีภาวะแทรกซ้อน ที่อาจทำให้ทารกในครรภ์ไม่แข็งแรง หรือเสี่ยงต่อชีวิตของคุณแม่และทารก
ทารกเสียชีวิตในครรภ์ (Fetal death) หากปล่อยให้ทารกที่เสียชีวิตแล้วยังอยู่ในครรภ์และยังไม่หลุดออกมาเองนานเกินไป จะทำให้คุณแม่เกิดภาวะลิ่มเลือดไม่แข็งตัวได้ เพราะอาจมีส่วนเสื่อมสลายของลูกหลุดเข้าไปในกระแสเลือดได้
การเร่งคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ
การเดิน เป็นวิธีที่ช่วยให้คุณแม่เจ็บท้องคลอดได้เร็วขึ้น
การเล่นลูกบอล ให้คุณแม่นั่งบนลูกบอลแล้วโยกตัวไปมาเบา ๆ ซึ่งท่าดังกล่าวจะช่วยให้ทารกมีการเคลื่อนไหวลงสู่ช่องเชิงกรานได้เร็วยิ่งขึ้น
การมีเพศสัมพันธ์ การร่วมเพศอย่างนุ่มนวลในท่าที่ปลอดภัยจะช่วยให้กล้ามเนื้อช่องคลอดเกิดการหดรัดตัวได้ดีขึ้น
การกระตุ้นบริเวณเต้านมรวมทั้งหัวนม (Breast stimulation) โดยการนวดคลึงหรือดูดจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกซีโตซินทำให้มดลูกหดรัดตัวดีขึ้น
วิธีเร่งคลอด
การเจาะถุงน้ำคร่ำ (Amniotomy) ในกรณีที่ปากมดลูกขยายมากเพียงพอแล้วแต่ถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก หมอจะเจาะถุงน้ำคร่ำให้เมื่อปากมดลูกเปิดได้ประมาณ 3 เซนติเมตร
การเซาะแยกถุงน้ำคร่ำ หรือ การกวาดปากมดลูก (Membrane stripping, Membrane sweeping) ถือเป็นวิธีการเร่งคลอดอีกวิธีที่ทำได้ง่าย มีความปลอดภัยและได้ผลดี สูติแพทย์จะใช้นิ้วกวาดปากมดลูกเพื่อค่อย ๆ ขยายปากมดลูกและกระตุ้นให้เริ่มมีการเจ็บครรภ์คลอด
ยาเร่งคลอด (ฮอร์โมนออกซีโตซิน – Oxytocin) เป็นยาที่มีคุณสมบัติช่วยให้มดลูกบีบตัว ทำให้การคลอดดำเนินไปตามปกติ ไม่เนิ่นนาน
การใช้ฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) นับเป็นวิธีล่าสุดที่ใช้ในการเร่งคลอด
ข้อบ่งห้ามในการชักนำการคลอด
ข้อบ่งห้ามโดยสมบูรณ์
Placenta previa
Vasa previa
Funic presentation
Prolapsed cord
Transverse lie
CPD
Prior classical cesarean section
Previous full thickness myomectomy
Active genital herpes infection in mother
Fetal distress , nonreassuring fetal status
Hypersensitivity to cervical ripening agent
ข้อบ่งห้ามโดยอนุโลม
Grand multiparity
Multifetal pregnancy
Breech presentation
Previous low transverse ceasarean section
Invasive cervical cancer
Induction of labor
การกระตุ้นให้เจ็บครรภ์คลอด โดยทำให้มดลูกเกิดการหดรัดตัวและหรือทำให้ปากมดลูกนุ่ม ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีการเจ็บครรภ์คลอดตามธรรมชาติเกิดขึ้น
Augmentation of labor
การส่งเสริมการเจ็บครรภ์คลอดที่มีอยู่ก่อนแล้วให้มีการหดรัดตัวของมดลูกที่ดีขึ้น
Uterine tachysystole
มีการหดรัดตัวของมดลูกมากกว่า 5 ครั้ง ในเวลา 10 นาที เฉลี่ยในช่วงระยะเวลา 30 นาที
Uterine hypertonus
การที่มดลูกมีการหดรัดตัวนานกว่า 2 นาที ต่อ 1 ครั้ง