Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะครรภ์แฝดน้ำ (Polyhydramnios) (การพยาบาล (ประเมินภาวะครรภ์แฝด เช่น มี…
ภาวะครรภ์แฝดน้ำ (Polyhydramnios)
สาเหตุ
1.ครรภ์แฝดชนิด monozygotic twins เกิดจากทารกคนหนึ่งมีระบบไหลเวียนเลือดมากกว่าและเกิด cardiac hypertrophy ทำให้ทารกปัสสาวะมากและน้ำคร่ำมากกว่าปกติ
2.ทารกมีการกลืนน้ำคร่ำ เช่น ผิดปกติที่ทางเดินอาหารภาวะ Esophageal atresis ทำให้ทารกกลืนน้ำคร่ำและมีน้ำคร่ำมากกว่าปกติ
3.ทารกผิดปกติที่ระบบประสาท เช่น spinal bifida Hydrocephalus มีการเพิ่มของ Transudate ในเยื่อหุ้มสมองหรือทารกปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น
4.ครรภ์แฝดน้ำที่สัมพันธ์กับเบาหวานและ Erythroblastosis fetalis จากรกขนาดใหญ่ทำให้ขับสารน้ำออกมาอยู่ในน้ำคร่ำปกติ
ชนิดของครรภ์แฝดน้ำ
1.ครรภ์แฝดน้ำเฉียบพลัน (Acute hydramnios) พบได้อายุครรภ์ 20-24 สัปดาห์ เกิดขึ้นเร็วใน 2-3 วัน มดลูกยืดขยายโตมากกว่าอายุครรภ์
2.ครรภ์แฝดน้ำเรื้อรัง (Chronic hydramnios) อาการคล้ายแบบเฉียบพลันแต่เกิดช้าๆ พบเมื่อ GA 30 week น้ำคร่ำกดทับไม่รุนแรงเท่าชนิดแรก หายใจลำบาก
การซักประวัติ
เคยตั้งครรภ์แฝดชนิด monozygotic twins
ครรภ์แฝดเฉียบพลัน ให้ประวัติว่าท้องขยายมากขึ้นหายใจลำบาก บวมที่ท้องและอวัยวะเพศ 2-3 วัน
เส้นรอบท้องมากกว่า 100 cm. มดลูกกลมมากว่ารูปไข่ ผนังหน้าท้องบางตึงมันใส เส้นเลือดดำขยายชัดเจน ท้องแตกลาย(Striae gravidarum) คลำหาส่วนแขนขาทารกลำบาก เคาะจะมีน้ำกระทบมือ ไม่ได้ยินFHS น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงหาปริมาณน้ำคร่ำ โดยวัด Pocket ที่ใหญ่ที่สุดของน้ำคร่ำใน 4 quadrants มารวมกัน ค่าปกติที่ 5-20 ครรภ์แฝดน้ำพบมากกว่า 20
ผลต่อมารดา
ระยะตั้งครรภ์
น้ำคร่ำมากกว่า 3000 ml.
อึดอัด หายใจลำบาก คลื่นไส้อาเจียนจากการถูกกดเบียดของกระเพาะ
คลื่นไหวลำบาก อาเจียนรุนแรง
ระยะคลอด
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี คลอดล่าช้า เกิดภาวะสายสะดือย้อย
ช็อคจากความดันในช่องท้องลดลงอย่างรวดเร็ว
ระยะหลังคลอด
มีโอกาสตกเลือดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
ติดเชื้อหลังคลอด เพราะมีน้ำเดินก่อนคลออดเป็นเวลานานกว่า 6 ชั่วโมง
การรักษา
เจาะน้ำคร่ำทางหน้าท้อง
นอนพักผ่อนให้ยานอนหลับลดความวิตกกังวล ผ่าตัดทารกออกทางหน้าท้องกรณีที่จำเป็น
รับประทานอาหารโปรตีนสูง
ให้ยาขับปัสสาวะถ้าบวมมาก เจาะเลือดและจองเลือด
ให้ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อการตั้งครรภ์ที่ครบกำหนด
ให้ได้รับยาเร่งคลอดเกือบทุกราย หากตกเลือด ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ผลต่อทารก
เสี่ยงต่อความพิการและคลอดก่อนกำหนด
เสี่ยงต่อสายสะดือย้อย(Prolapsed umbilical cord) เกิดภาวะ Fetal distress และถ้าไม่ผ่าตัดคลอดอาจทำให้ทารกเสียชีวิต
ภาวะที่มีน้ำหล่อเด็กมากกว่าปกติ โดยพบว่ามีน้ำหล่อเด็กมากกว่า 2000 มล.ขึ้นไป
การพยาบาล
ประเมินภาวะครรภ์แฝด เช่น มี Fluid thrill
ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดครรภ์แฝดน้ำ เช่นการทำ Glucose tolerance test
สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะ congestive heart failure การติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
ประเมินสัญญาณชีพทุก 15 นาที
วัดอุณหภูมิทุก 4 ชั่วโมงต่อกันอย่างน้อย 3 วัน
ฟังเสียง FHS หลังเจาะและฟังต่อทุก 15 นาทีจนกว่าจะปกติเสี่ยงต่อสายสะดือถูกกด
เตรียมทำคลอดทางหน้าท้อง
ส่งเสริมการสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก