Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) (เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาตาม พรบ.นี้ ม…
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
เป็น นิติบุคคล เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ม.43
องค์ประกอบ อบต.
สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
สมาชิกหมู่บ้านละ 2 คน
ถ้ามี 1 หมู่บ้านให้มี 6 คน
ถ้ามี 2 หมู่บ้านให้มีแห่งละ 3 คน
วาระคราวละ 4 ปี
ประธานสภา (นายอำเภอแต่งตั้งตามมติของสภา)
รองประธาน (นายอำเภอแต่งตั้งตามมติของสภา)
เลขานุการ (สภาฯเลือก ปลัด อบต. หรือ สมาชิกสภาฯ)
ลาออก ต่อนายอำเภอ
:spiral_note_pad:
เมื่อตำแหน่งประธานสภาและรองประธานสภาฯ ว่างลง
กรณีลาออก
ให้มีการเลือกประธานและรองประธานสภาฯ ภายใน 15 วัน ม.51 :spiral_note_pad:
กรณียังไม่มีประธานสภาฯ ให้นายอำเภอเรียกประชุม
ใน 1 ปีให้มีสมัยประชุมสามัญสองสมัยหรือหลายสมัยแล้วแต่สภาฯ แต่ต้องไม่เกิน 4 สมัย วันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีให้สภา กำหนด
ม.53
นายอำเภอต้องกำหนดให้สมาชิกสภาฯดำเนินการประชุมสภาฯครั้งแรกภายใน 15 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งฯ และให้ที่ประชุมเลือกประธานและรองประธาน ม.53
สมัยวิสามัญ
ม.55
ประธานสภาฯ นายกฯ หรือ สมาชิกฯ ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเท่าที่มี อาจทำคำร้องยื่นต่อนายอำเภอขอเปิดประชุมวิสามัญ เมื่อเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์ของ อบต.
สมัยวิสามัญให้มีกำหนด ไม่เกิน 15 วันแต่ถ้าจะขยายต้องได้รับอนุญาตจากนายอำเภอ
#
อำนาจหน้าที่ของสภา อบต. ม.46
(1)
ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาของ อบต
.
(2)
พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ อบต. ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีและเพิ่มเติม
(3)
ควบคุมการปฏิบัติงานของ นายกฯ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาฯ 47 ทวิ
การเลือกตั้งเมื่อตำแหน่งว่างลงเมื่อครบวาระ ให้ดำเนินการภายเลือกตั้งภายใน 45 วัน
ม.13
การเลือกตั้งเมื่อตำแหน่งว่างลงนอกเหนือจากการครบวาระ ให้ดำเนินการภายเลือกตั้งภายใน 60 วัน (เว้นแต่วาระนั้นเหลือไม่ถึง 180 วัน)
ม.14
ผู้มีสิทธิต้องมีและไม่มีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑) มีชื่อในทะเบียนบ้านของพื้นที่ที่สมัครติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี จนถึงวันรับสมัคร
(๒) ไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริตหรือพ้นจากตำแหน่ง สมาชิกฯ ผู้บริหารฯ รองผู้บริหารฯ เลขาผู้บริหารฯ เพราะเหตุมีส่วนได้เสียทางผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมในสัญญาหรือกิจกรรมที่ทำกับ อปท.ยังไม่ถึง 5 ปี
(3)
มีและไม่มีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกฯ และรองนายกฯ
ม.58/1
ต้องมีและไม่มีคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
ผู้มีสิทธิต้องมีและไม่มีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑) อายุไม่น้อยกว่า 30 ปี บริบูรณ์
(๒) จบการศึกษาไม่ต่ำกว่า ม.ปลาย หรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกรัฐสภา
(3) ไม่เป็นผู้มีพติกรรมทุจริตหรือพ้นจากตำแหน่งสมาชิกฯ ผู้บริหาร รองผู้บริหาร เลขาผู้บริหาร เพราะมีส่วนได้ส่วนเสียทั้งตรงและอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่ทำกับ อปท. ยังไม่ถึง 5 ปี นับถึงวันรับสมัคร
รองนายก ไม่เกิน 2 คน
เลขานายก ไม่เกิน 1 คน
แถลงนโยบายภายใน 30 วัน ก่อนปฏิบัติหน้าที่
ม.58/5
จัดทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่แถลงไว้ เป็นประจำทุกปี ม. 58/5
อำนาจ หน้าที่ ของนายกฯ
ม.59
กำหนดนโยบาย โดยไม่ขัดต่อกฏหมาย รับผิดชอบการบริหารให้เป็นไปตามกฏหมาย นโยบาย และแผนพัฒนาอบต. ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของราชการ
สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการ อบต.
แต่งตั้งถอดถอน รองนายกฯ เลขานายกฯ
วางระเบียบ
รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ อบต.
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมาย
เป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง ม.60
กรณีปฏิบัติราชการแทนนายกฯ
ม.60
อำนาจการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ ตามกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่ไม่ได้กำหนดการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น นายกฯอาจทำเป็นหนังสือให้รองนายกฯเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทน
**ถ้ามอบให้ปลัดฯ หรือรองปลัดฯ ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศให้ประชาชนทราบ
สภาตำบลที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุน 3 ปี เฉลี่ยติดต่อกัน ไม่ต่ำกว่า 150,000 บาท ยกฐานะเป็น อบต.
งบประมาณ ทรัพย์สิน สิทธิ ข้อเรียกร้อง หนี้ และเจ้าหน้าที่ของสภาตำบล ให้โอนเป็น ของ อบต.
การยกฐานะ อบต.เป็น เทศบาล
เทศบาลตำบล ได้แก่ท้องถิ่นซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลประกาศกระทรวงมหาดไทย ม.9 พ.ร.บ. เทศบาล 2496
เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาตาม พรบ.นี้
ม.65
นายก
ปลัด
รองนายก
พนักงานส่วนตำบล
อำนาจหน้าที่ อบต. ม.67,68
หน้าที่ที่ต้องทำในเขตของอบต.
(1) จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก
(๒) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำขัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(๓) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
(๔) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๕) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
(6) ส่งเสริมพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(7) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๘) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรม
(๙) หน้าที่อื่นๆ
หน้าที่ที่อาจจะทำในเขตของอบต.
(1) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
(2) ให้มีการบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(3) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
(4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุมการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ
(๕) ให้มีการส่งเสริมเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
(6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
(7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฏร
(8) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธาณสมบัติของแผ่นดิน
(9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์ของอบต.
(10) ให้มีตลาด ท่าเรียบเรือ หรือท่าข้าม
(11) กิจการเกี่ยวพาณิชย์
(12) การท่องเที่ยว
(13) การผังเมือง
ข้อบัญญัติ อบต.
กำหนดค่าธรรมเนียมค่าปรับได้ ไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ม.71
ข้อบัญญัติทั่วไป
ผู้ที่มีสิทธิเสนอ ร่างข้อบัญญัติ ม.71
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภาฯ
ราษฎร
ญัตติร่างข้อบัญญัติ ที่ประชุมสภาฯต้องพิจารณา 3 วาระ หรือพิจารณา 3 วาระรวดเดียวได้
ผู้บริหารท้องถิ่น หรือ สมาชิก ไม่น้อยกว่า 1/3 เสนอ
วาระ 2 ให้ สมาชิกเป็น คกก.แปรฯ เต็มสภา ประธานสภา เป็น ประธานแปรฯ
ข้อ 45 รบ.มท ว่าด้วยการประชุมสภาฯ
กรณี นายอำเภอไม่เห็นชอบ
ม.71
ส่งคืนสภาฯ
ใน 15 วัน
ไม่ส่งคืนตามกำหนด ถือว่าเห็นชอบ
สภาฯพิจารณาใหม่
เห็นชอบไม่น้อยกว่า 1/3 ให้นายกประกาศ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบ นอภ. สภาไม่เห็นชอบ ให้ตกไป
กรณีที่ประชุมสภา ไม่รับหลักการให้ข้อบัญญัตินั้นตกไป
ข้อ 53 รบ. มท ประชุมสภาฯ
ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีและเพิ่มเติม
I
ให้จัดทำเป็นข้อบัญญัติ
เสนอได้แต่นายกฯ
เสนอสภาฯเพื่อ พิจารณาเห็นชอบแล้ว ให้สภาเสนอนายอำเภอเพื่อขออนุมัติ ให้นายอำเภอพิจารณาให้แล้วเสร็จ
ภายใน 15 วัน
ม.87
-ในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ สภาฯต้องพิจารณาให้เสร็จ
ภายใน 60 วัน
หากพ้นกำหนดให้ถือว่าสภาเห็นชอบ
ม.87
การแปรญญััติ
ผู้บริหารแปรญัตติเพิ่มได้
เพิ่มรายการจ่ายใหม่ได้ เปลี่ยนแปลงความประสงค์ได้
ข้อ 60 รบ.มท ว่าด้วยการประชุมสภาฯ
การแปรญญัตติข้อบัญญัติงบประมาณ
สมาชิกสภาฯจะแปรเพิ่มไม่ได้
เว้นแต่ได้คำรับรองจากผู้บริหาร แต่อาจแปรลดได้ ทีเป็นรายจ่ายซึ่งไม่ใช่เป็นเงินที่ส่งใช้เงินกู้ หรือเงินที่กำหนดจ่ายตามกฏหมาย
ต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองเช่นเดียวกับการเสนอญัตติ
ให้เสนอล่วงหน้าต่อ คกก.แปรฯ ไม่น้อยกว่า
24 ชม
.
ข้อ 59 รบ.มท ว่าด้วยการประชุมสภาฯ
ในกรณีที่นายอําเภอไม่อนุมัติร่างข้อบัญญัติ
ม.87
ให้ส่งคืน สภาฯพร้อมเหตุผล ให้สภาฯพิจารณาทบทวนใหม่ ให้แจ้ง
ภายใน 15 วัน
สภาฯยืนยันตามร่างเดิม ให้ นอภ. ส่งร่างฯไปยังผู้ว่าใน 15 วัน
ผู้ว่าพิจารณาใน 15 วัน ถ้าพ้นกำหนดแล้วยังเฉย ถือว่าเห็นชอบ
ผู้ว่าเห็นชอบด้วยให้ส่งให้นายอำเภอ ลงชื่ออนุมัติ
ผู้ว่าไม่เห็นชอบให้ข้อบัญัติฯ ตกไป
กรณีสภาฯไม่รับหลักการแห่งร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายฯ
ม.87/1
ให้ นอภ. แต่งตั้ง คกก. 7 คน เพื่อพิจารณายุติข้อขัดแย้ง
สมาชิกสภาฯ ที่สภาฯเสนอ 3 คน
บุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกที่นายกเสนอ 3 คน
ให้ทั้ง 6 คน เลือกบุคคลที่ไม่เป็น คณะผู้บริหาร เลขานายก สมาชิกสภาฯ ทำหน้าที่ประธาน ภายใน 7 วัน
ม.87/1
ให้ คกก. พิจารณาให้เสร็จใน 15 วัน
กรณีพิจารณาไม่ได้ ให้ประธานตัดสินชี้ขาด แล้วรายงานต่อ นอภ.
นอภ. ส่งร่างที่ คกก.พิจารณาแล้ว ให้นายก แล้วให้นายกเสนอต่อสภา
ใน 7วัน
หากนายกไม่ปฏิบัติ ให้ นอภ.รายงานผู้ว่าให้พ้นจากตำแหน่ง
ให้สภาฯ พิจารณา ร่างข้อบัญญัติฯ ที่ คกก.พิจารณาแล้วใน 30 วัน หากพิจารณาไม่ทัน หรือไม่เห็นชอบ ให้ร่างนั้นตกไป
นอภ. เสนอผู้ว่ายุบสภาฯ
ให้ใช้ข้อบัญญัติเก่าไปก่อน
ม.87/2
ญัตติ งป. พิจารณา 3 วาระ รวดเดียวไม่ได้
วาระ 1-2 ติดกันไม่ได้
วาระที่ 2 ให้กำหนดเวลาการเสนอคำแปรฯ ไม่น้อยกว่า 24 ชม.
วาระ 2-3 ติดกันได้
ข้อ 45 รบ.มท ว่าด้วยการประชุมสภาฯ
รายได้และรายจ่ายของ อบต.
รายได้
รายได้จากภาษี ค่าธรรมเนียม ฯลฯ ของอบต.
ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีป้าย
อากรการฆ่าสัตว์และค่าธรรมเนียม
ภาษีค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อนที่จัดเก็บได้ในจังหวัดให้จัดสรรให้ อบต.
ค่าธรรมเนียมตามกฏหมายว่าด้วยน้ำบาดาล
เงินอากรประทานบัตรใบอนุญาตและอาชญาบัตรว่าด้วยการประมง
ค่าภาคหลวง
ค่าธรรมเนียมว่าด้วยป่าไม้
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ค่าภาคหลวงแร่ตาม ก.ม ว่าด้วยแร่และ
ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมตาม ก.ม. ว่าด้วยปิโตรเลียม ให้จัดสรรให้ อบต.
เงินที่เก็บตาม ก.ม. ว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ ให้แบ่งแก่ อบต.
ออกข้อบัญญัติ อบต. เพื่อเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 10 ม.76
(1) ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลกฏหมายรัษฎากรซึ่งสถานประกอบการอยู่ใน อบต.
(2) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา
(3) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเล่นการพนัน
*การเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมนี้ เศษ 1 บาท ให้ปัดทิ้ง
ออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกำหนดอัตราเพิ่มขึ้นจากอัตราที่เรียกเก็บตามประมวล ก.ม. รัษฎากร ดังนี้ ม.80
(1) กรณี ประมวล ก.ม. รัษฎากร เก็บ ร้อยละ 0 ให้ อบต.เก็บ ร้อยละ 0
(2) กรณี ประมวล ก.ม. รัษฎากร เก็บอัตราอื่น ให้ อบต. เก็บในอัตรา 1 ใน 9 ของอัตราที่เก็บตามประมวล ก.ม. รัษฎากร
รายได้อื่น ของ อบต.
(1) รายได้จากทรัพย์สิน
(2) รายได้จากสาธารณูปโภค
(3) รายได้กิจการพาณิชย์
(4) ค่าธรรมเนียม ใบอนุญาต ค่าปรับ
(5) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
(6) รายได้ตามที่รัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐจัดสรร
(7) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
(8) รายได้อื่นๆ
(9) เงินกู้
รายจ่าย
(1) เงินเดือน
(2) ค่าจ้าง
(3) เงินค่าตอบแทนอื่น
(4) ค่าใช้สอย
(5) ค่าวัสดุ
(6) ค่าครุภัณฑ์
(7) ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และทรัพย์สินอื่นๆ
(8) ค่าสาธารณูปโภค
(9) เงินอุดหนุนหน่วยงานอื่น
(10) รายจ่ายตามข้อผูกพัน
ผู้กำกับดูแล อบต.
นายอำเภอ
มีหน้ากำกับดูแลการปฏิบติหน้าที่ของ อบต. ให้เป็นตามกฏหมาย ระเบียบข้อบังคับทางราชการ
การยุบสภา
นายอำเภออาจเสนอความเห็นต่อผู้ว่าฯเพื่อยุบสภาฯได้ โดยให้ผู้ว่าออกคำสั่งแล้วแสดงเหตุผลในคำสั่งด้วย
เมื่อมีการยุบสภาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกใหม่
ภายใน 45 วัน