Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทบาทของดนตรีในการสะท้อนแนวความคิดและค่านิยมที่เปลี่ยนไปของคนในสังคม…
บทบาทของดนตรีในการสะท้อนแนวความคิดและค่านิยมที่เปลี่ยนไปของคนในสังคม
มนุษยชาติทุกเผ่าพันธุ์มีวัฒนธรรมด้านค่านิยม และความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับดนตรีมาตั้งแต่อดีต
บางอย่างก็หายสาบสูญไปจากสังคมไทยแล้ว แต่บางอย่างก็ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมา
ค่านิยมของสังคม
ดนตรีไทยเป็นเครื่องมือที่ช่วยสะท้อนค่านิยมของคนในสังคม
ค่านิยมก็ย่อมเปลี่ยนแปลงตามสภาพของสังคมที่เปลี่ยนไป
อดีต
การฟังดนตรีไทยในสมัยก่อน นิยมฟังเพื่อความเพลิดเพลิน
วิถีชีวิตไม่รีบเร่งการบรรเลงดนตรีจึงบรรเลงได้ยาว
การขับร้องมีการเอื้อนเสียง ซึ่งแต่ละเพลงใช้เวลานาน
ผู้ฟังดนตรีไทยถือเป็นผู้มีรสนิยมดี
ปัจจุบัน
วิถีชีวิตเร่งรีบการบรรเลงดนตรีไทยจึงถูกจำกัดเวลา
เพลงถูกตัดทอนให้สั้นลง
เยาวชนรุ่นใหม่มองว่าดนตรีไทยเป็นเรื่องล้าสมัย
คนที่ชอบดนตรีไทยถือเป็นคนหัวเก่า
เยาวชนรุ่นใหม่ห่างเหินไปจากดนตรีไทย
ดนตรีไทยมีผู้สนใจน้อยลงเรื่อยๆ
การเล่นดนตรีไทยเปลี่ยนไปจากเดิม
มีการนำเครื่องดนตรีตะวันตกมาเล่นผสมวงกับดนตรีไทย
มีการใช้เครื่องดนตรีไทยบรรเลงเพลงสากล
ความเชื่อ
“ดนตรีไทยถือว่ามีครู”
ต้องทำพิธีไหว้ครูก่อนเมื่อจะฝึกหัดเล่น
หลังจากพิธีไหว้ครูแล้วจึง จะถึงพิธี
“ครอบ”
การประสิทธิประสาทวิทยาการหรืออนุมัติให้เริ่มเรียนวิชาดนตรีนั้นๆ ได้
หากผู้ใดไม่กระทำจะพบกับอุปสรรคหรืออาจถึงแก่ชีวิต
งานพิธีกรรมต่างๆ ที่ต้องการความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ก็จะต้องมีการบรรเลงดนตรีไทยประกอบด้วย
มีความเชื่อเกี่ยวกับตะโพน
“ตะโพนเป็นเครื่องดนตรีศักดิ์สิทธิ์ ถือเป็นบรมครูทางดุริยางคศิลป์"
ก่อนจะเริ่มการบรรเลงจะต้องนำดอกไม้ และจุดธูปบูชาตะโพนก่อนทุกครั้ง
ห้ามมิให้ใครเดินข้ามตะโพนเพราะอาจได้รับอันตราย ทั้งนี้ในวันครูตะโพนจะได้รับการเจิมเป็นพิเศษ
คนที่ไม่มีครูหรือคนที่มิใช่เป็นนักดนตรีจะมาตีเล่นไม่ได้
เครื่องดนตรีบางอย่างจะเกี่ยวพันกับเทพยดา
สิ่งเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นว่าสังคมยึดมั่นในระบบอาวุโส
การมีสัมมาคารวะยึดถือความกตัญญูรู้คุณ
ความมีระเบียบแบบแผน
และถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน