Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การท้องนอกมดลูก(Ectopic pregnancy) (การป้องกันการท้องนอกมดลูก…
การท้องนอกมดลูก(Ectopic pregnancy)
หมายถึง
การที่ไข่เดินทางมาปฏิสนธิกับตัวอสุจิที่ท่อนำไข่ ซึ่งโดยปกติแล้วแทนที่ตัวอ่อนจะต้องเดินทางไปฝังตัวที่ผนังด้านในของโพรงมดลูก แต่ตัวอ่อนนี้กลับไปฝังตัวอยู่บริเวณอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ในโพรงมดลูก ก็จะกลายเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูก เนื่องจากตำแหน่งที่ฝังตัวนั้นไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตตามปกติ ทารกจึงไม่สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้
ภาวะแทรกซ้อนของการท้องนอกมดลูก
ภาวะแทรกซ้อนในระยะเฉียบพลัน
อาจทำให้ปีกมดลูกอักเสบ, ระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ, อาจเกิดการตกเลือดในช่องท้องจนช็อกและเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว
ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก (เพราะการผ่าตัดปีกมดลูก อาจทำให้เกิดพังผืดและท่อรังไข่ตีบตันได้) หรือเป็นหมัน, มีโอกาสเกิดภาวะท้องนอกมดลูกซ้ำได้อีกในครรภ์ต่อไป (โอกาสมากกว่าคนทั่วไป 7-13 เท่า), มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง
การป้องกันการท้องนอกมดลูก
มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ด้วยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
หากติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ควรรีบไปพบแพทย์และรักษาโรคให้หายขาด เพราะการซื้อยามารับประทานเอง บ่อยครั้งยังไม่เพียงพอ เนื่องจากอาจเกิดเป็นการติดเชื้อเรื้อรังและทำให้เกิดพังผืดในอุ้งเชิงกรานได้
หากเป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบให้รีบพบแพทย์เพื่อรักษา
ควรงดการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง
สาเหตุ
เคยมีการติดเชื้อที่ท่อนำไข่และอุ้งเชิงกรานซึ่งมีโอกาสที่จะทำให้ท่อนำไข่อุดตัน
มีแผลเป็นหรือพังผืดดึงรั้งในช่องท้องกับรังไข่และท่อนำไข่ เช่น การเป็นโรคเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญนอกโพรงมดลูก (endometriosis) ปฏิกิริยาแผลเป็นจากการผ่าตัด หรือเคยเกิดการอักเสบในอุ้งเชิงกราน ทำให้การเคลื่อนตัวของตัวอ่อนเป็นไปไม่สะดวก
คนที่เคยรับการผ่าตัดที่ท่อนำไข่ ไม่ว่าจะเป็นการทำหมันแล้วบังเอิญเกิดการต่อกลับมาเองได้ตามธรรมชาติ หรือการผ่าตัดแก้ไขการอุดตันของท่อนำไข่เพื่อช่วยให้มีลูกได้
คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสท้องนอกมดลูกสูงกว่าคนปกติมากถึง 5 เท่า อาจเป็นเพราะนิโคตินไปกระตุ้นให้ท่อนำไข่บีบรัดตัวทำให้ตีบตัน ยากแก่การที่ตัวอ่อนจะเดินทางโดยสะดวก
การใช้ยาบางอย่าง เช่น ยากระตุ้นการตกไข่ หรือการใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน
การรักษา
การใช้ยา สิ่งสำคัญต้องรู้ว่าการท้องนอกมดลูกไม่อาจจะทำให้ตัวอ่อนเติบโตต่อไป และไม่สามารถย้ายตัวอ่อนไปฝังตัวใหม่ให้ถูกที่ถูกทางในโพรงมดลูกได้ ดังนั้นถึงแม้จะวินิจฉัยพบได้เร็วตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ก็จำเป็นต้องสละตัวอ่อนทิ้งเพียงอย่างเดียว โดยทางเลือกที่จะใช้ยา methotrexate แทนการผ่าตัดยังคงทำได้ ทำให้มันฝ่อลง พอจะช่วยรักษาสภาพของท่อนำไข่ไว้เพื่อการตั้งครรภ์ครั้งหน้าได้
โดยการผ่าตัด ท้องนอกมดลูกที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดรักษา แต่การจะตัดมากน้อยแค่ไหน เก็บซ่อมแซมท่อนำไข่และรังไข่ได้ดีขนาดไหน ก็ขึ้นกับสภาพความเสียหายที่มันเกาะหรือการแตกของท่อนำไข่นั้น
ถ้ารังไข่หรือท่อนำไข่ที่แตกมีความเสียหายมาก ก็มักจะตัดท่อนำไข่ออกไปพร้อมๆ กับตัวอ่อนเลย
ถ้าสภาพท่อนำไข่ยังดีอยู่ไม่แตกออก การพยายามรีดเอาตัวอ่อนออกมาโดยเก็บท่อนำไข่ไว้ก็อาจทำได้
แนวความคิดของการรักษานั้นคือ พยายามเก็บท่อนำไข่และรังไข่ไว้เพื่อการตั้งท้องในครั้งหน้า แต่ถ้ามีลูกพอเพียงแล้ว การตัดเอาส่วนที่มีการตั้งท้องนอกมดลูกออกก็จะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด
การผ่าตัด
การผ่าตัดเปิดหน้าท้องตามปกติ ถ้าคนไข้เสียเลือดมาก หรือช็อก การผ่าตัดโดยเปิดแผลกว้างจะเป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นในการหยุด เลือด ซึ่งย่อมสำคัญต่อการรักษาชีวิตไว้ได้มากกว่า
การใช้กล้อง laparoscope ผ่านรูเล็กๆ ทางหน้าท้อง ซึ่งจะใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลน้อยลงและเจ็บแผลหลังผ่าตัดน้อยลง
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นท้องนอกมดลูก?
ตรวจปัสสาวะพบฮอร์โมนที่บ่งว่ามีการตั้งครรภ์ ซึ่งจะพบได้เมื่อตัวอ่อนเริ่มฝังตัวนั้นเอง แต่บางครั้งก็มีข้อจำกัดที่ผลตรวจเป็นลบ ซึ่งไม่ได้แปลว่าไม่ตั้งครรภ์ เพียงแต่ตรวจไม่พบฮอร์โมนที่บอกว่าตั้งครรภ์จากการแท้งหรือตัวอ่อนไม่พัฒนา แล้วจึงทำให้ระดับฮอร์โมนน้อยจนตรวจไม่พบในปัสสาวะได้
ตรวจอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดหรือหน้าท้องส่วนล่าง เพื่อดูว่ามีการตั้งครรภ์ในโพรงมดลูกหรือที่ส่วนไหน แต่ข้อจำกัดก็คือ ช่วงก่อนสัปดาห์ที่ 5 หากทำอัลตราซาวนด์จะยังไม่เห็นถุงน้ำที่บ่งบอกว่ามีการตั้งครรภ์ จะเห็นได้เร็วที่สุดต้องหลัง 5 สัปดาห์ขึ้นไปแล้ว
ตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมน beta-HCG ก็จะช่วยได้ถ้าฮอร์โมนอยู่ในระดับที่บอกว่าตั้งครรภ์ แต่การตรวจครั้งเดียวก็ยังบอกไม่ได้ว่าเป็นท้องแบบไหน ต้องตรวจติดตามทุก 2 วัน เพื่อดูระดับถ้าสูงขึ้นเกินกว่า 2 เท่าตัวของแต่ละครั้งที่ผ่านมา ก็น่าจะไม่มีปัญหาการแท้ง แต่ถ้ามันสูงขึ้นน้อยกว่า 2 เท่าตัวหรือลดลง ก็แปลว่าน่าจะมีปัญหาเรื่องการเจริญเติบโตของตัวอ่อน เช่น แท้งหรือท้องนอกมดลูกได้ ไม่อาจฟันธงว่าเป็นท้องนอกมดลูกเพียงอย่างเดียว
ส่องกล้องทางช่องท้อง (laparoscopy) เป็นการส่องกล้องผ่านช่องท้องเข้าไปดูว่ามีปัญหาเช่นไร ท้องนอกมดลูกที่จุดไหน และทำการผ่าตัดแก้ไขไปด้วยได้เลย
ใช้เข็มเจาะในช่องคลอด (culdocentesis) เพื่อตรวจพิสูจน์ว่ามีการตกเลือดในช่องท้องจริง เพราะบางครั้งสิ่งที่อยู่ในช่องท้องที่ทำให้มีอาการและผลการตรวจร่างกาย คล้ายกันอาจเป็นจากหนองหรือเซรั่มก็ได้