Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายในหมายถึง…
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ปัจจัยภายใน
ปัจจัยภายในหมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวกับบุคคลโดยตรงซึ่งบางปัจจัยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ปัจจัยภายในประกอบด้วย องค์ประกอบ 3 อย่างคือ
องค์ประกอบทางกาย ได้แก่ องค์ประกอบที่เป็นมาตั้งแต่เกิด และจะเป็นอยู่เช่นนี้ ตลอดไปโดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้
.1 พันธุกรรม การถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้นเป็นที่ยอมรับว่าทำให้มีผลต่อสุขภาพของวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุมาก ทั้งในทางบวกและทางลบ
1.2 เชื้อชาติ เชื้อชาติบางเชื้อชาติป่วยเป็นโรคบางโรคมากกว่าเชื้อชาติอื่นๆ เช่น โรคโลหิตจางบางชนิด เป็นในคนผิวดำมากกว่าผิวขาว
1.3 เพศ โรคบางโรคพบบ่อยในเพศใดเพศหนึ่ง โรคที่พบบ่อยในเพศหญิง เช่น นิ่วในถุงน้ำดี โรคของต่อมไทรอยด์ โรคกระดูกพรุน โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ โรคที่พบบ่อยในชาย เช่น โรคกระเพาะอาหาร ไส้เลื่อน โรคทางเดินหายใจ โรคริดสีดวงทวาร เป็นต้น
.4 อายุและระดับพัฒนาการ โรคเป็นจำนวนมากแตกต่างกันตามอายุ เช่น วัยกลางคนเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบมากกว่าวัยหนุ่มสาว พัฒนาการทางด้านร่างกาย และจิตใจ ภาระงานพัฒนาการของแต่ละวัยจะมีผลกระทบต่อสุขภาพ
องค์ประกอบทางจิต ร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กัน สภาพอะไรก็ตามที่กระทบกระเทือนทางด้านร่างกายก็จะกระทบกระเทือนต่อจิตใจด้วย และสภาพอะไรก็ตามที่กระทบ กระเทือนต่อจิตใจก็จะมีผลให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ นอกจากนี้องค์ประกอบทางจิตยังเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมต่างๆ อีกด้วย
2.1 อัตมโนทัศน์ (self concept) เป็นผลรวมของความรู้สึกนึกคิดและการรับรู้ที่ลึกซึ้งและซับซ้อนที่บุคคลมีต่อตนเอง และมีอิทธิพลอย่างมากในการกำหนดพฤติกรรม
2.2 การรับรู้ (perception) การที่บุคคลจะมีพฤติกรรมเช่นใดนั้น ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของตนต่อสิ่งต่างๆ
2.3 ความเชื่อ ปกติคนเรามักได้ความเชื่อมาจาก พ่อ แม่ ปู ย่า ตา ยาย หรือผู้ที่เราเคารพเชื่อถือ จะยอมรับฟังโดยไม่ต้องพิสูจน์ ความเชื่อเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ความเชื่อเมื่อเกิดขึ้นแล้วมักจะเปลี่ยนแปลงยาก
2.4 เจตคติ เจตคติเป็นความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งต่างๆ อาจเป็นบุคคล สิ่งของหรือ นามธรรมใดๆ ก็ได้ การเกิดเจตคติอาจเกิดจากประสบการณ์ หรือเรียนรู้จากบุคคลใกล้ตัวก็ได้ เจตคติมีผลกระทบต่อสุขภาพ เนื่องจากเป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการประพฤติปฏิบัติต่างๆ
2.5 ค่านิยม คือการให้คุณค่าต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ค่านิยมของบุคคลได้รับอิทธิพลมาจากสังคม บุคคลพยายามแสดงออกถึงค่านิยมของตนทุกครั้งที่มีโอกาส ค่านิยมของสังคมใดสังคมหนึ่ง จะมีอิทธิพลต่อการประพฤติปฏิบัติของบุคคลในสังคมนั้นๆ อย่างมาก ค่านิยมที่มีผล กระทบต่อสุขภาพ
2.6 ความเครียด (stress) ภาวะเครียดมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางด้านบวกและลบทางด้านบวก เช่น ในระยะพัฒนาการของร่างกายและจิตใจตามวัยนั้นก็เป็นการก่อความเครียดแก่ร่างกาย ซึ่งถ้าสามารถเรียนรู้และปฏิบัติภาระงานพัฒนาการจนผ่านพ้นไปได้บุคคล ๆนั้น จะเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินในชีวิต แต่ละระยะของภาระงานพัฒนาการจะเต็มไปด้วยความเครียด ซึ่งจะต้องเรียนรู้และเอาชนะเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับพัฒนาการในขั้นต่อไป
องค์ประกอบทางพฤติกรรม หรือแบบแผนการดำเนินชีวิต (life style) พฤติกรรมหรือ แบบแผนการดำเนินชีวิตประจำวันนั้นเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพมากที่สุด เพราะเป็นองค์ประกอบที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งพบว่าประมาณร้อยละ 50 ของประชาชนที่เสียชีวิตในอเมริกามีสาเหตุมาจากการมีแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ไม่ถูกต้อง (Walker et al 1988 :89) แบบแผนการดำเนินชีวิต
3.1 พฤติกรรมเกี่ยวกับอนามัยส่วนบุคคล เป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติเพื่อการมีอนามัยที่ดี
3.2 พฤติกรรมการรับประทานอาหาร นิสัยการรับประทานอาหารเป็นการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะท้องถิ่น และความชอบของแต่ละคน พฤติกรรมการรับประทานมีผลกระทบต่อสุขภาพมาก บางคนรับประทานอาหารจุบจิบ ชอบรับประทานอาหารประเภทขบเคี้ยว ชอบอมทอฟฟี่ ซึ่งจะมีผลทำให้ฟันผุ บางคนไม่ชอบรับประทานอาหาร ประเภทผักและผลไม้ ทำให้มีกากอาหารน้อย ทำให้เสี่ยงต่อการป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ อาหารที่ไม่สะอาดทำให้ท้องเสีย อาหารสุกๆ ดิบๆ
3.3 พฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ผู้ที่ถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลา ถ่ายลำบาก อุจจาระมีลักษณะแข็งต้องเบ่งถ่ายอุจจาระ มีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคริดสีดวงทวารสูงกว่าคนที่มีการขับถ่ายเป็นเวลาและถ่ายสะดวก พฤติกรรมการกลั้นปัสสาวะทำให้เกิดเป็นโรคติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย
3.4 การพักผ่อนและการนอนหลับ เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่าร่างกายต้องการการพักผ่อนและการพักผ่อนที่ดีที่สุดคือ การนอนหลับ
3.5 พฤติกรรมทางเพศ การตอบสนองความต้องการทางเพศเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพได้ถ้าบุคคลนั้นมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง
3.6 พฤติกรรมอื่นๆ ได้แก่พฤติกรรมที่ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติในกิจวัตรประจำวันของบุคคลทั่วๆ ไป แต่อาจเป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำในคนบางคน พฤติกรรมเหล่านี้อาจแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
3.6.1 พฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ พฤติกรรมที่คนทำแล้วเชื่อว่าทำให้ตนมีสุขภาพดีพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรเพื่อดูแลสุขภาพและพฤติกรรมส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับระบบชุมชน และการดูแลสุขภาพส่วนรวม
3.6.2 พฤติกรรมเสี่ยง คือ พฤติกรรมที่ปฏิบัติแล้วทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพหรือ เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายแก่ร่างกาย เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า การกินยาบ้า การขับรถเร็ว
ปัจจัยภายนอก
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพที่สำคัญ นอกจากปัจจัยภายในซึ่งเป็นเรื่องของบุคคลแต่ละคนแล้ว ปัจจัยภายนอกนับว่ามีความสำคัญไม่น้อยในแง่ของผลกระทบต่อสุขภาพ
องค์ประกอบทางสังคม แต่ละสังคมประกอบด้วยระบบย่อยหรือสถาบันสังคมที่สำคัญ 6 ระบบคือ ระบบครอบครัวและเครือญาติ ระบบการศึกษา ระบบการสาธารณสุข ระบบเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ ระบบการเมืองและการปกครอง ระบบความเชื่อ หรือสถาบันศาสนา สุขภาพของบุคคลในสังคมจะได้รับอิทธิพลจากระบบต่างๆ เหล่านี้ แต่ละระบบจะกระทบต่อสุขภาพมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ปทัสถาน (norm) ของสังคมนั้นๆ
1.1 ระบบครอบครัวและเครือญาติ สังคมไทยเป็นสังคมแบบระบบเครือญาติ
1.2 ระบบการศึกษา ระบบการศึกษาที่จัดให้แก่บุคคลในสังคมจะมีผลต่อสุขภาพของบุคคลในสังคมเช่นเดียวกัน การศึกษาที่ให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพจะช่วยให้เยาวชนมีพฤติกรรมเกี่ยวกับสุขภาพต่างๆ อย่างถูกต้อง
1.3 ระบบสาธารณสุข ระบบการสาธารณสุขไทยมีทั้งระบบบริการโดยรัฐและบริการโดยเอกชน ปัจจุบันรัฐได้พยายามกระจายบริการสาธารณสุขให้ครอบคลุมประชากรทั่วประเทศ
1.4 ระบบเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ ระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นแบบทุนนิยมและกำลังเปลี่ยนแปลงจากระบบเกษตรกรรมเป็นระบบอุตสาหกรรม
องค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม มนุษย์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสิ่งแวดล้อม ปัจจัยอะไรก็ตามที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป จะกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ด้วยองค์ประกอบที่สำคัญของสิ่งแวดล้อม
2.1 สภาพทางภูมิศาสตร์ ลักษณะภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดฤดูกาลแตกต่างกันและอุณหภูมิของแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของบุคคลโดยตรง สภาพภูมิศาสตร์บางแห่งเอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตบางอย่างเจริญเติบโตได้ดี
2.2 สภาพที่อยู่อาศัย ที่อยู่อาศัยหรือบ้านเป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ตัวคนมากที่สุด ลักษณะบ้านที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพคือมีการระบายอากาศได้ดี อยู่ห่างไกลจากแหล่งอุตสาหกรรม ไม่มีเสียงรบกวน มีการกำจัดขยะที่ถูกวิธี มีท่อระบายนํ้าและมีการระบายนํ้า ไม่มีน้ำท่วมขัง มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ มีนํ้าดื่มนํ้าใช้ที่สะอาด มีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายและอาชญากรรม
2.3 สภาพสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ผลกระทบต่อสุขภาพอันเกิดจากมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ทั้งทางนํ้า ทางเสียง ทางอากาศ และทางดิน ทำให้เกิดโรคหรืออันตรายแก่ชีวิตได้ เช่นน้ำที่ถูกปนเปีอนด้วยเชื้อโรคหรือสารพิษจะทำให้ผู้บริโภคเป็นโรคของระบบทางเดินอาหารเช่น บิด ไทฟอยด์ หรือได้รับสารพิษโดยตรง การได้ยินเสียงที่ดังมากๆ นานๆ ทำให้ประสาทหูเสื่อม ความสามารถในการได้ยินลดลง การสูดอากาศหายใจที่มีแก๊สพิษ หรือสารพิษ ทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและเกิดการระคายเคืองของระบบหายใจ โดยเฉพาะสารตะกั่วที่อยู่ในบรรยากาศจากการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหลายประการ เช่น โลหิตจาง ระบบประสาทถูกทำลาย