Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสภาพมะเร็งรังไข่ (Cancer Ovary) (อาการแสดง (ทฤษฎี (เมื่อก้อนมะเร็งโตข…
พยาธิสภาพมะเร็งรังไข่ (Cancer Ovary)
อาการแสดง
ทฤษฎี
เมื่อก้อนมะเร็งโตขึ้น จะกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยและขัด
ก้อนเนื้ออาจกดเบียดลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ทำให้รู้สึกปวดถ่วง ถ่ายอุจจาระไม่สะดวกหรือลำบาก
มีก้อนในช่องท้องหรือช่องเชิงกราน จึงอาจทำให้เกิดอาการแน่นหรือปวดท้อง
เมื่อเซลล์มะเร็งมีการกระจายไปในช่องท้อง จึงอาจทำให้เกิดมีน้ำในช่องท้อง ซึ่งจะทำให้ดูเหมือนอ้วนขึ้นได้ ท้องโตขึ้นกว่าเดิม
เบื่ออาหาร ผอมแห้ง น้ำหนักลด
ในบางรายอาจไม่มีการแสดงอาการเลย แพทย์อาจตรวจพบโดยบังเอิญว่ามีก้อนในท้องน้อย
ท้องอืดเป็นประจำ
อาจมีประจำเดือนผิดปกติ บางรายอาจพบการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น มีเสียงห้าว มีหนวด หรือขนขึ้นตามลำตัวคล้ายผู้ชายได้ เนื่องจากผลของมะเร็งรังไข่ที่ทำให้ร่างกายมีการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติไป
ผู้ป่วย
อาการและอาการแสดง
ในระยะแรกของการเป็นโรค ผู้ป่วยมีอาการแสดงของการเป็นมะเร็ง คือ น้ำหนักลด : จากน้ำหนัก 55 เหลือ 37 ภายในระยะเวลา 6 เดือน รับประทานอาหารได้น้อย คลื่นไส้อาเจียน(อาเจียนเป็นน้ำดีปนเศษอาหาร) อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
-มีอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องโต จากการที่มีก้อนที่ช่องเชิงกราน
-มีอาการหายใจเหนื่อย นอนราบไม่ได้
-ท้องผูก
จากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC พบ Hb 7.9 Hct 24.8 MCH 22.4 MPV 0 MCV 70.5 RBC 3.52 ซึ่งมีค่าต่ำกว่าปกติ บ่งบอกถึงภาวะซีด
ผู้ป่วยมี Platelet count 5,600 มีค่าต่ำกว่าปกติ
ผลข้างเคียงที่พบบ่อย
ทฤษฎี
เกล็ดเลือดลดลง เกิดรอยฟกช้ำได้ง่าย เลือดไหลนานกว่าจะหยุด คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ระคายเคืองทางเดินอาหาร ปากเป็นแผล ผิวสีคล้ำขึ้น เล็บอาจผิดปกติมีสีคล้ำหรือเปราะ
ชาปลายมือปลายเท้า เสียการทรงตัว ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการอ่อนเพลีย
เม็ดเลือดแดงต่ำมีภาวะซีด อ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย
ภาวะผิดปกติในระบบขับถ่าย เช่น ท้องเสีย ท้องผูก
กดไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำ เม็ดเลือดขาวจะต่ำ
ผู้ป่วย
เม็ดเลือดแดงต่ำมีภาวะซีด อ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย
ผลตรวจ CBC (17/09/60) : Hct = 24.8% Hb=7.9 g/dl MCH 22.4 pg MCHC 30.5 g/dl MPV 0.0 fl RBC 3.52cell/mm3
ได้รับ PRC 2 u
ผู้ป่วยมีภาวะซีดและอ่อนเพลัย
เกล็ดเลือดลดลง
Platelet estimated Decreased
Platelet count 56000
มีอาการท้องผูก
ได้รับยา senokotและ MOM
ชาปลายเท้ากล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการอ่อนเพลีย
คลื่นไส้ เบื่ออาหาร
ได้รับยา Plasil และ Motilium
สาเหตุ
ทฤษฎี
รังสี การสัมผัสรังสีบริเวณอุ้งเชิงกราน
พันธุกรรม
สารเคมีต่างๆ : แร่ใยหิน(asbestos) , การใช้แป้งฝุ่นบริเวณอวัยวะเพศภายนอก
ผู้ที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรยาก
อาหาร : อาหารประเภทไขมันสัตว์ อาหารที่มีเส้นใยต่ำและวิตามินเอต่ำ
อายุ อายุมากตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
ผู้ป่วย
ผู้ป่วยชอบรับประทานอาหารติดมัน รสจัด มีการใช้แป้งฝุ่นหลังการชำระล้างร่างกายหลังทำความสะอาดอวัยวะเพศ ประกอบกับผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 40ปี และประวัติทางครอบครัวมีบิดาและอาที่เคยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง
ความหมาย
ทฤษฎี
มะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer) คือ โรคที่เกิดจากการที่มีเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตในรังไข่และสามารถการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆในร่างกายรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองซึ่งเซลล์มะเร็งมักไปยังส่วนอื่นทางกระแสเลือด หรือทางเดินน้ำเหลืองที่มีอยู่ทั่วร่างกาย
ผู้ป่วย
มะเร็งอยู่ในระยะแพร่กระจายไปที่ลำไส้
การตรวจวินิจฉัย
ผู้ป่วย
ประวัติครอบครัวที่เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง
พ่อ
อา
การตรวจเลือด เช่น complete blood count, serum amylase, urea, electrolytes และ liver function test (LFT) รายที่ก้อนเป็นแบบ complex mass ควรตรวจหา tumor markers ด้วย
การตรวจเลือดวัดระดับของ CA 125 นำมาใช้ร่วมกับการตรวจทางคลื่นเสียงความถี่สูงและสภาวะหมดระดูในการประเมินความเสี่ยงต่อมะเร็งของผู้ป่วยที่เรียกว่า Risk of Malignancy Index (RMI)
ตรวจภายใน
ทฤษฎี
การซักประวัติ
ประวัติในอดีต
ประวัติในครอบครัวที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
ระยะเวลาที่เป็นและการโตขึ้นของก้อน
ระยะเวลาที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด
ตรวจร่างกายทั่วไป : ตรวจภายในและการตรวจทางทวารหนัก
การตรวจเลือด เช่น complete blood count, serum amylase, urea, electrolytes และ liver function test (LFT) รายที่ก้อนเป็นแบบ complex mass ควรตรวจหา tumor markers ด้วย
ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจว่าไม่ตั้งครรภ์ ตรวจปัสสาวะ อาจเพาะเชื้อถ้าจำเป็น ในรายที่มีการเสียเลือดมาก
การตรวจอุ้งเชิงกรานด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง โดยเฉพาะการตรวจทางช่องคลอด
การตรวจเลือดวัดระดับของ CA 125 นำมาใช้ร่วมกับการตรวจทางคลื่นเสียงความถี่สูงและสภาวะหมดระดูในการประเมินความเสี่ยงต่อมะเร็งของผู้ป่วยที่เรียกว่า Risk of Malignancy Index (RMI)
แนวทางดูแลรักษา
ผู้ป่วย
ได้รับยาเคมีบำบัด
ได้รับการผ่าตัด TAH with BSO with CMT [Total hysterectomy with bilateral salpingo-oophorectomy(การผ่าตัดนำมดลูก ปากมดลูก ท่อนำไข่ และปีกมดลูกออกไปทั้งหมด)]
ได้รับการฉายแสง
ทฤษฎี
การผ่าตัดในมะเร็งชนิดเยื่อบุผิวระยะที่เป็นมาก
การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด(Immunotherapy) เป็นการรักษาโรคมะเร็งโดยอาศัยหลักการทำงานของภูมิคุ้มกัน
การใช้รังสีรักษา (Radiation therapy) เป็นการใช้รังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งและทำให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลง
การให้ยารักษาตรงเป้า (Targeted therapy) เป็นการรักษาโดยการใช้ยาหรือสารอื่น ๆ ที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์
การให้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการใช้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งหรือยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง
การผ่าตัดในมะเร็งชนิดเยื่อบุผิวระยะต้น
กลไกการเกิดโรค
ผู้ป่วย
พันธุกรรม
พ่อ เป็นมะเร็งหลอดอาหาร
อาเป็นมะเร็งตับกับมะเร็งลำไส้
เเต่เดิมผู้ป่วยจะชอบทาแป้งที่อวัยวะเพศหลังจากที่ทำความสะอาดอวัยวะเพศแล้ว อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการกรดตุ้นฮอร์โมน Gn RH
สาเหตุดังกล่าว ผลทำให้ cell ที่รังไข่ถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยข้างต้น ทำให้ cell ที่รังไข่เกิดการเปลี่ยนแปลงมีส่งผลทำให้มีการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นที่cell รังไข่ เกิดเป็นเนื้องอกขนาดเล็ก และเนื้องอกดังกล่าวเจริญเติบโตเพิ่มขนาดและจำนวน cell และกลายพันธุ์เป็นเนื้อร้าย ( Cellมะเร็ง )
ทฤษฎี
ภาวะที่กระตุ้นให้ฮอร์โมนโกนาโดโทรปินหลั่งมากขึ้น ได้แก่ การได้รับรังสี สารพิษ การสัมผัสไวรัสบางชนิด การได้รับยาบางชนิด ทำให้เกิดการแบ่งตัวมากกว่าปกติของเนื้อเยื่อรังไข่ ทำให้สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนมากขึ้น ซึ่งจะไปกระตุ้นเนื้อเยื่อบุผิวของรังไข่ให้กลายเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งได้