Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มาตรฐานการเชื่อมต่อและ สถาปัตยกรรมเครือข่าย (6. มาตรฐาน IEEE (Ethernet…
มาตรฐานการเชื่อมต่อและ
สถาปัตยกรรมเครือข่าย
1. มาตรฐานการสื่อสารบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
มาตรฐานการสื่อสารเป็นข้อกำหนดเพื่อให้เกิดความแน่นอนของการสื่อสาร เพราะต้องเข้าใจกันทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรับหรือส่ง มาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารนี้เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol)
2. สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2.2 สถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบ Client-Server
เป็นระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงและมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ระบบนี้สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก ทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง
2.1 สถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer
หรือ Workgroup เครือข่ายแบบนี้จะเก็บไฟล์และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์
ของผู้ใช้แต่ละคน โดยไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนกลางที่ทํา หน้าที่นี้ เรียกได้ว่าต่างคนต่างเก็บ แต่ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถเรียกใช้ไฟล์จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทําการแชร์
ไฟล์เหล่านั้นไว้เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer นี้เหมาะสํา หรับองค์กรขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อ
กันไม่เกิน 10 เครื่อง
ข้อดี
คือสามารถติดตั้งง่าย ค่าใช้จ่ายต่ำ
ข้อเสีย
คือมีความเร็วในการใช้งานต่ำ ความปลอดภัยต่ำ
3. แบบอ้างอิง OSI
เป็นแบบจำลองที่อธิบายถึง
โครงสร้างการทำงานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งออกเป็น 7 เลเยอร์ พัฒนาขึ้นในปี 1984 โดย Open Systems Interconnect นั่นเอง การเรียงตัวของเลเยอร์จะถูกจัดจากบนลงล่าง โดยประกอบไปด้วยเลเยอร์Application, Presentation, Session,Transport, Network, Data Link และ Physical
4. การแบ่งกลุ่มของเลเยอร์
Application-oriented Layers เป็น 4 เลเยอร์ด้านบน
คือ เลเยอร์ที่ 7, 6, 5 และ 4
(Application, Presentation, Session และ Transport) ทำหน้าที่เชื่อมต่อรับส่งข้อมูล
ระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมประยุกต์ เพื่อให้รับส่งข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ที่อยู่ชั้นล่างได้อย่าง
ถูกต้อง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับซอฟแวร์เป็นหลัก
Network-dependent Layers เป็ น 3 เลเยอร์ด้านล่าง
(Network, Data Link และ
Physical) ทำหน้าที่เกี่ยวกับกำรรับส่งข้อมูลผ่านสายส่ง และควบคุมการรับส่ง
ข้อมูล.ตรวจสอบข้อผิดพลาด รวมทั้งเลือกเส้นทางที่ใช้ในการรับส่ง ซึ่งจะเกี่ยวข้อง
กับฮาร์ดแวร์เป็นหลัก ทำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ต่างบริษัทกันได้อย่างไม่มีปัญหา
5. หน่วยในการวัดปริมาณการส่งข้อมูล
ในระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบสถานะเปิด คือ ค่า 1 และสถานะปิด คือ 0 โดยสถานะเปิดปิดเราเรียกว่า 1 bit ถ้า 8 bit เรียกว่า 1 byte
6. มาตรฐาน IEEE
Ethernet
เป็นชื่อเรียกวิธีการสื่อสารในระดับล่างหรือที่เราเรียกว่าโพรโทคอล (Protocol) ของ LAN อีเทอร์เน็ตในช่วงแรกทำความเร็วได้10 เมกะบิตต่อวินาที แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Fast Ethernetและ Gigabit Ethernet ที่ท าความเร็วได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที และ 1000 เมกะบิตต่อวินาที ตามลำดับ
Fast Ethernet
เป็นเครือข่ายที่สามารถรับ/ส่งข้อมูลที่ 100 Mbps ซึ่งยังคงเป็นมาตรฐานหลักในปัจจุบัน เหมาะสำหรับการติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในบ้าน หรือสำนักงานขนาดเล็ก
Gigabit Ethernet
เป็นชื่อเรียกเทคโนโลยีเครือข่ายแลน ตามความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลที่ได้คือ 1 Gbps (Gigabits per Second) หรือ1,000 Mbps (Megabits per Second)
7. เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์
7.1 เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ Ethernet LAN
Ethernet LAN เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมเนื่องจากการติดตั้งที่ง่ายและค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก ความเร็วที่ได้อยู่ในระดับ 10/100 Kbps และอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งเครือข่ายก็หาได้ง่าย
7.2 เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ Wireless LAN
Wireless LAN หรือที่เรียกว่า Wi-Fi เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยใช้คลื่นวิทยุแทนการใช้สายในการรับส่งข้อมูลทำให้สามารถผ่านอากาศ ทะลุกำแพง เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เนื่องจากไม่ต้องเดินสายสัญญาณทำให้การเคลื่อนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นทำได้โดยสะดวก