Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth injury) (สาเหตุ (ทารกตัวโต, การคลอดท่าก้น,…
การบาดเจ็บจากการคลอด
(Birth injury)
สาเหตุ
ทารกตัวโต
การคลอดท่าก้น
ส่วนนำทารกมีขนาดใหญ่กว่าเชิงกราน
การคลอดยาก
ทารกคลอดก่อนกำหนด
การคลอดยาวนาน
ผู้ทำคลอดไม่ชำนาญ
การใช้สูติศาสตร์หัตถการ เช่น forceps extraction, vacuum extraction
ความหมาย
อันตรายหรือการบาดเจ็บที่ทารกได้รับในระยะคลอดและในขณะท้า การคลอดหรือเกิดจากการบาดเจ็บจากเครื่องมือในการทำคลอด การบาดเจ็บจากการ คลอดมีทั้งที่สามารถหลีกเลี่ยงได้และหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทารกอาจเสียชีวิตหรือมีความพิการ
การบาดเจ็บที่ศีรษะ
Caput succedaneum
สาเหตุ: ศีรษะถูกกดโดยตรงกับปากมดลูกที่ยังเปิดไม่หมดเป็นเวลานาน
การรักษาพยาบาล: อธิบายให้พ่อแม่ของทารกเข้าใจเพื่อคลายความวิตกกังวลว่าอาการนี้หายไปได้เองภายใน 2-3 วันแรก
Cephalhematoma
สาเหตุ กะโหลกศีรษะของทารกกดหรือกระแทกกระดูกเชิงกรานหรือกระดูก promontory of sacrum ของมารดา
การรักษาพยาบาล อธิบายให้มารดาทราบการเกิด สามารถหายได้เองเองภายใน 3 เดือน ให้มารดาดูแลทารกในการป้องกันภาวะตัวเหลือง สังเกตอาการซีดเจาะ hematocrit ดูแลอาการและรักษาความสะอาดให้ดีอยู่เสมอ ให้ทารกนอนตะแคงด้านตรงข้ามกับก้อนโน
หนังศีรษะหรือ
ใบหน้าเป็นรอยแดง
สาเหตุ เกิดจากการคลอดโดยใช้เครื่องดูดหรือคีม ไม่มีการรักษาเฉพาะ ยกเว้น bleb หรือแผลถลอกที่หนังศีรษะอาจใช้ยาต้านจุลชีพชนิดขี้ผึ้งทา
Subconjunctival and
retinal hemorrhage
คือการมีเลือดออกที่บริเวณเยื่อบุตา เกิดจากการมีแรงดันภายในทรวงอกเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน ขณะทรวงอกของทารกผ่านช่องทางคลอดหรือช่องทางคลอดบีบรัด ที่ศีรษะ ทำให้เส้นเลือดฝอยแตก ภาวะนี้ไม่ต้องรักษาหายได้เอง
เลือดออกใน
กะโหลกศีรษะ
สาเหตุคือ การคลอดก่อนก่าหนด การได้รับอันตรายรุนแรงจากการคลอด trauma ภาวะขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน
อาการและอาการแสดง moro reflex น้อยหรือไม่มีเลย ร่างกายอ่อนปวกเปียกเซื่องซึม ร้องเสียงแหลม หายใจผิดปกติ กระหม่อมโป่งตึง ชัก ดูดกลืนไม่ดี T ต่ำ
การพยาบาล ให้พักผ่อนเพียงพอ ดูแลให้หายใจสะดวกและได้รับออกซิเจนเพียงพอ ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอาหารเพียงพอ ป้องกันการชัก ป้องกันการติดเชื้อ ดูแลทารกด้านจิตใจ อธิบายให้บิดาและมารดาของทารกเข้าใจ
การบาดเจ็บ
บริเวณสันหลัง
เกิดกับทารกที่คลอดท่าก้นแล้วติดศีรษะ และผู้ท้าคลอดออกแรงดึง หมุนตัวทารกรุนแรงเกินไป
การรักษาพยาบาล ห้ามขยับหรือเคลื่อนย้ายทารกเพราะกระดูกที่หักอาจไปกดเส้นประสาทท่าให้เป็น อัมพาต (paralysis) ในรายที่เป็นมากอาจเสียชีวิตหลังคลอดไม่นาน
การบาดเจ็บของ
เส้นประสาทส่วนปลาย
ความผิดปกติของเส้นประสาทที่เลี้ยงใบหน้า เกิดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ถูกกดหรือกระทบกระเทือน เกิดอัมพาตชั่วคราวของกล้ามเนื้อหน้ามักเป็นด้านเดียว ส่วนใหญ่หายเองได้ภายใน 2-3 วันถึงเดือน การรักษา ดูแลไม่ให้ดวงตาได้รับอันตราย ดูแลให้ได้รับนม ในรายที่เส้นประสาทขาด ต้องได้รับการท้าศัลยกรรมซ่อมประสาท และอธิบายให้บิดามารดาของทารกเข้าใจเพื่อให้คลายความวิตกกังวล
การบาดเจ็บบริเวณกลุ่มประสาท Brachial
1.) อัมพาตของประสาทกล้ามเนื้อแขนส่วนบน แขนข้างนั้นส่วนบนขยับเขยื้อนไม่ได้ moral reflex ข้างนั้นจะเสียไปจะกลับเป็นปกติภายใน 1-3 สัปดาห์ ถ้าไม่หายภายใน 3 เดือน
2.) อัมพาตของประสาทกล้ามเนื้อแขนส่วนล่าง ได้รับอันตรายเส้นประสาทไขสันหลัง C7- C8 และ T1 ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณมือของเด็กขยับไม่ได้ กล้ามเนื้อมือเป็นอัมพาต งอมือและกำมือไม่ได้ grasp reflex หายไป อาจฟื้นตัวได้เองใน 1 เดือน
Phrenic nerve paralysis เกิดจากประสาทไขสันหลังระดับคอที่ 3,4,5 ได้รับอันตราย ทำให้เกิดการอัมพาตของกระบังลม อาการหายใจหอบ และเร็ว เขียว ปอดข้างที่ไม่มี Phrenic nerve มาเลี้ยงจะเคลื่อนไหวได้น้อย และอาจได้ยินเสียงการหายใจเบามาก
การบาดเจ็บ
ของอวัยวะภายใน
การบาดเจ็บของอวัยวะในช่องท้อง เช่น ตับแตก ม้ามแตก
กระดูกหัก
กระดูกไหปลาร้าหัก กระดูกต้นแขนหัก กระดูกต้นขาหัก