Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะครรภ์เป็นพิษ Pre-eclampsia/Preeclamsia (วิธีป้องกัน (ลดอาหารรสเค็ม,…
ภาวะครรภ์เป็นพิษ
Pre-eclampsia/Preeclamsia
แบ่งได้ 2 ชนิด
ชนิดรุนแรงน้อย คือ สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษโดยมีความดันโลหิตสูงไม่เกิน 160/ 110 มม.ปรอท หรือมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน หรือไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆเช่น เกล็ดเลือดต่ำ ไตวาย และทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ชนิดรุนแรงมาก คือ ภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีความดันโลหิตสูงมากกว่า 160/110 มม.ปรอท หรือมีโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 2 กรัมต่อวัน หรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆเช่น ปวดศีรษะมาก ตาพร่ามัว มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ไตวาย ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการชักขณะตั้งครรภ์โดยที่ไม่เคยมีอาการชักมาก่อนตั้งครรภ์ (Eclampsia) และอาจเกิดภาวะเลือดออกในสมอง/เลือดออกในกะโหลกศีรษะจนมีอันตรายต่อชีวิตได้
สาเหตุ
สาเหตุของการเกิดครรภ์เป็นพิษยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย หรือฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อบางตัว หรือจากกรรมพันธุ์ อาจเกิดจากความไม่สมดุลกันระหว่างโปรตีนบางตัวที่สร้างขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ ทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดในสตรีตั้งครรภ์ ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างหลอดเลือดไปเลี้ยงรกได้เพียงพอ บางส่วนของรกจึงขาดเลือด เกิดการตายของเนื้อรกบางส่วนที่มีการปล่อยสารที่ส่งผลให้หลอดเลือดทั่วร่างกายของสตรีตั้งครรภ์หดตัว
ความหมาย
ภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทร่วมกับมีภาวะโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะในสตรีตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ไปจนกระทั่งหลังคลอด 1 สัปดาห์ และ ภายหลังคลอดภาวะครรภ์เป็นพิษจะค่อยๆหายไปเอง
สตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยง
สตรีตั้งครรภ์ที่อายุน้อยกว่า 18 ปีหรือมากกว่า 35 ปี
สตรีตั้งครรภ์แรกหรือตั้งครรภ์แรกกับคู่สมรสใหม่
ระยะห่างของการตั้งครรภ์ห่างจากครรภ์ก่อนมากกว่า 10 ปี
สตรีตั้งครรภ์ที่มีประวัติครรภ์เป็นพิษในครรภ์ครั้งก่อน
สตรีตั้งครรภ์ที่มีญาติพี่น้องสายตรง (มารดาและ/หรือพี่น้องท้องเดียวกัน) มีภาวะครรภ์เป็นพิษ
สตรีตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัวก่อนตั้งครรภ์เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคไตเรื้อรัง โรคลูปัส/โรคเอสแอลอี
สตรีตั้งครรภ์แฝด
อาการ
มีอาการบวมตามใบหน้า มือ ข้อเท้า และเท้า
ปวดศีรษะโดยเฉพาะบริเวณท้ายทอย หน้าผาก โดยรับประทานยาแก้ปวดแล้วไม่ดีขึ้น
น้ำหนักเพิ่มมากอย่างรวดเร็ว
ตรวจพบโปรตีนไข่ขาวในปัสสาวะ
มีความดันโลหิตสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มม.ปรอท
มีตาพร่ามัว อาจตาบอดชั่วขณะได้
จุก/แน่นหน้าอกหรือที่บริเวณลิ้นปี่
หากอาการรุนแรงอาจมีอาการชักกระตุกทั้งตัว เกิดเลือดออกในสมอง/เลือดออกในกะ โหลกศีรษะได้
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนต่อมารดา
ตาบอดอาจเป็นชั่วคราวหรือถาวร
มีภาวะน้ำท่วมปอด/น้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด
เกิดอาการชัก
มีเลือดออกในอวัยวะต่างๆจากภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
เสียชีวิต
ภาวะแทรกซ้อนต่อทารกในครรภ์
มีการคลอดก่อนกำหนด
มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
ทารกเสียชีวิตในครรภ์
มีภาวะน้ำคร่ำน้อยส่งผลให้ทารกถูกกดเบียดทับจากน้ำหนักมารดา ส่งผลให้มีการเจริญ เติบโตผิดปกติได้
มีภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
หัวใจทารกเต้นช้าจากการขาดออกซิเจน
วิธีป้องกัน
ลดอาหารรสเค็ม
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
พักผ่อนให้เพียงพอ
อาหารผัดน้ำมัน และอาหารทอด
เพิ่มโปรตีน (เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ตับ) ในอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารไขมัน
ดื่มน้ำให้มากกว่าหรือเท่ากับ 8 แก้วต่อวัน เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน
ฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มรู้ว่าตั้งครรภ์ หลังจากนั้นปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
พยายามยกขาสูงเมื่อมีโอกาสเช่น ขณะนั่ง นอน
การวินิจฉัย
ความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท หลังตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ และต้องวัดสองครั้งห่างกัน 6 ชั่วโมง
ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ
มีอาการบวมที่หลังเท้า