Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Chapter 6 เทคโนโลยีสารสนเทศ (2.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS …
Chapter 6
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำ ข้อมูลดิบ (Raw data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง กระบวนการต่างๆ
และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ โดยจะรวมถึง
เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โทรคมนาคม
กระบวนการ (ในการนำเครื่องมือ ใช้งาน รวบรวม
จัดเก็บ ประมวลผล เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ )
คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี
มีความถูกต้องชัดเจน
ตรงกับความต้องการ
มีความกะทัดรัด ปริมาณพอเพียง
เป็นปัจจุบัน ทันสมัย
สะดวก รวดเร็ว ทันต่อการใช้งาน
เชื่อถือได้
เป็นระบบต่อเนื่องในการนำมาใช้งาน
กระบวนการของระบบสารสนเทศ
ขั้นเก็บข้อมูล
ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นรายงาน
ขั้นเผยแพร่
ขั้นนำไปใช้
ระบบสารสนเทศในปัจจุบัน
บุคลากรในแต่ละระดับชั้นมีหน้าที่ดังนี้
ระดับปฏิบัติการ
จะเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศในฐานะเป็นผู้จัดหาข้อมูลเข้าสู่ระบบ
ระดับวางแผนปฏิบัติการ
จะเป็นผู้บริหารขั้นต้นมีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานประจำวัน
และวางแผนบริหารงานที่มีระยะเวลาสั้นๆ
ระดับวางแผนการบริหาร
จะเป็นผู้บริหารระดับกลาง มีหน้าที่ในการวางแผน
ให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ ตามที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดมา
ระดับวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว
จะเป็นผู้บริหารระดับสูงสุด จะเน้นในเรื่องเป้าประสงค์ขององค์กร
และการวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต (Trend Analysis)
2.1 ระบบประมวลผลรายการ
(TPS : Transaction Processing Systems)
จะให้สารสนเทศสำหรับระดับปฏิบัติการเท่านั้น
มีการใช้งานแยกจากกันในแต่ละฝ่าย
ไม่มีความยืดหยุ่น
ไม่ตอบสนองทันทีทันใด ต้องรอให้ถึงเวลาสรุป
เช่น เจ้าหน้าที่ทำการป้อนข้อมูลในระบบการจองตั๋วเครื่องบิน
2.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
(MIS:Management Information System)
สร้างสารสนเทศสำหรับผู้บริหารทั้งระดับกลาง และระดับสูง ช่วยในการ
ควบคุม/ตรวจสอบการดำเนินงาน
วางแผน
ตัดสินใจ
ข้อมูลอาจมาจากฐานข้อมูลของระบบประมวลผลธุรกรรม มาสรุป เปรียบเทียบ ทำสถิติ วิเคราะห์ เป็นต้น
ผู้บริหารเรียกใช้สารสนเทศประกอบการตัดสินใจได้ดีกว่า ระบบ TPS
2.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
(DSS :Decision Support Systems)
ช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารเป็นไปได้อย่างสะดวก และง่ายต่อการเรียนรู้ และการใช้งาน
สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
มีข้อมูลและแบบจำลองสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของปัญหา
มีความยืดหยุ่นที่จะสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป
เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดทิศทาง และวางแผนในอนาคต
เพื่อกำหนดเป้าหมาย นโยบาย และวัตถุประสงค์ขององค์การ
ช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารเป็นไปได้อย่างสะดวก และง่ายต่อการเรียนรู้ และการใช้งาน
สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
มีความยืดหยุ่นที่จะสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป
เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดทิศทาง และวางแผนในอนาคต
มีข้อมูลและแบบจำลองสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของปัญหา
2.4 ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
(EIS :Executive Information Systems)
จุดเด่นของระบบคือการใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
นำข้อมูลจากภายในองค์กร และจากภายนอก มาจัดทำข้อสรุป
เรียกใช้ได้ง่าย รวดเร็ว ดูเข้าใจง่าย
ตัวอย่างของรายงาน เช่น รายงานเกี่ยวกับการเงิน และสถานภาพทางธุรกิจ ของบริษัท
2.5 ระบบผู้เชี่ยวชาญ
(Expert Systems)
เกี่ยวข้องกับการจัดการ ความรู้ (Knowledge) มากกว่าสารสนเทศ
ใช้หลักการทำงานด้วย ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เช่น Neural Network
ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เก็บข้อมูลและกฎเกณฑ์ของความรู้ ซึ่งรวบรวม
จากสาขาวิชาที่ต้องการความเชี่ยวชาญไว้ในฐานความรู้ (knowledge base
) และโปรแกรมจะดำเนินการเมื่อมีการป้อนข้อมูลโดยผู้ใช้ในลักษณะการถามตอบและ
ประมวลคำตอบเพื่อหาข้อสรุป
เช่น Neural Network
เป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ประเภทหนึ่งมีความสามารถในการเรียนรู้
เพราะว่าได้ถูกออกแบบมาเหมือนสมองมนุษย์
และเรียนรู้รูปแบบแลความสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ
ตัวอย่างของ (Expert Systems)ที่นำไปใช้ในงานด้านต่างๆ
1) ด้านการแพทย์ : การให้คำแนะนำแก่หมอในการสั่งยาปฏิชีวนะให้คนไข้ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ หลายประการ เช่น ประวัติการเจ็บป่วยของคนไข้ แหล่งติดเชื้อ ราคาของยา
2) ด้านการผลิต : การให้คำแนะนำแก่โรงงานในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ชิ้นส่วนเครื่องบิน
3) ด้านธรณีวิทยา : ให้คำแนะนำแก่นักธรณีวิทยาในการวิเคราะห์ดินและน้ำมัน
เพื่อพิจารณาในการขุดเจาะน้ำมัน
4) ด้านกระบวนการผลิต : ให้คำแนะนำในการกำหนดตารางเวลาในกระบวนการผลิต (Expert Systems Scheduling) ซึ่งทำให้บริษัทสามารถปรับตารางเวลาการการผลิต ให้สอดคล้องกับความต้องการในการเปลี่ยนแปลงการผลิตหรือเงื่อนไขของโรงงานที่เปลี่ยนไป อย่างรวดเร็ว
5) ด้านกระบวนการทำงานของบริษัทบัตรเครดิต : ใช้ ES ช่วยในกระบวนการทำงานตั้งแต่การประมวลการสมัครของลูกค้า
การอนุมัติเครดิต การรวมบัญชีที่ค้างชำระเกินกำหนดES ที่ใช้ระบบนี้เรียกว่า Authorization Assistant และทำให้บริษัทประหยัดเงินได้หลายล้านดอลล่าร์ในแต่ละปี
ภาพหุ่นยนต์ช่วยมนุษย์ทำงานและเป็นเพื่อนกับมนุษย์
ภาพหุ่นยนต์ช่วยทำความสะอาด
2.6 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และ
ขบวนการทางธุรกิจ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการตลาด
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการบัญชี
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบในทางบวก
ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์
ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น
ช่วยส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยให้มีความสะดวก
ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์
เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง
ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
ผลกระทบในทางลบ
ทำให้เกิดอาชญากรรม
ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย
ทำให้เกิดความวิตกกังวล
ทำให้เกิดการเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ
ทำให้มีการพัฒนาอาวุธที่มีอำนาจทำลายสูง
ทำให้ข้อมูลหรือโปรแกรมถูกทำลายได้