Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ : :fire: (ปัจจัยภาใน :!!: ปัจจัยที่เกี่ยวกับ…
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ :
:fire:
ปัจจัยภาใน
:!!:
ปัจจัยที่เกี่ยวกับ
บุคคลโดยตรงซึ่งบางปัจจัยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
องค์ประกอบทางกาย
พันธุกรรม
การถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้นเป็นที่ยอมรับว่าทำให้มีผลต่อสุขภาพของวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุมาก ทั้งในทางบวกและทางลบ
เชื้อชาติ
เชื้อชาติบางเชื้อชาติป่วยเป็นโรคบางโรคมากกว่าเชื้อชาติอื่นๆ เช่น โรคโลหิตจางบางชนิด เป็นในคนผิวดำมากกว่าผิวขาว
เพศ
โรคบางโรคพบบ่อยในเพศใดเพศหนึ่ง โรคที่พบบ่อยในเพศหญิง เช่น นิ่วในถุงน้ำดี
โรคที่พบบ่อยในชาย เช่น โรคกระเพาะอาหาร ไส้เลื่อน โรคทางเดินหายใจ
อายุและระดับพัฒนาการ
พัฒนาการทางด้านร่างกาย และจิตใจ ภาระงานพัฒนาการของแต่ละวัยจะมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วัยรุ่นเป็นวัยที่อยู่ในระยะของการเรียน และทดลองเข้าสู่บทบาทของความเป็นผู้ใหญ่ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ทำให้ตัดสินใจปฏิบัติสิ่งต่างๆ ผิดพลาด ทำให้มีผลเสียต่อสุขภาพได้
องค์ประกอบทางจิต
อัตมโนทัศน์ (self concept)
เป็นผลรวมของความรู้สึกนึกคิดและการรับรู้ที่ลึกซึ้งและซับซ้อนที่บุคคลมีต่อตนเอง และมีอิทธิพลอย่างมากในการกำหนดพฤติกรรม
การรับรู้ (perception)
การรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพที่จะมีผลดีต่อสุขภาพ คือ การรับรู้ว่า บางคนอาจป่วยเป็นโรคได้ทั้งที่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ การรับรู้ว่าการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและการป้องกันโรคเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าการรักษาเมื่อเจ็บป่วย
ความเชื่อ
ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพที่คนแต่ละคนยึดถือว่าเป็นความจริง ความเชื่อดังกล่าวอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ บุคคลจะปฏิบัติตามความเชื่อเหล่านี้อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์เซ่นใดก็ตาม
เจตคติ
สิ่งที่อยู่เบื้องหลังการประพฤติปฏิบัติต่างๆ เช่น ถ้าประชาชนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อสถานบริการสาธารณสุข ก็อาจจะไม่ไปใช้บริการจากสถานที่นั้น
ค่านิยม
ค่านิยมที่มีผล กระทบต่อสุขภาพ เช่น ค่านิยมของการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ซึ่งแสดงถึงความมีฐานะทางสังคมสูง ค่านิยมของการเที่ยวโสเภณีว่าแสดงถึงความเป็นชายชาตรี ค่านิยมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ คือ ค่านิยมของความมีสุขภาพดี
ความเครียด (stress)
ภาวะเครียดมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางด้านบวกและลบทางด้านบวก เช่น ในระยะพัฒนาการของร่างกายและจิตใจตามวัยนั้นก็เป็นการก่อความเครียดแก่ร่างกาย ซึ่งถ้าสามารถเรียนรู้และปฏิบัติภาระงานพัฒนาการจนผ่านพ้นไปได้บุคคล ๆนั้น
องค์ประกอบทางพฤติกรรม หรือแบบแผนการดำเนินชีวิต (life style)
พฤติกรรมเกี่ยวกับอนามัยส่วนบุคคล
เป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติเพื่อการมีอนามัยที่ดี ได้แก่ การแปรงฟัน การอาบน้ำ ความสะอาดของเสื้อผ้า การสระผม การดูแลสุขภาพของผิวหนัง การดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ สิ่งเหล่านี้เป็นกิจวัตรประจำวันที่บุคคลปฏิบัติ
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
คนที่ไม่รับประทานอาหารเช้า คนมีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือน้ำหนักเปลี่ยนแปลงบ่อย คนที่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ผู้ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งจะมีโอกาสตายง่ายกว่าบุคคลอื่น
พฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาว
ผู้ที่ถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลา อุจจาระมีลักษณะแข็งต้องเบ่งถ่ายอุจจาระ มีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคริดสีดวงทวารสูงกว่าคนที่มีการขับถ่ายเป็นเวลาและถ่ายสะดวก พฤติกรรมการกลั้นปัสสาวะทำให้เกิดเป็นโรคติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย
การพักผ่อนและการนอนหลับ
ร่างกายต้องการการพักผ่อนและการพักผ่อนที่ดีที่สุดคือ การนอนหลับ ผู้ที่พักผ่อนหรือนอนหลับไม่เพียงพอจะมีผลเสียต่อสุขภาพ
พฤติกรรมทางเพศ
การตอบสนองความต้องการทางเพศเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพได้ถ้าบุคคลนั้นมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งจากโรคติดเชื้อ
ปัจจัยภายนอก :!!:
องค์ประกอบทางสังคม
ระบบครอบครัวและเครือญาติ
ระบบเครือญาตินี้ถือว่าการเจ็บป่วยของบุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่ใช่เรื่องเฉพาะตัวของผู้นั้น หากแต่เป็นเรื่องของครอบครัว ญาติพี่น้อง และสังคมที่จะมีส่วนช่วยเหลือและรับผิดชอบ
ระบบการศึกษา
ะบบการศึกษาที่จัดให้แก่บุคคลในสังคมจะมีผลต่อสุขภาพของบุคคลในสังคมเช่นเดียวกัน การศึกษาที่ให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพจะช่วยให้เยาวชนมีพฤติกรรมเกี่ยวกับสุขภาพต่างๆ อย่างถูกต้อง เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การป้องกันอุบัติเหตุ
ระบบสาธารณสุข
ปัจจุบันรัฐได้พยายามกระจายบริการสาธารณสุขให้ครอบคลุมประชากรทั่วประเทศ โดยคัดเลือกผู้สื่อข่าวสาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุข เข้ามาช่วยปฏิบัติงานในชุมชนของตนเอง เป็นรูปแบบที่พยายามสนับสนุนและช่วยให้ประชาชนช่วยเหลือตนเองและเพื่อนบ้านเกี่ยวกับการดูแลรักษาโรคหรือการเจ็บป่วยที่จำเป็น
ระบบเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ
ระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นแบบทุนนิยมและกำลังเปลี่ยนแปลงจากระบบเกษตรกรรมเป็นระบบอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อสุขภาพอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะประชากร คือการย้ายถิ่น และการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ได้แก่ การประกอบอาชีพ สภาพความเป็นอยู่ และวิถีชีวิต ก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพทั้งทางกายและทางจิต
สภาพความเป็นอยู่
อาจจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับสุขภาพ เช่นอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด หรือไม่มีที่อยู่อาศัยที่แน่นอน ภาวะแวดล้อมในสังคมอุตสาหกรรม จะมีสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษมากขึ้น
วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปมีการใช้เทคโนโลยีต่างๆ
อำนวยความสะดวกและเป็นการประหยัดเวลามากขึ้น สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ แต่จริงๆ แล้วกลับทำให้ร่างกายมีสมรรถภาพในการทำงานลดลง เพราะเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ทำให้ร่างกายมีการใช้กำลังงานลดลงทำให้หัวใจ ปอด หลอดเลือด กระดูกและกล้ามเนื้อ ไม่มีความแข็งแรงพอ สิ่งเหล่านี้ทำให้ภาวะสุขภาพเปลี่ยนแปลงไป