Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตั้งครรภ์เกินกำหนด(Postterm pregnancy) (การวินิจฉัย (ประวัติระดูครั้งก่…
การตั้งครรภ์เกินกำหนด(Postterm pregnancy)
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 42 สัปดาห์เต็ม (294 วัน) หรือมากกว่า โดยเริ่มนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย (Last menstrual period : LMP)
ความสำคัญของการตั้งครรภ์เกินกำหนด
ปัญหาจากรกเสื่อมสภาพ (Placental dysfunction)
พบปัญหารกเสื่อมสภาพได้บ่อยขึ้นเมื่ออายุครรภ์มากขึ้นโดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์ 41 สัปดาห์เป็นต้นไปซึ่งอาจจะพบปัญหาการขาดออกซิเจนในทารกบางรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างคลอด ซึ่งแสดงออก คือ มีลักษณะ fetal distress จาก late deceleration
ปัญหาจากน้ำคร่ำน้อย (ollgohydramnios)
ปริมาณน้ำคร่ำที่ลดลงเป็นผลจากเลือดที่ไปเลี้ยงที่ไตทารกลดลง(15)จึงทำให้การสร้างปัสสาวะจากทารกลดลงและส่งผลกระทบซึ่งเป็นปัญหาหลักที่สำคัญในครรภ์เกินกำหนดคือเกิดการกดสายสะดือทารกได้ง่ายขึ้นทั้งก่อนระยะเจ็บครรภ์และยิ่งมีความสำคัญยิ่งขึ้นในระยะที่เจ็บครรภ์เนื่องจากมีการบีบตัวของมดลูกด้วยโดยที่พบเสียงหัวใจทารกเป็นแบบ variable deceleration หรือ prolonged deceleration ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ที่พบบ่อยเพื่อผ่าตัดคลอดเนื่องจากทารกเครียด(fetal distress)
ปัญหาจากขี้เทาปนในน้ำคร่ำ (Meconlum stained amniotic fluid) และการสำลักขี้เทา (Meconlum aspiration syndrome)
ภาวะขาดออกซิเจนในทารก (hypoxia)
ความสมบูรณ์พร้อมของระบบทางเดินอาหารในทารก
การควบคุมของระบบประสาท (vaginal stimulation) อันเนื่องมาจากการกดสายสะดือ ทารกชั่วคราว และส่งผลให้เกิดการบีบตัวของลำไส้
ปัญหาด้านการเจริญเติบโตของทารก(Fetal growth restrriction )
เมื่อทารกอยู่ในครรภ์นานก็อาจเกิดการชะงักการเจริญเติบโตได้จากรกเสื่อมสภาพ ซึ่งครรภ์เกินกำหนดพบได้ร้อยละ 4 และเพิ่มอัตราตายปริกำเนิด ในบางส่วนทารกที่อยู่ในครรภ์นานอาจเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งพบได้ร้อยละ 11.2 ส่งผลให้คลอดยาก คลอดติดขัดได้ เพิ่มหัตถการทางสูติศาสตร์ ซึ่งเพิ่มอันตรายต่อทั้งมารดาและทารก
ปัญหาอื่น ๆ ต่อทารก
อุณหภูมิกายต่ำ (hypothermia)
ภาวะขาดน้ำ (hypovolemia)
น้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia)
ภาวะเลือดเป็นกรด (metabolic acidosis)
ปัญหาต่อมารดา
เพิ่มอัตราการเร่งคลอด การผ่าตัดคลอดอย่างมีนัยสำคัญ
การวินิจฉัย
ประวัติระดูครั้งก่อนสุดท้าย ความสม่ำเสมอของระดู
ประวัติการคุมกำเนิด
ประวัติการฝากครรภ์ตั้งแต่ระยะแรก
การตรวจภายในเพื่อประเมินขนาดมดลูกในไตรมาสแรก
การตรวจภายในเพื่อประเมินขนาดมดลูกในไตรมาสแรก
การตรวจปัสสาวะทดสอบการตั้งครรภ์ให้ผลบวกในช่วงแรกที่เริ่มขาดระดู
การตรวจอัลตราซาวน์ เพื่อประเมินอายุครรภ์โดยเฉพาะอายุครรภ์น้อย ๆ
ประวัติทารกดิ้นครั้งแรก
สาเหตุ
ทารกที่เป็น anencephaly
ทารกที่มีภาวะต่อมหมวกไตฝ่อ
ทารกที่ไม่มีต่อมใต้สมอง
Placental sulfates deficiency
การตั้งครรภ์ในช่องท้อง
ปัจจัยเสี่ยงที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีโอกาสคลอดเกินกำหนด
คุณแม่จำประวัติประจำเดือนได้ไม่แม่นยำ จนทำให้เกิดการคำนวณอายุครรภ์คลาดเคลื่อน ซึ่งสามารถพบได้บ่อย ๆ ของการตั้งครรภ์เกินกำหนด
คุณแม่เคยมีประวัติการตั้งครรภ์เกินกำหนดมาก่อน หรือคนในครอบครัวมีประวัติในการตั้งครรภ์เกินกำหนดมาก่อน ก็มีโอกาสที่จะพบได้เช่นกัน
ทารกในครรภ์มีความพิการ มีภาวะที่ไม่มีสมองหรือกะโหลกศีรษะ (Anencephaly) ทารกมีภาวะต่อมหมวกไตฝ่อ และทารกไม่มีต่อมใต้สมอง
การขาดฮอร์โมน Placental sulfates deficiency