Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (อุปกรณ์ในระบบเครือข่าย…
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูล
ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้น
ทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์
คอมพิวเตอร์ส าหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล
ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้
กำเนิดข้อมูลหรือเตรียม
ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสารหรือเป็นอุปกรณ์
สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป
ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
3.1 ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
3.2 เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา
3.3 รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน
3.4 สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดย
สามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น
สื่อกลางหรือตัวกลางในการน าส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจาก
ต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น
อากาศ เป็นต้น
โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อก าหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสาร
เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
ชนิดของสัญญาณข้อมูล
สัญญาณแอนะล็อก (analog signal) เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (sine
wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่แตกต่างกัน เมื่อน าสัญญาณ ข้อมูลเหล่านี้มา
ผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปรงสัญญาณ ก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการได้ตัวอย่างของการส่งข้อมูลที่มีสัญญาณ
แบบแอนะล็อกคือการส่งข้อมูลผ่านระบบโทรศัพท์เฮริตซ์(hertz) คือ หน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูล
แบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจ านวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาทีเช่น สัญญาณข้อมูลที่มี
ความถี่ 60 Hz หมายถึงใน 1 วินาทีสัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ
สัญญาณดิจิตอล (digital signal) สัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปแบบของ
สัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสาร ด้วยสัญญาณดิจิตอล
ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0 และ 1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิตอล การแทนข้อมูลดิจิตอลด้วยสัญญาณดิจิตอล มีหลายแบบ แบบที่แสดงไว้ในรูปที่ 6.4 เรียกว่า Unipolar เป็นวิธีที่แทนบิตข้อมูล 0
ด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่เป็นกลาง และบิตข้อมูล 1 ด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่เป็นบวก Bit rate เป็นอัตราความเร็วใน
การส่งข้อมูลแบบดิจิตอล วิธีวัดความเร็วจะนับจานวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาทีเช่น 14,400
bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจ านวน 14,400 บิต ในระยะเวลา 1 วินาที
วิธีการสื่อสารข้อมูล (Data Transmission)
ลักษณะของการสื่อสารข้อมูล มี2 รูปแบบคือ การสื่อสารแบบอนุกรม (serial data transmission) และการ
สื่อสารแบบขนาน (parallel data transmission) การสื่อสารแต่ละรูปแบบมีรายละเอียดดังนี้
การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม (Serial Transmission) เป็นการส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิต ไปบน
สัญญาณจนครบจ านวนข้อมูลที่มีอยู่ สามารถน าไปใช้กับ สื่อน าข้อมูลที่มีเพียง 1 ช่องสัญญาณได้สื่อน าข้อมูล
ที่มี1 ช่องสัญญาณนี้จะมีราคาถูกกว่าสื่อน าข้อมูลที่มีหลายช่องสัญญาณ และเนื่องจากการสื่อสารแบบอนุกรม
มีการส่งข้อมูลได้ครั้งละ 1 บิตเท่านั้น
การสื่อสารข้อมูลแบบขนาน (Parallel Transmission) เป็นการส่งข้อมูลครั้งละหลายบิตขนาน
กันไปบนสื่อนำข้อมูลที่มีหลายช่องสัญญาณ วิะีนี้จะเป็นวิธีการส่งข้อมูล
ที่เร็วกว่าการส่งข้อมูลแบบอนุกรม
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย (network topology)
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (bus network)
เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วย
อุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่ง เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ
คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดท างาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย การรับส่งสัญญาณบน
สายสัญญาณต้องตรวจสอบสายสัญญาณ BUS ให้ว่างก่อน จึงจะสามารถส่งสัญญาณไปบนสาย BUS ได
ข้อดีของการเชื่อแบบบัส คือ
สามารถติดตั้งได้ง่าย เนื่องจากเป็นโครงสร้างเครือข่ายที่ไม่ซับซ้อน การเดินสายเพื่อต่อใช้งาน
สามารถท าได้ง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย กล่าวคือ ใช้สายส่งข้อมูลน้อยกว่า เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับสายหลัก
ได้ทันทีง่ายต่อการเพิ่มสถานีใหม่เข้าไปในระบบ โดยสถานีนี้สามารถใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้
ข้อเสียของการเชื่อแบบบัส คือ
ถ้ามีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดไปจากสถานีใดสถานีหนึ่ง ก็จะท าให้ระบบเครือข่ายนี้หยุดการท างาน
ลงทันที
ถ้าระบบเกิดข้อผิดพลาดจะหาข้อผิดพกลาดได้ยาก โดยเฉพาะถ้าเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว (Star network)
เป็นการเชื่อมต่อสายสื่อสารจากคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องไปยังฮับ (hub) หรือ สวิตช์ (switch) ซึ่ง
เป็นอุปกรณ์สลับสายกลางแบบจุดต่อจุดเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างเครื่อง
คอมพิวเตอร์ให้ติดต่อสื่อสารถึงกัน
ข้อดีของการเชื่อมแบบดาว คือ ง่ายต่อการใช้บริการ เพราะมีศูนย์กลางอยู่ที่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายอยู่เครื่อง
เดียวและเมื่อเกิดความเสียหายที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นก็จะไม่มีผลกระทบอัน
ใดเพราะใช้สายคนละเส้น
ข้อเสียของการเชื่อมแบบดาว คือ ต้องใช้สายสัญญาณจ านวนมาก เพราะแต่ละสถานีมีสายสัญญาณของ
ตนเองเชื่อมต่อกับศูนย์กลางจึงเหมาะสมกับเครือข่ายระยะใกล้มาก กว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล การ
ขยายระบบก็ยุ่งยากเพราะต้องเชื่อมต่อสายจากศูนย์กลางออกมา ถ้าศูนย์กลางเสียหายระบบจะใช้การไม่ได้
การเชื่อต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (ring network)
การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่ง
ข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึง
เครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะท า ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
ข้อดีของการเชื่อมแบบวงแหวน คือ ใช้สายสัญญาณน้อยกว่าแบบดาว เหมาะกับการเชื่อมต่อด้วย
สายสัญญาณใยแก้วน าแสง เพราะส่งข้อมูลทางเดียวกันด้วยความเร็วสูง
ข้อเสียของการเชื่อมแบบวงแหวน คือ ถ้าสถานีใดเสียระบบก็จะไม่สามารถท างานต่อไปได้จนกว่าจะแก้ไข
จุดเสียนั้น และยากในการตรวจสอบว่ามีปัญหาที่จุดใดและถ้าต้องการเพิ่มสถานีเข้าไปจะพกหระท าได้ยากด้วย
อุปกรณ์ในระบบเครือข่าย
การ์ดเครือข่าย (Network Interface Card) หรือการ์ดแลน หรืออีเทอร์เน็ตการ์ด ท าหน้าที่ใน
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่เข้ากับระบบเครือข่ายได้ เช่น ในระบบแลนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
ในเครือข่ายจะต้องมีการ์ดเครือข่ายที่เชื่อมโยงด้วยสายเคเบิลจึงสามารถท าให้เครื่องติดต่อเครือข่ายได้
ฮับ (Hub) คือ อุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลาย ๆ สถานีเข้าด้วยกัน ฮับ
เปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับ-ส่งแบบอีเทอร์เน็ต หรือ
IEEE802.3 ข้อมูลที่รับ-ส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งกระจายไปยังทุกสถานีที่ติดต่ออยู่บนฮับนั้น ดังนั้นทุกสถานีจะ
รับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมดแต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น การตรวจสอบ
ข้อมูลจึงต้องดูที่แอดเดรส (address) ที่ก ากับมาในกลุ่มของข้อมูลหรือแพ็กเกจ
สวิตช์ (Switch) คือ อุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับ-ส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มี
ข้อแตกต่างจากฮับ คือ การฮับ-ส่งข้อมูลจากสถานีหรืออุปกรณ์ตัวหนึ่งจะไม่กระจายไปยังทุกสถานีเหมือนฮับ
ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูลหรือแพ็กเกจมาตรวจสอบก่อน แล้วดูว่าแอดเดรสของสถานีหลายทาง
บริดจ์ (Bridge) คือ อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับเครือข่ายหลาย ๆ กลุ่มที่เชื่อมต่อกันเนื่องจากสามารถ
แบ่งเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันหลาย ๆ เซ็กเมนต์แยกออกจากกันได้ ท าให้ข้อมูลในแต่ละเซ็กเมนต์ไม่ต้องวิ่งไปทั่ว
ทั้งเครือข่าย
รีพีตเตอร์ (Repeater) คือ อุปกรณ์ทวนสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ระยะไกลขึ้น คือ
รีพีตเตอร์จะปรับรูปแบบเดิม เพื่อได้สัญญาณสามารถส่งต่อไปได้อีก
โมเด็ม (Modem) คือ อุปกรณ์ที่ท าหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้สามารถเชื่อม
คอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลเข้าหากันได้ด้วยการผ่านสายโทรศัพท์ โดยโมเด็มจะท าหน้าที่แปลงสัญญาณ
เราเตอร์ (Router) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการเชื่อมโยงหลายๆ
เครือข่าย หรืออุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้น จึงมีเส้นทางเข้า - ออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง และแต่
ละเส้นทางอาจใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่ต่างกัน
เกตเวย์ (Gateway) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูล หน้าที่หลักของเกต
เวย์ คือ ช่วยท าให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่าย หรือมากกว่าที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน คือ ลักษณะของ
การเชื่อต่อ (Connectivity) ของเครือข่ายที่แตกต่างกัยน และมีโพรโตคอลส าหรับการส่ง - รับข้อมูลต่างกัน