Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ((ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเต…
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล
ผู้รับ (receiver)
สื่อกลางหรือตัวกลาง (media)
ผู้ส่ง (sender)
โพรโตคอล (protocol)
ข่าวสาร (message)
ประเภทของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network: MAN)
ระบบเครือข่ายระดับประเทศ (Wide area network: WAN)
ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (Local area network: LAN)
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย
การเชื่อต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (ring network)
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว (Star network)
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (bus network)
เครือข่ายแบบ Hybrid
อุปกรณ์เครือข่าย
การ์ด LAN (Network Interface Card – NIC)
สวิตช์ (Switching)
โมเด็ม (modem)
ฮับ (hub)
เราท์เตอร์ (router)
โปรโตคอล (Protocol)
โปรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูล
ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลชนิดเดียวกัน
ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้เหมือนกับมนุษย์ที่ใช้ภาษาเดียวกัน
ในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันนั่น
องค์กรที่เกี่ยวข้องได้กำหนดโปรโตคอลที่เรียกว่า
มาตรฐานการจัดการระบบการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างระบบเปิด
(Open System International :OSI)
ชนิดของโปรโตคอล
เอชทีทีพี (HTTP)
เอสเอ็มทีพี (SMTP)
เอฟทีพี (FTP)
พีโอพีทรี (POP3)
ทีซีพีหรือไอพี (TCP/IP)
ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resources Sharing) หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน
การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
สามารถบริหารจัดการทำงานคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management)
สามารถทำการสื่อสารกันในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ
มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่าย (Network Security)
สื่อหรือตัวกลางของระบบสื่อสารข้อมูล
สำหรับคอมพิวเตอร์
สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) มี 2 ชนิด คือ
สายคู่บิดเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair : UTP)
สายคู่บิดเกลียวมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair : STP)
สื่อหรือตัวกลางประเภทมีสาย
สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นสื่อกลางที่มีส่วนของสายส่งข้อมูล
เป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยพลาสติก ส่วนชั้นนอกหุ้มด้วยโลหะ
หรือฟอยล์ถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน
สายใยแก้วนำแสง (Fiber-optic cable) เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งข้อมูล
ในรูปแบบของแสง
สื่อหรือตัวกลางประเภทไร้สาย
คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง
ส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลกันมากๆ หรือพื้นที่ทุรกันดาร
ดาวเทียม (Satellite) ในการส่งสัญญาณดาวเทียมนั้น จะต้องมีสถานี
ภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียม
แอคเซสพอยต์ (Access Point)
ความหมายเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ รวมถึงใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกัน
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ความหมาย ระบบการโอนถ่ายข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางหรือปลายทางโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โมเด็ม คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ ดาวเทียม ควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
การถ่ายโอนข้อมูล
การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน (Parallel transmission)
ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน ระยะทางของสายสัญญาณแบบขนานระหว่างสองเครื่องไม่ควรยาวเกิน 100 ฟุต
การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม (Serial transmission)
การถ่ายโอนข้อมูลแบบนุกรม
อาจจะแบ่งตามรูปแบบรับ-ส่ง ได้ 3 แบบคือ
1) สื่อสารทางเดียว (simplex) ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่า การส่งทิศทางเดียว (unidirectional data bus) เช่น การส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ เป็นต้น
2) สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ เป็นต้น
3) สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์เป็นต้น