Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอ…
-
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (Computer network) หมายถึงระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ รวมถึงใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกัน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกตามขนาดของเครือข่ายได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1) ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (local area network: LAN) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน
2) ระบบเครือข่ายระดับเมือง (metropolitan area network: MAN) เป็นเครือข่ายขนาดกลางที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดใกล้เคียงกัน
3) ระบบเครือข่ายระดับประเทศ (wide area network : WAN) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ใช้ติดต่อบริเวณกว้าง มีสถานีหรือจุดเชื่อมต่อมากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด
1) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus network)เป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์บนเคเบิลสายโคแอ็กเซียล หรือสายใยแก้วนำแสง และคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งๆ สามารถถ่ายทอดข้อมูลได้อย่างอิสระโดยข้อมูลจะวิ่งผ่านอุปกรณ์ต่างๆบนสายเคเบิล สายโคแอกเชียลหรือสายใยแก้วนำแสงจนกว่าจะถึงตำแหน่งที่อยู่ระบุไว้
2) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว (Star network)เป็นการเชื่อมต่อสายสื่อสารจากคอมพิวเตอร์หลายๆไปยังฮับ (hub) หรือสวิตซ์ (switch) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สลับสาย แบบกลางแบบจุดต่อจุด การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาวเป็นศูนย์กลางของการต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อสื่อสารถึงกัน
3) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (Ring network)เครือข่ายแบบนี้จะมีการติดต่อสื่อสารเป็นแบบวงแหวนโดยที่ไม่มีคอมพิวเตอร์หลัก คอมพิวเตอร์แต่ละ เครื่องในเครือข่ายสามารถติดต่อกันได้โดยตรง
4) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบผสม (Hybrid network)เป็นเครือข่ายที่ไม่มีรูปร่างที่แน่นอนเป็นการผสมเครือข่ายหลายๆ แบบเข้าด้วยกัน เช่น เครือข่ายแบบบัสผสมกับแบบวงแหวนและเครือข่ายแบบดาว
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึงระบบการถ่ายโอนข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางหรือปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โมเด็ม คอมพิวเตอร์อุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ ดาวเทียม ซึ่งควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
1) ข่าวสาร (message) เป็นข้อมูลรูปแบบต่างๆ เข้าสู่ระบบสื่อสาร โดยผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ2) แหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) หรือเรียกว่า “ผู้ส่งข้อมูล (Sender)” เป็นอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดส่งข่าวสารข้อมูลซึ่งนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แล้ว3) สื่อหรือตัวกลาง (medium) ในการส่งข้อมูล สื่อ อาจเป็นอุปกรณ์หรือวัตถุหรือพาหะชนิดใดก็ได้ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อแหล่งกำเนิดข่าวสารและแหล่งรับข่าวสารเข้าด้วยกันหรือเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล4) แหล่งรับข่าวสาร (receiver) หรือเรียกว่า “ผู้รับข้อมูล” ทกหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดมาจากผู้ส่งข้อมูลผ่านสือที่เชื่อมต่อระหว่างกัน การสื่อสารจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อข่าวสารที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นเป็นข่าวสารเดียวกัน กับข่าวสารที่ผู้ส่งข้อมูลได้ถ่ายทอดผ่านสื่อมายังผู้รับข้อมูล5) โพรโทคอล (protocol) คือข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือค่ายที่ใช้โปรโทคอลชนิดเดียวกัน ซึ่งสามารถติดต่อและส่งข้อมูลระหว่างกันได้
6.1 สื่อหรือตัวกลางประเภทมีสาย
1) สายคู่บิดเกลียว (twisted pair)
2) สายโคแอ็กเซียล (Coaxial cable
3) สายใยแก้วนำแสง (fiber-optic cable)
6.2 สื่อหรือตัวกลางประเภทไร้สาย
1) คลื่นวิทยุ (radio frequency)
2) ดาวเทียม (satellite)
3) คลื่นไมโครเวฟ (microwave)
4) อินฟราเรด (Infrared)
1) ฮับ (Hub) คืออุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลาย ๆ สถานีเข้าด้วยกัน 2) สวิตช์ (Switch) คืออุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับ-ส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ 3) อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์ (Router) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการเชื่อมโยงหลายๆ เครือข่าย หรืออุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกันดังนั้นจึงมีเส้นทางเข้า - ออกของข้อมูลได้หลายเส้นทางและแต่ละเส้นทางอาจใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่ต่างกัน
โพรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็นภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารที่เรียกว่า โพรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้
ตัวอย่างโพรโตคอล มีดังนี้
ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocol)
เอชทีทีพี (HTTP : Hyper Text Transfer)
เอสเอ็มพีที (SMPT: Simple Mail Transfer Protocol)
พีโอพีทรี (POP3: Post Office Protocol-3)
ไวไฟ (Wi-Fi: Wireless Fidelity)
บลูทูธ (Bluetooth)
9.1 การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนานทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน ระยะทางของสายสัญญาณแบบขนานระหว่างสองเครื่องไม่ควรยาวเกิน 100 ฟุต 9.2 การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมข้อมูลจะถูกส่งออกมาทีละบิต ระหว่างจุดส่งและจุดรับ การส่งข้อมูลแบบนี้จะช้ากว่าแบบขนานการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมต้องการตัวกลางส าหรับการสื่อสารเพียงช่องเดียวหรือสายเพียงคู่เดียว ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าแบบขนานสำหรับการส่งระยะทางไปไกลๆ โดยเฉพาะเมื่อเรามีระบบสื่อสารทางโทรศัพท์ไว้ใช้งานอยู่แล้ว ย่อมจะเป็นการประหยัดกว่าที่จะทำการติดต่อสื่อสารทีละ8 ช่อง เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมจะเริ่มโดยข้อมูลจากจุดส่งจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณอนุกรมเสียก่อน แล้วค่อยทยอยส่งออกทีละบิตไปยังจุดรับ และที่จุดรับจะต้องมีกลไกในการเปลี่ยนข้อมูลที่ส่งมาทีละบิต ให้เป็นสัญญาณแบบขนานซึ่งลงตัวพอดี
การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม อาจจะแบ่งตามรูปแบบรับ-ส่ง ได้ 3 แบบคือ
1) สื่อสารทางเดียว (simplex) ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่า การส่งทิศทางเดียว(unidirectional data bus) เช่น การส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ เป็นต้น
2) สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ เป็นต้น
3) สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน เช่นการสนทนาทางโทรศัพท์เป็นต้น