Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Preterm Premature Rupture of Membranesภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์…
Preterm Premature Rupture of Membranesภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์
สาเหตุ
มดลูกมีความตึงตัวมากกว่าปกติ เช่น ครรภ์แฝด หรือครรภ์แฝดน้ำ
ภาวะติดเชื้อโรคที่ช่องทางคลอด เช่น ติดเชื้อ หนองในที่คอมดลูก
มีประวัติการคลอดก่อนกำหนดมาก่อน โดยเฉพาะการมีประวัติถุงน้ำคร่ำ แตกก่อนการเจ็บครรภ์คลอดในครรภ์ก่อนที่คลอดก่อนกำหนด
ผู้ป่วยเคยผ่าตัดทำ conization ของคอมดลูก
การติดเชื้อในโพรงมดลูก
สตรีตั้งครรภ์ที่เศรษฐานะต่ำ
ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง อาจมีปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกันทำให้เกิดภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ เช่น การอ่อนแอของเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำ มีแรงเฉือนจากการมีการหดรัดตัวของมดลูก เป็นต้น
สตรีที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์
สตรีที่เคยได้รับการเย็บผูกคอมดลูกแบบฉุกเฉิน
ภาวะแทรกซ้อน
Fetal death มักเกิดจากรกลอกตัวก่อนกำหนด
สายสะดือย้อย (cord prolapse) และการติดเชื้อในโพรงมดลูก
Placental abruption พบได้บ่อยในรายที่อายุครรภ์น้อยๆ และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิด preterm PROM
Cord prolapsed
Cesarean delivery อัตราการผ่าตัดคลอดมักสูงขึ้น เนื่องจากทารกอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายจากการพบอัตราการเต้นของหัวใจทารกผิดปกติ การมี Chorioamnionitis และการที่มักพบว่าทารกอยู่ในท่าที่ผิดปกติ
Chorioamnionitis อาจเป็นสาเหตุหรือเป็นผลลัพธ์จากการมีถุงน้ำคร่ำแตกก็ได้ มักเกิดในช่วงแรกๆที่มีน้ำเดิน โดย 1 ใน 2 ของผู้ป่วยจะเกิด Chorioamnionitis
Postpartum endometritis พบได้ในกลุ่มที่เป็น midtrimester Preterm PROM
ข้อวินิจฉัย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Nitrazine paper test
เนื่องจากน้ำคร่ำมี pH อยู่ในช่วง 7.1 - 7.3 ขณะที่สารคัดหลั่งจากช่องคลอดมี pH อยู่ในช่วง 4.5 - 5.5 ดังนั้นเมื่อทดสอบด้วยกระดาษ nitrazine จะเกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำเงิน
Nile blue test
เมื่อทารกอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ขึ้นไปจะตรวจพบเซลล์จากต่อมไขมันของทารกได้ในน้ำคร่ำ เมื่อนำไปย้อมด้วย nile blue sulphate เซลล์เหล่านี้จะติดสีแสด
Fern test
เก็บตัวอย่างจาก posterior fornix ป้ายบน ลงบนแผ่น slide ทิ้งให้แห้ง นำไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบผลึกรูป fern จากการที่น้ำคร่ำมี electrolyte โดยเฉพาะ NaCl
Indigocarmine
ในกรณีที่ตรวจภายในแล้วไม่พบน้ำคร่ำในช่องคลอดแต่ยังมีข้อสงสัยว่าน้ำคร่ำอาจจะแตกจริง ทดสอบโดยการฉีดสี indigocarmine 1 cc ละลายใน NSS 9 cc ฉีดผ่านผนังหน้าท้องเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ แล้วให้สังเกตสีน้ำเงินของ indigocarmine ที่จะไหลผ่านเข้าไปในช่องคลอดหากมีถุงน้ำคร่ำแตกจริง
การตรวจร่างกาย โดยการใส่ dry sterilized speculum เข้าไปในช่องคลอด จะเห็นน้ำคร่ำขังอยู่ที่ posterior fornix หรือไหลออกมาจากปากมดลูกชัดเจน โดยเฉพาะเวลาให้ผู้ป่วยเบ่งหรือไอ (cough test)
ประวัติเช่น ให้ประวัติว่ามีน้ำใสๆ ไหลจากช่องคลอดเป็นปริมาณมาก ซึ่งต้องแยกจากสาเหตุอื่นๆ ที่อาจจะพบได้ เช่น ปัสสาวะไหล ตกขาวปริมาณมากเป็นต้น
Ultrasonography
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงจะมีประโยชน์ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios) โดยที่ตรวจไม่พบความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะของทารกและทารกไม่มีภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ สันนิษฐานได้ว่าน่าจะมีภาวะถุงน้ำคร่ำแตกจริง
ความหมาย
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์
ก่อนอายุครรภ์จะครบ 37สัปดาห์
การรักษา
ตรวจหน้าท้องคะเนขนาดทารก และตรวจหาส่วนนำ
ทบทวนเรื่องอายุครรภ์ และประวัติการฝากครรภ์
รับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลเมื่อวินิจฉัยได้
ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์
อาการ
CBC พบ เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นผิดปกติ
กดเจ็บที่มดลูก
อุลตราซาวนด์ พบน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ หรือลดลง
FHS น้อยกว่า 120 ครั้ง/นาที กรณีสายสะดือถูกกดจากภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligo hydramnios)
กรณีน้ำคร่ำรั่วบ่อยๆ จนเกิดภาวะ Oligohydramnios อาจเกิดการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ร่วมด้วย
อาจเกิด ระยะที่ 2 ของการคลอดยาวนาน เนื่องจากมีน้ำคร่ำไหลออกมามาก โดยทำให้กลไกการคลอดระยะ lnternal rotation และการเกิด Extension หยุดชะงัก เนื่องจากศีรษะหรือส่วนนำของทารกไม่แนบสนิทกับเชิงกราน และมีน้ำคร่ำไหลออกตลอดเวลา จนอาจทำให้เกิดการคลอดแห้ง
(dry labor) ทำให้การคลอดไหลและลำตัวต้องออกแรงดึงมากกว่าผู้คลอดปกติ
น้ำคร่ำสีขุ่น มีกลิ่นเหม็น
สัญญาณชีพเปลี่ยนแปลง กรณีมีการติดเชื้อในโพรงมดลูกร่วม ได้แก่ ชีพจรเร็ว มีไข้มากกว่า 37.8 C.
ประวัติ น้ำไหลออกทางช่องคลอด