Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (โพรโตคอล …
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ประเภทของระบบเครือข่าย
แบ่งออกตามขนาดของเครือข่ายได้เป็น 3 ประเภท
1) ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (local area network: LAN) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น สำนักงาภายในโรงเรียน
2) ระบบเครือข่ายระดับเมือง (metropolitan area network: MAN) เป็นเครือข่ายขนาดกลางที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดใกล้เคียง เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไป
3) ระบบเครือข่ายระดับประเทศ (wide area network : WAN) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ใช้ติดต่อ
บริเวณกว้างใช้สื่อกลางหลายชนิด มีจุดเชื่อมต่อมากกว่า 1 แสนจุด เช่น ระบบคลื่นวิทยุหรือดาวเทียมและการใช้อินเทอร์เน็ต
ความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์(Computer network) หมายถึงระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ
โพรโตคอล
คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์
พีโอพีทรี (POP3: Post OfficeProtocol-3)
ใช้ในการดึงอีเมลไปยังกล่องรับไปรษณีย์
มาเก็บไว้ในเครื่องตนเอง
เอสเอ็มพีที (SMPT: Simple Mail
Transfer Protocol)ใช้ในการส่งอีเมลไปยัง
กล่องรับไปรษณีย์
เอชทีทีพี (HTTP : Hyper Text Transfer)
ใช้ในการส่งเพจที่อยู่บนเครื่องบริการข้อมูล
ไวไฟ (Wi-Fi: Wireless Fidelity)
ใช้ในการติดตั้งระบบแลนไร้สายในบ้าน
หรือสำนักงานขนาดเล็ก
เอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocol)
ส่งโอนไฟล์ข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
บลูทูธ (Bluetooth)
ใช้กับคลื่นวิทยุรับ-ส่งข้อมูล
ใช้ต่อพ่วงกับอุปกรณ์
เช่นหูฟัง เมาส์
ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : TransmissionControl Protocol
/Internet Protocol)
ใช้ในการสื่อสารระหว่่างคอมพิวเตอร์
ที่ใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน และอยู่บนเครือข่ายที่ต่างกัน
สื่อหรือตัวกลางของระบบสื่อสารข้อมูล
สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
6.1 สื่อหรือตัวกลางประเภทมีสาย
1) สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) เป็นสื่อหรือตัวกลางที่มีราคาถูกที่สุด
และนิยมใช้มากที่สุด
2) สายโคแอ็กเซียล (Coaxial cable) มี 2 แบบ ได้แก่ แบบหนา
และแบบบาง ใช้เชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยตรง
3) สายใยแก้วนำแสง (fiber-optic cable) ส่งสัญญาณได้ใน
ระยะทางไกลโดยไม่มีสัญญาณรบกวน ข้อมูลรั่วไหลได้ยาก
6.2 สื่อหรือตัวกลางประเภทไร้สาย
1) คลื่นวิทยุ (radio frequency) เป็นสื่อกลางที่เชื่อมต่อง่าย เชื่อมต่อการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ในระยะทางไม่ไกลมาก
2) ดาวเทียม (satellite) เป็นสื่อหรือตัวกลางที่มีสถานีรับ-ส่งอยู่บนพื้นดิน
ส่งสัญญาณครอบคลุมไปทั่วทุกจุดของโลกได้
3) คลื่นไมโครเวฟ (microwave)การส่งข้อมูลได้รวดเร็วมาก แต่สัญญาณจะถูกรบกวนได้ง่ายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
4) อินฟราเรด (Infrared) เป็นสื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางตัวส่งและตัวรับสัญญาณ เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะสั้น
อุปกรณ์เครือข่าย
1) ฮับ (Hub) อุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายๆ สถานีเข้าด้วยกัน การตรวจสอบข้อมูลจึงต้องดูที่แอดเดรส หรือแพ็กเกจที่กำกับมาในกลุ่มของข้อมูล
2) สวิตช์ (Switch)อุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาเช่นเดียวกับฮับ แต่ไม่ต้องกระจาย
ข้อมูลไปทุกสถานี ป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย
3) อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์ (Router)ต้องมีการเชื่อมโยงหลายๆ
เครือข่าย จึงมีเส้นทางเข้า-ออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง สามารถนำ
ข้อมูลออกเส้นทางได้ถูกต้องตามตำแหน่งแอดเดรส
องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่าย
1) ข่าวสาร (message) เป็นข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น อักขระ ภาพ เสียง ซึ่งผู้ส่งข้อมูลจะต้องนำข้อมูลเข้าสู่ระบบสื่อสารโดยผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
2) แหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) หรือเรียกว่า “ผู้ส่งข้อมูล (Sender)” เป็นอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดส่งข่าวสารข้อมูล
3) สื่อหรือตัวกลาง (medium) เป็นอุปกรณ์หรือวัตถุ สายโทรศัพท์โมเด็ม ซึ่งสามารถเชื่อมต่อแหล่งกำเนิดข่าวสารและแหล่งรับข่าวสารเข้าด้วยกันหรือเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล
4) แหล่งรับข่าวสาร (receiver) หรือเรียกว่า “ผู้รับข้อมูล” ทำหน้าที่รับข้อมูลมาจากผู้ส่งผ่านสือที่เชื่อมต่อระหว่างกัน
5) โพรโทคอล (protocol) คือข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การถ่ายโอนข้อมูล
9.1 การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน
ส่งข้อมูลออกมาทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิต ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่าน
9.2 การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม
ส่งข้อมูลออกมาทีละบิต การส่งข้อมูลจะช้ากว่าแบบขนาน แบ่งได้3แบบ
1) สื่อสารทางเดียว(simplex) ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น เช่น
การส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ
2) สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา(half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ
เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ
3) สื่อสารสองทางเต็มอัตรา(full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน เช่นการสนทนาทางโทรศัพท์
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่าย
หมายถึงระบบการถ่ายโอนข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางหรือปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เช่น โทรศัพท์ โมเด็ม ซึ่งควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย (Network Topology) คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางสามารถรับส่งข้อมูลถึงกัน เรียกว่า เซิฟเวอร์ (Server) ระบบเครือข่าย จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หรือเรียกว่า เครื่องลูกข่าย (Client)เพื่อติดต่อสื่อสาร
2) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว (Star network) เป็นการเชื่อมต่อสายสื่อสารจากคอมพิวเตอร์หลายๆไปยังฮับ (hub) หรือสวิตซ์ (switch) เป็นศูนย์กลางของการต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่าง
เครื่องคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อสื่อสารถึงกัน
3) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (Ring network) จะมีการติดต่อสื่อสารเป็นแบบวงแหวนโดยที่ไม่มีคอมพิวเตอร์หลักคอมพิวเตอร์แต่ละ เครื่องในเครือข่ายสามารถติดต่อกันได้โดยตรง
4) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบผสม (Hybrid network)
เป็นเครือข่ายที่ไม่มีรูปร่างที่แน่นอนเป็นการผสมเครือข่ายหลายๆ แบบเข้าด้วยกัน
1) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus network) คอมพิวเตอร์เครื่อง
หนึ่งๆ สามารถถ่ายทอดข้อมูลได้อย่างอิสระโดยข้อมูลจะวิ่ง ผ่านอุปกรณ์ต่างๆจนกว่าจะถึงตำแหน่งที่อยู่ระบุไว
นางสาว ศุภารัตน์ สิวิเส็ง ม.5/11 เลขที่43