Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทารกในครรภ์อยู่ในภาวะคับขัน (fetal distress) (การรักษา (ตามทฤษฎี…
ทารกในครรภ์อยู่ในภาวะคับขัน (fetal distress)
การรักษา
ตามทฤษฎี
จัดท่านอนมารดาโดยให้นอนตะแคงซ้ายเพื่อลดการกดเส้นเลือด aorta และ inferior vena cava จากมดลูกเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและป้องกันการเกิด supine hypotension
ให้ออกซิเจนด้วยอัตรา 4 ลิตร / นาที่ ทางnasal cannula หรือ 8-10 ลิตร / นาที่ ทาง face mask
หยุดให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อลดการทำงานของมดลูกและช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด
ให้สารละลายทางหลอดเลือดดำเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
การเติมน้ำในโพรงมดลูก (amnioinfusion) เพื่อลดการกดจากมดลูกต่อทารกขณะมดลูกมีการหดรัดตัวโดยเฉพาะในรายที่มีภาวะน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ
แก้ไขภาวะความดันโลหิตต่ำของสตรีมีครรภ์ ได้แก่ นอนยกขาสูงให้สารละลายทางหลอดเลือดดำและให้ยาเพิ่มความดันโลหิต
ระยะคลอดพิจารณาช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการเช่นใช้คีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศในรายที่EHR pattern กลับสู่ปกติและผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องในรายที่ FHR ยังคงมี abnormal FHR pattern
ที่กรณีศึกษาได้รับ
จัดท่านอนมารดาโดยให้นอนตะแคงซ้าย
-->
ให้ออกซิเจน 5 LPM ทางnasal cannular
-->
เฝ้าติดตามอัตราการเต้นของหัวใจทารกและการหดรัดตัวของมดลูก โดยการทำ Electronic fetal heart rate monitoring
-->
โทรรายงานแพทย์
-->
Off syntocinon
-->
ให้สารน้ำLRS 1000 ml vein drip 100 cc/hr.
-->
set C/S
การพยาบาลสตรีที่ทารกในครรภ์อยู่ในภาวะคับขัน
1. การป้องกันทารกในครรภ์อยู่ในภาวะคับขัน
2 แนะนำให้สตรีมีครรภ์สังเกตและนับการดิ้นของทารก
3 แนะนำให้สตรีมีครรภ์สังเกตอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ทันที่ เช่น มีการแตกของถุงน้ำครำลักษณะน้ำคร่ำมีขี้เทาปนมีอาการแสดงของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด สายสะดือพลัดต่ำหรือตกเลือดเป็นต้น
1 ประเมินและวินิจฉัยความเสี่ยงของการเกิดภาวะทารกในครรภ์อยู่ในภาวะคับขัน
4 แนะนำให้สตรีมีครรภ์มาตรวจตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามภาวะสุขภาพทารกในครรภ์
5 ระยะคลอดดูแลให้ผู้คลอดได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอและจัดท่านอนศีรษะสูง
6 ดูแลให้ได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
7 ประเมินและบันทึกการหดรัดตัวของมดลูกและเสียงหัวใจ ทารกตามระยะของการคลอด และประเมินอย่างใกล้ชิดในรายที่มีภาวะเสียง
8 ดูแลการได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตามแผนการรักษา
9 รายที่มีการแตกของถุงน้ำคร่ำ ควรประเมินลักษณะน้ำคร่ำ ตรวจภายในและประเมินเสียงหัวใจทารกทันที เพื่อประเมินภาวะสายสะดือพลัดต่ำหรือภาวะขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์และให้ผู้คลอดพักผ่อนที่เตียง ในรายที่ส่วนนำยังไม่เข้าสู่ช่องเชิงกราน
10 ดูแลให้การคลอดดำเนินไปตามปกติและป้องกันการคลอดล่าช้า ได้แก่ กระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะจัดให้อยู่ในท่าศีรษะสูงหรือเปลี่ยนท่าบ่อยๆ รวมทั้งการเบ่งคลอดอย่างถูกต้องในท่าที่เหมาะสม
2. การพยาบาลเมื่อทารกในครรภ์อยู่ในภาวะคับขัน
1 จัดให้นอนตะแคงซ้ายเพื่อส่งเสริมการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงรก
2 ประเมินและบันทึกเสียงหัวใจทารกอย่างต่อเนื่องด้วย electronic fetal monitoring
3 ดูแลให้ออกซิเจนและสารละลายทางหลอดเลือดดำเมื่อพบว่าเสียงหัวใจทารกผิดปกติหรือพบขี้เทาในน้ำคร่ำ
4 หยุดยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
5 เตรียมผู้คลอดสำหรับการทำ amnioinfusion และช่วยเหลือแพทย์ในการทำหัตถการ
6 เตรียมผู้คลอดสำหรับการช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตการหรือการผ่าตัดคลอด
7 รายงานกุมารแพทย์และเตรียมอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพทารกให้พร้อมใช้
8 อธิบายให้ผู้คลอดและครอบครัวทราบถึงภาวะที่เกิดขึ้นภาวะแทรกซ้อนและแผนการรักษา เพื่อลดความวิตกกังวล
การวินิจฉัย
การตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจทารกที่ผิดปกติไป การตรวจที่สำคัญคือการตรวจ EFM ซึ่งแบ่งผลการตรวจ Electronic fetal heart rate monitoring ได้เป็น 3 กลุ่มคือ
กลุ่มที่ 2 (Category II) ลักษณะผลการตรวจการเต้นของหัวใจทารกเป็นแบบกำกึ่ง คือ บอกไม่ได้ชัดเจนว่าทารกปกติหรือผิดปกติ
กลุ่มที่ 3 (Category III) ลักษณะผลการตรวจการเต้นของหัวใจทารกบ่งบอกว่าการเต้นผิดปกติ (ช้าหรือเร็วกว่าปกติอย่างชัดเจน) ซึ่งบอกได้ว่าทารกผิดปกติ (Non-reassuring pattern)
กลุ่มที่ 1 (Category I) ลักษณะผลการตรวจการเต้นของหัวใจทารกบ่งบอกว่าทารกปกติ (Reassuring pattern) มีอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ย 110-160 ครั้งต่อนาที