Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พรบ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พศ 2537 (องค์การบริหารส่วนตำบล…
พรบ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พศ 2537
สภาตำบล
สมาชิกสภาตำบล
กำนัน
สภาตำบลมีกำนันเป็นประธานและมีรอง 1 คนมาจากการแต่งตั้งโดยนายอำเภอจากสมาชิกสภาตำบลตามมติของสภาตำบล
ประธานสภาตำบลเป็นผู้เรียกประชุมสภาตำบล
ผู้ใหญ่บ้าน
แพทย์ประจำตำบล
สมาชิกสภาตำบลหมู่บ้านละ 1 คน
มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
ให้มีการเลือกตั้งภายใน 45 วันเมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาตำบลได้ว่างลงเพราะครบวาระ
ให้มีการเลือกตั้งภายใน 60 วันเมื่อตำแหน่งนั้นว่างลงนอกเหนือจากปัจจัยครบวาระ
หมายเหตุ / สมาชิกสภาตำบลนั้นจะมีอยู่ในเทศบาลระดับตำบลแต่จะไม่มีในเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร
อำนาจหน้าที่ของสภาตำบล
สภาตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลตามแผนงานโครงการและงบประมาณของสภาตำบล เสนอแนะส่วนราชการในการบริหารราชการและพัฒนาตำบลปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตำบลตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
รายได้และรายจ่ายของสภาตำบล
ภาษี 2. ค่าธรรมเนียมต่างๆ 3. รายได้จากทรัพย์สินของสภาตำบล 4. รายได้จากสาธารณูปโภคของสภาตำบล 5. เงินและทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้ 6. เงินอุดหนุนจากรัฐบาล 7. รายได้อื่นๆที่มีกฎหมายกำหนด
รายได้ของสภาตำบลให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี = ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
รายจ่ายสภาตำบล
เงินเดือน 2. ค่าจ้าง 3. เงินค่าตอบแทนอื่นๆ 4. ค่าใช้สอย 5. ค่าวัสดุ 6. ค่าครุภัณฑ์ 7. ค่าที่ดิน สิ่งก่อสรา้งและทรัพย์สินอื่นๆ 8. ค่าสาธารณูปโภค 9. เงินอุดหนุนหน่วยงานอื่น 10. รายจ่ายอื่นใดตามข้อผูกพันหรือตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
เงินค่าตอบแทนประธานสภาตำบล รอง สมาชิกและเลขา = ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
การกำกับดูแลสภาตำบล
นายอำเภอมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบล
นายอำเภอมีอำนาจยับยั้งการดำเนินการของสภาตำบลเป็นการชั่วคราวในกรณีที่สภาตำบลปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ว่าราชการมีอำนาจสั่งการให้สภาตำบลระงับการดำเนินการดังกล่าวได้ในกรณีที่สภาตำบลดำเนินการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถสั่งยุบสภาตำบลได้ตามคำเสนอของนายอำเภอ ( กรณีที่สภาตำบลฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน )
หากการยุบสภาตำบลเกิดขึ้นจากกำนัน ผู้ใหย่บ้านหรือแพทย์ประจำตำบลผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถสั่งให้บุคคลดังกล่าวออกจากตำแหน่งและถ้าสมาชิกสภาตำบลเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถแต่ตั้งบุคคลตามจำนวนที่เห็นสมควรเข้าปฏิบัติหน้าที่กับสมาชิกสภาตำบลที่เหลืออยู่จนกว่าจะมีการเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหย่บ้านและแพทย์ประจำตำบลได้
ให้มีการประชุมสภาตำบลไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมมีสิทธิออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
องค์การบริหารส่วนตำบล
สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
สมาชิกสภา อบต หมู่บ้านละ 2 คน มาจากการเลือกตั้ง
อบต ใดมี 1 หมู่บ้านให้มีสมาชิก อบต 6 คน
อบต ใดมี 2 หมู่บ้านให้ อบต นั้นมีสมาชิก หมู่บ้านละ 3 คน
สภา อบต มีกำหนดคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
การถอดถอนสมาชิก อบต
ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขต อบต ใดมีจำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง
เมื่อประธานสภาหรือรองประธานสภา อบต ว่างลงเพราะเหตุอื่นที่นอกจากครบวาระ = ให้มีการเลือกประธานหรือรองประธานภายใน 15 วัน
ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญได้ 2 สมัยหรือหลายสมัยแต่ต้องไม่เกิน 4 สมัย
นายอำเภอต้องกำหนดให้สมาชิกสภา อบต ดำเนินการประชุมสภา อบต ครั้งแรกภายใน 15 วัน
สมัยประชุมสามัญสมัยหนึ่งๆ ให้มีกำหนดไม่เกิน 15 วัน
สมัยประชุมวิสามัญให้กำหนดไม่เกิน 15 วัน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบต
มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
คราวละ 4 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง
นายก อบต สามารถแต่งตั้งรองได้ไม่เกิน 2 คน
อำนาจในการสั่ง อนุญาต การอนุมัติ หากกฎหมายใดไม่ได้ห้ามไว้นายก อบต สามารถมอบอำนาจให้รองในการปฏิบัติราชการแทนได้แต่ต้องทำเป็นหนังสือ
แต่ถ้ามอบอำนาจให้ปลัด อบต หรือ รองปลัด อบต = ทำเป็นคำสั่งและประกาศให้ประชาชนทราบ
ให้มีปลัด อบต คนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง อบต รองจากนายก อบต
อำนาจหน้าที่ของ อบต
จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ
ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
อบต สามารถออกข้อบัญญัติ อบต เพื่อใช้ในเขต อบต เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
รายได้และรายจ่ายของ อบต
การกำกับดูแล อบต
นายอำเภอมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของ อบต
นายอำเภอสามารถรายงานเสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อยุบสภา อบต ก็ได้
อาจจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นเป็นเทศบาลได้=ประกาศกระทรวงมหาดไทย
งบประมาณ ทรัพย์สิน สิทธิ สิทธิเรียกร้อง หนี้ พนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างของ อบต ให้โอนไปเป็นของเทศบาลที่จัดตั้งขึ้น
อบต มีฐานะเป็นนิติบุคคล