Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
7 วิธีเตรียมความพร้อมสำหรับการนมัสการเพลงจากใจ (Intro (วิธีปฏิบัติสำหรับ…
7 วิธีเตรียมความพร้อมสำหรับการนมัสการเพลงจากใจ
Intro
วิธีปฏิบัติสำหรับ ‘การฝึกฝนความเป็นธรรมชาติ
แน่นอนว่ามันฟังดูตลก แต่ถ้าเราต้องการประสบการณ์ "ช่วงเวลาแห่งความเป็นธรรมชาติในการนมัสการ" ในโบสถ์ของเรา
เราต้องวางแผนและเตรียมตัวให้พร้อม!!!
เป็นสิ่งที่เราต้องเจอเช่นกัน ในฐานะผู้นำนมัสการ และในฐานะ"ทีม"นมัสการ
เราจำเป็นต้องทำความคุ้นเคยกับสิ่งต่างๆ 'ในทันที'
ทำตามผู้นำและฟังพระเจ้า
และดูบรรยากาศในห้องเพื่อทิศทางใหม่ๆ
ลองคิดดูว่า
นักดนตรีแจ๊สผู้โด่งดัง
คงไม่ทำแค่หยิบเครื่องดนตรีขึ้นมาในวันเหนึ่งแล้วโซโล่เพลงอย่างสมบูรณ์แบบขึ้นมาแบบอัศจรรย์
พวกเขาใช้เวลาหลายปี
ในการฝึกทักษะและการฝึกฝน
ลองอะไรใหม่ๆ
ลองผิดลองถูก
จนกระทั่งสามารถเล่นแบบมีสไตล์เป็นของตัวเองขึ้นมาได้อย่างอัตโนมัติ
1.ฝึกร้องอย่างเป็นธรรมชาติ
ในการซ้อมนมัสการแบบเป็นทีม หลีกเลี่ยงการจบแบบธรรมดา ทดลองเล่นต่อไปในท่อนสุดท้าย อาจวนลูป คอร์ดสุดท้าย หรือเล่นคอร์ดซ้ำ (ตัวอย่างเช่นในคีย์ D ซ้ำ D, G) สองคอร์ดนี้มีความใกล้เคียงกันทั้งเรื่องเสียง และความรู้สึกว่า "ปลอดภัย"สำหรับการอิมโพรไวซ์
ตัวอย่างเช่น วิธีที่เราเคยใช้ในการร้อง‘Heart of Worship’ และในลูปสุดท้ายที่เป็นคอร์ดD G ชวนทุกคนให้ร้อง "เยซู" ด้วยกันแค่1,2โน๊ต (ด้วยกัน และพร้อมกัน!)จากนั้นคุณสามารถขยายความต่อไปได้ว่า คุณต้องการจะพูดอะไรกับพระเยซูหรือเกี่ยวกับพระเยซู?
ร้อง และ หนุนใจให้คนร้องออกมา ไม่ต้องกลัวว่าจะร้องผิด
ในส่วนของการใช้วิธีการนี้ในการซ้อมนมัสการก่อนไปใช้จริงในรอบนมัสการ จะทำให้ได้เกิดการลองฝึกลองทำ
เมื่อคุณลองวิธีนี้ คุณสามารถปรับปรุงหรือปรับใช้ได้โดยการเชิญชวนให้คนร้องเพลงท่อนสั้น ๆ หรือวลีง่ายๆ ที่คนอื่น ๆ จะสามารถทำได้และทำซ้ำได้
ลองวิธีนี้กับตัวคุณเองก่อน หลีกเลี่ยงการร้องท่อนยาวๆท่อนที่ยากๆหรือโน๊ตที่แปลกๆ
หรือจะลองขอให้นักดนตรีอิมโพรไวซ์คอร์ดต่อเนื่อง หรือ ขอให้สมาชิกวงอ่านข้อความสั้น ๆในพระคัมภีร์ ที่รู้สึกว่าเหมาะสม หรือการวิธีอื่นของการนมัสการในขณะนั้น
ยิ่งฝึกฝนวิธีเหล่านี้มากเท่าไหร่ จะยิ่งทำให้รุ้สึกมั่นใจในการเล่นวันอาทิตย์
2.ฝึกตอนจบแบบต่างๆ
ในการฝึกซ้อมของฉัน ฉันมักจะฝึกวิธีจบเพลงมากกว่า1แบบกับวงของฉัน
อาจจะเป็นการจบแบบ "ยิ่งใหญ่" โดยร้องท่อนคอรัสดังๆ และจบพร้อมๆกันด้วยคอร์ดสุดท้ายอย่างพร้อมเพรียง
ไม่ก็ลองจบแบบ "เงียบ" ด้วยการวนท่อนคอรัสด้วยความเบา และอาจจะ กเล่นคอร์ดสุดท้ายวนเวียนไปสักพักหนึ่ง เปิดช่องสำหรับพูด อธิษฐาน หรือร้องเพลงคลอไป(เพลงจากใจ)
นอกจากนี้คุณอาจมีตัวเลือกเพิ่มเติมในเพลงถัดไป
ฝึกซ้อมการจบในแบบต่างๆ จะทำให้มีตัวเลือก และฝึกให้วงสังเกตุคุณในช่วงตอนจบของเพลงว่าคุณจะนำให้จบแบบไหน
4.เลือกเพลงไว้เยอะๆ
หัวข้ออื่นเข้ามาในขณะที่กำลังอยุ่ในรอบนมัสการ ทำให้คุณคิดว่าเพลงที่ไม่ได้เตรียมมาอาจจะเป็นเพลงที่ใช่ก้ได้
และในขณะที่คุณคิดขึ้นมาได้นั้น
1) วงไม้ได้เตรียมหรือไม่ได้ซ้อมเพลงนี้
2) ไม่มีเนื้อเพลงสำหรับขึ้นหน้าจอ
3) คุณเองก็ไม่แม่นเนื้อ!
สิ่งที่ฉันทำก็คือ เตรียมเพลงมาให้มากกว่าที่คิดว่าจะร้อง
เช่น ถ้าฉันต้องนำ เป็นเวลา15นาที, ฉันอาจจะเลือกเพลงไว้อยู่แล้วหนึ่งหรือสองเพลง แต่ นอกจากนั้น จะซ้อมเผื่อ4-5เพลง ไว้เผื่อเลือก ทุกคนเข้าใจดีและพร้อมสำหรับเพลง หนึ่งถึงสองเพลงที่เลือกมาจากเพลงที่เตรียมไว้ จะทำให้แผนที่วางไว้ยืดหยุ่นได้มากขึ้นและทำให้วงสังเกตุคุณมากขึ้น
5.อธิบายให้คริสตจักร
ถ้าคริสต์จักรของคุณยังไม่คุ้นเคยกับการแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติในการนมัสการ,
ทำให้แน่ใจว่า คุณและผู้นำท่านอื่นๆ สรุปหรืออธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับ สิ่งที่เกิดขึ้นและท่าทีตอบสนองที่อาจเกิดขึ้น
ตัวอย่างเช่นถ้าคุณรู้สึกว่ามันถูกต้อง ที่จะมีช่วงเวลาสำหรับดนตรีบรรเลง, คุรควรจะพูดว่า: “ในขณะที่เราได้ยินเสียงฟลูทเล่นอยู่นั้นทำไมเราไม่อ่านเนื้อเพลงนี้และตอบสนองไปถึงพระเจ้าในใจเรา”.
หรือถ้า เรารู้สึกว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ต้องการจะสัมผัสผู้คน, คุณควรจะพูดว่า “ในขณะที่ดนตรีกำลังเล่นอยู่, เราจะให้ช่วงเวลานี้แก่พระวิญญาณบริสุทธิ์ ในการสัมผัสเรา เพื่อการฟื้นฟู. ถ้าคุณต้องการรับกำลังนี้จากพระเจ้าคุณสามารถยกมือขึ้นรับเหมือนกับเวลาที่คุณรับของขวัญ"
3.ปรับปรุงการส่ง"สัญญาณ"
มันยากที่จะเล่นดนตรีให้ออกมาเป็นธรรมชาติ ถ้าไม่มีการส่งสัญญาณที่ชัดเจนและเป็นที่เข้าใจกันทุกคน ทุกคนมีวิธรการสื่อสารที่แตกต่างกัน(บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับว่ามือของคุณมีอิสระที่จะส่งสัญญาณหรือไม่และอะไรคือสิ่งที่คุณต้องการจะสื่ออกไป)
โดยส่วนตัว ฉันมั่นใจว่าเรามีสัญญาณสำหรับ
จะหยุด
เล่นซ้ำตรงไหน
ดังขึ้น
เล่นเฉพาะดนตรี (เช่น กลอง คีย์บอร์ด หรือนักร้องอย่างเดียว)
เฟดเบา
ฉันมักจะ พยักหน้า เขย่ามือ แกว่งมือ แถวๆท้ายกีตาร์ แต่มันก็ไม่ได้สำคัญมากว่าคุณจะทำสัญญาณแบบไหนตราบใดที่วงเข้าใจสัญญาณของคุณ
7.ฟังพระเจ้าในทั้งสัปดาห์ไม่ใช่แค่เฉพาะวันอาทิตย์
ท้ายที่สุด,ถ้าเป้าหมายของเรา คือรุ้ถึงน้ำพระทัยพระเจ้า และตอบสนองออกมาทันทีอย่างเป็นธรรมชาติ, เราจำเป็นต้องพัฒนาตัวเอง และและคอยฟังพระเจ้าตลอดทั้งสปดาห์.
ผู้คนมักจะรับพระคำพระเจ้าและเคลื่อนไหว กระทำตาม ในช่วงการนมัสการ, แต่พลาดที่จะฟังเสียงพระเจ้าที่บ้าน ออฟฟิศ ระหว่างทางไปทำงาน
และในบางครั้งมันยากที่จะรับรู้ช่วงเวลาที่กดดันเหล่านั้นจากพระวจนะพระเจ้า และสิ่งที่เป็นเพียงความคิดแปลกประหลาดจากจินตนาการของเราเอง! ถ้าคุณกำลังเริ่มต้นในเรื่องนี้ อาจจะหาเพื่อนเพื่อเริ่มฟังพระเจ้าด้วยกัน (ฉันมีคำถามสำหรับพระเจ้าโดยเฉพาะ– “ในสถาณการณ์นี้ พระองค์จะทำอะไร…” ช่วยให้ได้ยินพระเจ้ามากกว่าเวลาทั่วๆไปเสียงพระเจ้าเหมือนกับกล้ามเนื้อ – เราสร้างมันเท่าที่เราต้องใช้ เริ่มจากจุดเล็กๆชื่นชมยินดีกับตัวเองแม้ไม่ได้ยินเสียงพระเจ้า, และเมื่อเวลาผ่านไป
คุณจะพัฒนาตัวเองให้ไวต่อทิศทางของพระเจ้า.
6.ฟังจิตวิญญาณและบรรยากาศที่ประชุม
ฉันพบว่าการนำนมัสการในลักษณะนี้ จะเป็นไปได้ดีกว่าถ้าฉันลืมตา
ถ้าหลับตา ฉันไม่สามารถเห็นว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในห้องประชุม (ผู้คนกำลังทำอะไร ดูเบื่อหน่ายไหมหรือหายไปกันหมดแล้ว…?!) แต่ว่าเราสามารถมองเห็นได้ด้วยความรุ้สึก.
ในขณที่กำลังอ่านพระวจนะ ฉันกำลังอธิบายว่าฉันเห็นอะไรบ้างในที่ประชุม, แล้วพระเจ้าก็เผยพระวจนะว่าให้เราร้องอะไรหรืออธิษฐานอะไร, หรือจะไปในทิศทางไหน.
เวลาที่เราหลับตาเราจะจดจ่อที่ความเป็นส่วนเราว่าเรากำลังรุ้สึกอะไร, แต่ว่าเวลาที่เราลืมตาพระเจ้าจะเผยต่อเราได้ว่านี่เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ต้องการอะไรจากที่ประชุม และต้องการให้อะไรต่อที่ประชุม. เป็นสิ่งสำคัญในการสือสารทางสายตากับหัวหน้าฝ่ายอื่นๆด้วย,