Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth injury) (สาเหตุ (ส่วนนำทารกมีขนาดใหญ่กว่าเชิงก…
การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth injury)
หมายถึง อันตรายหรือการบาดเจ็บที่ทารกได้รับในระยะคลอด และในขณะท้าการคลอด หรือเกิดจากการบาดเจ็บจากเครื่องมือ (mechanism trauma) ในการทำคลอด การบาดเจ็บจากการคลอดมีทั้งที่สามารถหลีกเลี่ยงได้และหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทารกอาจเสียชีวิต หรือมีความพิการ
สาเหตุ
ส่วนนำทารกมีขนาดใหญ่กว่าเชิงกราน (CPD)
การคลอดยาก (Dystocia)
การคลอดท่าก้น (Breech presentation)
ทารกคลอดก่อนก่าหนด (Precipitate labor)
ทารกตัวโต (Macrosomia)
การคลอดยาวนาน (Prolong labor)
ผู้ทำคลอดไม่ช่านาญ
การใช้สูติศาสตร์หัตถการ เช่น forceps extraction, vacuum extraction
ชนิดของการบาดเจ็บจากการคลอด
เลือดออกในกะโหลกศีรษะ (Intracranial hemorrhage)
เป็นภาวะเลือดออกในสมอง ซึ่งสามารถพบได้ในชั้น subarachnoid , subdural , epidural หรือในเนื้อสมองเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุดที่พบในทารกแรกเกิด
สาเหตุ
การได้รับอันตรายรุนแรงจากการคลอด trauma
ภาวะขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน CPD, Precipitate labor
การคลอดก่อนก่าหนด
ารใช้เครื่องมือช่วยคลอด
อาการและอาการแสดง
moro reflex น้อยหรือไม่มีเลย (Absent moro reflex)
ร่างกายอ่อนปวกเปียก (Poor muscle tone)
เซื่องซึม (Lethargy)
ร้องเสียงแหลม (High pitch city)
หายใจผิดปกติ (Abnormal respiration) เช่น apnea
กระหม่อมโป่งตึง (tense fontanels)
ชัก (Convulsion)
ดูดกลืนไม่ดี อุณหภูมิร่างกายต่่า
การพยาบาล
ให้ได้รับการพักผ่อนเพียงพอ
ดูแลเรื่องการหายใจของทารกให้หายใจสะดวก และได้รับออกซิเจนเพียงพอ จัดให้นอนราบ ศีรษะตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง อาจจัดศีรษะให้สูงกว่าระดับสะโพกประมาณ 2-3 นิ้ว
ดูแลให้ได้รับสารน้่าและอาหารเพียงพอ
ป้องกันอันตรายที่เกิดจากการชัก
ป้องกันการติดเชื้อ โดยให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลทารกด้านจิตใจ โดยสัมผัสอย่างนุ่มนวล
อธิบายให้บิดาและมารดาของทารกเข้าใจ และเกิดความอบอุ่นใจ
การบาดเจ็บบริเวณสันหลัง (spine and spinal cord injury)
การบาดเจ็บไขสันหลังพบได้น้อย มักเกิดกับทารกที่คลอดท่าก้นแล้วติดศีรษะ และผู้ท้าคลอดออกแรงดึงหมุนตัวทารกรุนแรงเกินไป
ส่วนใหญ่จะเกิดการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังระดับคออันที่ 4
อาการของการบาดเจ็บบริเวณสันหลัง อาจแสดงให้เห็นเมื่อคลอด หรือหลังคลอดไปแล้ว 1 สัปดาห์ อาการที่ตรวจพบได้แก่ ไม่เคลื่อนไหว (immobility) กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก (flaccidity) ถ้าเป็นมากจะเกิดภาวะการหายใจถูกกด ช็อก และ hypothermiaได้
การรักษาพยาบาล
ห้ามขยับหรือเคลื่อนย้ายทารก
1.การบาดเจ็บที่ศีรษะ (Cranial injury)
หนังศีรษะหรือใบหน้าเป็นรอยแดง (Erythema) เม็ดพอง (bleb), แผลถลอก (abrasion)
สาเหตุของภาวะเหล่านี้เกิดจากการคลอดโดยใช้เครื่องดูดหรือคีม
ไม่มีการรักษาเฉพาะ ยกเว้น bleb หรือแผลถลอกที่หนังศีรษะอาจใช้ยาต้านจุลชีพชนิดขี้ผึ้งทา
Cephalhematoma
เกิดจากการที่กะโหลกศีรษะของทารกถูกกดหรือกระแทกกระดูกเชิงกรานของมารดาคลำได้เป็นก้อนชัดเจนค่อนข้างตึง มีขอบเขตชัดเจน ส่วนใหญ่ก้อนจะไม่ข้ามรอยต่อกะโหลกศีรษะแต่ละชิ้น (suture) ถ้าเลือดออกมากอาจท้าให้ทารกซีดได้เลือดจะค่อยๆถูกดูดซึมภายใน 2-3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน
การรักษาพยาบาล
ให้มารดาดูแลทารกในการป้องกันภาวะตัวเหลือง
สังเกตอาการซีดเจาะ hematocrit
กรณีที่มีรอยถลอกให้ดูแลอาการและรักษาความสะอาด
ให้ทารกนอนตะแคงด้านตรงข้ามกับก้อนโน
อธิบายให้มารดาทราบถึงลักษณะการเกิด
การมีเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ (subperiosteal hemorrhage)
Caput succedaneum
เกิดจากการที่ศีรษะ ถูกกดโดยตรงกับปากมดลูกที่ยังเปิดไม่หมดเป็นเวลานานหรือเกิดจากการคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญกาศ พบได้ทันทีเมื่อแรกคลอดลักษณะขอบเขตไม่ชัดเจน กดบุ๋ม การบวมข้ามรอยต่อของกะโหลกศีรษะ (suture) ก้อนจะค่อยๆหายภายใน 36 ชั่วโมง หรือ 2-3 วัน
การรักษาพยาบาล อธิบายให้พ่อแม่ของทารกเข้าใจเพื่อคลายความวิตกกังวลว่าอาการนี้จะค่อยๆหายไปได้เองภายใน 2-3 วันแรก
การคั่งของน้่า มีการบวมบริเวณเนื้อเยื่อของหนังศีรษะ
Subconjunctival and retinal hemorrhage
การมีเลือดออกที่บริเวณเยื่อบุตา
เกิดจากการมีแรงดันภายในทรวงอกเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน ขณะทรวงอกของทารกผ่านช่องทางคลอดหรือช่องทางคลอดบีบรัดที่ศีรษะท้าให้เส้นเลือดฝอยแตก
ภาวะนี้ไม่ต้องรักษาหายได้เอง
กระดูกหัก (Fracture)
กระดูกต้นแขนหัก (fracture of humerus)
ไหล่ของทารกอาจเคลื่อนไหวได้ช้าๆหรือไม่ได้เลยเพราะเจ็บ คล้ารอยหักได้ชัดเจน ไม่พบ moro reflex ทารกจะร้องเมื่อขยับเขยื้อน
การรักษาพยาบาล คือ ตรึงบริเวณที่หักให้อยู่นิ่งกับที่ 7-10 วันกระดูกจะติดกันเป็นปกติ
มักพบในรายที่คลอดติดไหล่
กระดูกต้นขาหัก (fracture of humerus)
มักพบในการคลอดท่าก้น ท้องแรกคลอดยาก ใช้แรงดึงมาก เด็กจะร้องกวน ต้นขาบวม ไม่ยอมขยับ
สามารถรักษาได้โดยการจัดดึง (Skin traction) และเข้าเฝือก 3-4 สัปดาห์
กระดูกไหปลาร้าหัก (fracture of clavicle)
มักเกิดในเด็กตัวโตคลอดติดไหล่ หรือคลอดท่าก้น
อาจไม่มีอาการถ้ากระดูกไม่แยกจากกัน แต่ถ้ากระดูกแยกจากกัน (complete fracture) เมื่อคล้าจะพบกระดูกแยกหรืออาจเกยกัน เด็กจะเจ็บปวดร้องกวน
การรักษาพยาบาล
กระดูกหักที่ไม่แยกจากกัน ไม่จ้าเป็น ต้องใส่เฝือก กระดูกเชื่อมต่อเองเป็นปกติได้ภายใน 4-6 สัปดาห์
กระดูกหักแยกจากกันต้องใส่เฝือกชั่วคราว หรือรัดไม่ให้แขนมีการเคลื่อนไหว โดยใช้ bandage รัดแขนติดอกประมาณ 10 วันเมื่อกระดูกเริ่มติดดี จึงปล่อยให้ทารกเคลื่อนไหวแขนข้างนั้นได้
การบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral nerve injury)
ความผิดปกติของเส้นประสาทที่เลี้ยงใบหน้า (Facial nerve palsy)
อัมพาตของประสาทกล้ามเนื้อแขนส่วนบน (Erb’s palsy หรือ Erb – Duchene paralysis) เกิดจากการได้รับอันตรายต่อส่วนบนของเส้นประสาทระดับคอที่บริเวณ C5 - C6 เสียหน้าที่เป็นอัมพาตแขนข้างนั้นส่วนบนขยับเขยื้อนไม่ได้ จัดแขนของทารกให้อยู่ในท่ายอมแพ้ (Abduction 90 degree/external rotation of shoulder/flexion elbow 90 degree) ไม่ให้เคลื่อนไหวเป็นพักๆ
อัมพาตของประสาทกล้ามเนื้อแขนส่วนล่าง (Klumpke paralysis) เกิดจากการได้รับอันตราย เส้นประสาทไขสันหลัง บริเวณ C7- C8 และ T1 ท้าให้กล้ามเนื้อบริเวณมือของเด็กขยับไม่ได้ กล้ามเนื้อมือเป็นอัมพาต wrist drop งอมือและก่ามือไม่ได้ grasp reflex ของทารกจะหายไป ให้ส่วนที่ได้รับอันตรายไม่เคลื่อนไหว จัดแขนให้อยู่ในท่ากางหมุนออก ศอกงอตั้งฉากกับล้าตัวโดยยกแขนระดับศีรษะท่ายอมแพ้
การบาดเจ็บบริเวณกลุ่มประสาท Brachial (Brachial Plexus injury)
เกิดเนื่องจากเส้นประสาทที่ควบคุมความรู้สึกของใบหน้า ซึ่งได้แก่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (facial nerve) ถูกกดหรือได้รับความกระทบกระเทือนจากการคลอดยาก
เกิดอัมพาตชั่วคราวของกล้ามเนื้อหน้า โดยทั่วไปมักเป็นด้านเดียว
การรักษาพยาบาล
ดูแลไม่ให้ดวงตาได้รับอันตราย
ดูแลเกี่ยวกับการได้รับนม
ในรายที่เส้นประสาทขาด ต้องได้รับการท้าศัลยกรรมซ่อมประสาท (Neuroplasty)
Phrenic nerve paralysis
เกิดจากประสาทไขสันหลังระดับคอที่ 3,4,5 (C 3,4,5) ได้รับอันตราย ท่าให้เกิดการอัมพาตของกระบังลม โดยตรวจพบอาการหายใจหอบ และเร็ว เขียว ปอดข้างที่ไม่มี Phrenic nerve มาเลี้ยงจะเคลื่อนไหวได้น้อย และอาจได้ยินเสียงการหายใจเบามาก
การบาดเจ็บของอวัยวะภายใน (viscera)
การบาดเจ็บของอวัยวะในช่องท้อง เช่น ตับแตก ม้ามแตก สาเหตุเกิดการกดบริเวณอวัยวะภายในช่องท้องระหว่างการท้าคลอดศีรษะในท่าก้น ถ้าตับแตกมากจะมีเลือดออกในช่องท้องทารกมีอาการ ซีด ดูดนมไม่ดี หายใจหอบ หัวใจเต้นเร็ว ช็อกและอาจเสียชีวิตได้ ถ้าไม้ได้รับเลือด และการผ่าตัดรักษาอย่างทันท่วงที