Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัดเกาะแก้วสุทธาราม (พิพิธภัณฑ์ของวัด (ภายใน ” วัดเกาะ “…
วัดเกาะแก้วสุทธาราม
พิพิธภัณฑ์ของวัด
ภายใน ” วัดเกาะ “ วัดเกาะแก้วสุทธาราม ” ยังมี พิพิธภัณฑ์ของวัดที่จัดแสดงโบราณวัตถุ ประเภท พระพุทธรูป สมุดข่อย เครื่องลายคราม เครื่องเบญจรงค์ และเครื่องสังเคต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงถวายในงานพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช อันเป็นแหล่งการเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดเกาะแก้วสุทธาราม เป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 71 ตอนที่ 3 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2497 และเล่ม 101 ตอนที่ 27 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2527
ประวิติ
วัดเกาะแก้วสุทธาราม ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี สาเหตุที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกกันว่า ” วัดเกาะ ” ในสมัยก่อนมีสายน้ำไหลผ่านรอบด้าน คือ ด้านทิศตะวันตกจรดแม่น้ำเพชร และมีสายน้ำแยกจากแม่น้ำเพชรย่าน วัดเกาะ 2 สาย คือทางทิศเหนือของวัด สายน้ำแยกจากแม่น้ำสายใหญ่ไหลไปทางทิศตะวันออก ไหลพุ่งตรงไปออกแนวบ้านอาษา (คือท่าหินในปัจจุบัน) ผ่านวัดเพชรพลี ใกล้ๆ วัดเพชรพลี มีวัดร้างอยู่วัดหนึ่งอยู่ติดถนนท่าหินใกล้ทางรถไฟ ชื่อวัดปากน้ำ สายน้ำอีกสายหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ของวัด เป็นคลองคั่นระหว่าง วัดเกาะ กับ วัดจันทราวาส เรียกว่า คลองวัดเกาะ ไหลไปทางทิศตะวันออกไปบรรจบกับ สายน้ำทางทิศเหนือรวมตัวไปทางทิศตะวันออก ทำให้อาณาเขตของวัดมีสภาพเป็นเกาะจึงได้ชื่อว่า วัดเกาะ และสายน้ำแห่งนี้ยังเปรียบเสมือนสายเลือดใหญ่ ที่หล่อเลี้ยงคนในชุมชนนี้อีกด้วย
จากหลักฐานโบราณวัตถุสถานที่พบใน วัดเกาะ สันนิษฐานได้ว่า คงสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สถาปัตยกรรมสำคัญของวัด ได้แก่ พระอุโบสถ ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว ผนังด้านหน้าพระอุโบสถเป็นภาพจักรวาลตามคติโบราณ ส่วนผนังด้านหลังเป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ผนังด้านทิศใต้เป็นภาพพุทธประวัติตอนสำคัญที่เกิดขึ้น ณ สถานที่สำคัญ 8 แห่ง เรียกว่า “อัฏฐมหาสถาน” แทรกอยู่ระหว่างภาพเจดีย์ใต้ภาพฉัตร
ส่วนผนังด้านทิศเหนือ เป็นภาพแสดงสถานที่สำคัญที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับหลังตรัสรู้แล้ว ๗ แห่ง เรียกว่า “สัตตมหาสถาน” แทรกอยู่ระหว่างภาพเจดีย์ใต้ภาพฉัตรเช่นเดียวกัน เหนือขึ้นไปเป็นภาพนักสิทธิ์วิทยาธร และคนธรรพ์ ที่มีลักษณะเป็นตัวแทนของชนชาติต่างๆ และมีอักษรจารึกระบุ พ.ศ.2277 บอกเวลาที่เขียนภาพจิตรกรรมนี้ ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.2275–2301) มรดกทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญอื่นๆ ของวัดเกาะแก้วสุทธาราม ได้แก่พระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนมีแบบแผนเดียวกันกับพระอุโบสถแต่มี ลักษณะเรียบง่ายกว่า
จดีย์ทรงเครื่อง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกด้านหน้าระหว่างพระอุโบสถและพระวิหาร ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงกลมขนาดใหญ่ มีการประดับตกแต่งด้วยกลีบบัว กระจังปฏิญาณ และพวงอุบะ บริเวณส่วนปากระฆังและองค์เจดีย์ แต่เดิมเป็นเจดีย์ขนาดย่อมภายในประดิษฐานพระบรมธาตุ ในปี พ.ศ.2468 ท่านพระครูเทพโรปมคุณ (หลุย สุวณโณ) จึงได้สร้างเจดีย์องค์ปัจจุบันขึ้นครอบทับไว้
พระอุโบสถ
จิตกรรม
เป็นจิตรกรรมเขียนด้วยสีฝุ่น ที่แสดงให้เห็นรูปแบบ ลักษณะ สี องค์ประกอบและเทคนิคของจิตรกรรมสมัยอยุธยาได้อย่างชัดเจน เช่น การใช้สีอ่อน ใช้สีไม่มากสี คือ แดง ดำ ขาว เหลือง ลงพื้นด้วยสีขาว แล้วเขียนบนพื้นสีเข้ม การลงสีใช้สีแก่ อ่อน โดยใช้น้ำเป็นตัวผสาน
จุดเด่นของจิตรกรรม
การจัดวางองค์ประกอบภาพในแนวตั้ง โดยใช้ทรงของเจดีย์และฉัตรสลับกัน แล้วมีกรอบทรงสาม เหลี่ยมครอบ ทำให้เกิดเป็นแนวเส้นทรงสามเหลี่ยมซ้อนกันสองชั้นต่อเนื่องกัน หยักเป็นฟันปลาใช้เป็นสินเทาแบ่งภาพ ใช้วิธีนี้แบ่งผนังด้านข้างทั้งสองด้านให้เหมือนกัน จึงเกิดความสมดุล งามตา ช่องว่างระหว่างเจดีย์และใต้ฉัตร บรรจุเรื่องราวพุทธประวัติ ช่องว่างระหว่างยอดเจดีย์และยอดฉัตรเขียนภาพวิทยาธรขนาดค่อนข้างใหญ่ เป็นการวางองค์ประกอบภาพที่มีลักษณะเฉพาะตัว แม้ว่าจะมีลักษณะเฉพาะ แต่ก็มีลักษณะร่วมกับจิตรกรรมร่วมสมัยเช่นกัน การวางภาพยาวตลอดผนัง การคั่นภาพไม่เขียนติดกันเป็นพืด การวางเจดีย์เป็นรูปตั้ง
การจัดวางกลุ่มตัวภาพ การใช้สีที่แตกต่างกัน ทำให้แยกองค์ประกอบได้ง่าย และติดตามภาพได้ดี แม้ภาพจะรวมกันแน่น
การเขียนตัวภาพเขียนแบบเรียบง่าย บางแห่งใช้การตัดเส้นรูปนอกเท่านั้น ทำให้ชวนมอง ช่วงว่างระหว่างเจดีย์กับฉัตรเป็นพื้นขาว นอกจากเรียนภาพวิทยาธร พื้นที่ว่างเขียนลายเมฆ ช่อดอกไม้ ลายดอกไม้ร่วง พื้นหลังเจดีย์เป็นสีแดง
เส้นสินเทาเป็นเส้นครีบ พลิ้ว คล้ายภาพจิตรกรรมที่วัดใหญ่สุวรรณาราม
จิตรกรรมแสดงเรื่องพุทธประวัติ หลายตอน ได้แก่ อัฏฐมหาสถาน สัตตมหาสถาน ตอนมารผจญ ที่ประทับรอยพระพุทธบาท ตอนเสด็จดาวดึงส์ ตอนอภิเษก ตอนพบเทวทูตทั้งสี่ ตอนปรินิพาน ตอนพระมหากัสสปะ ถวายสักการะถวายพระเพลิง และแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ภาพอดีตพุทธเจ้า 24 พระองค์ ที่ต่างจากที่อื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักเน้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ มักเป็นภาพประสูติ วิวาหมงคล ออกมหาภิเนษกรมณ์แต่ที่วัดเกาะแสดงอัฏฐมหาสถาน กับสัตตมหาสถาน เป็นการเน้นในแง่การบำเพ็ญบารมีธรรม ปรัชญา ความคิด มีภาพเหตุการณ์น้อย
สะท้อนความเข้าใจเรื่องพุทธศาสนาของคนในยุคนั้น สภาพสังคมบางส่วน ความเป็นไปของวิถีชีวิตของคนในสังคม เช่น ขุนนาง ชาวบ้าน รวมถึงการแต่งกาย ทรงผม และการละเล่น ชาวต่างประเทศทั้งชาติตะวันออก และตะวันตก ที่เดินทางเข้ามาติดต่อ เมืองเพชรบุรีนับเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในสมัยอยุธยาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง ความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมืองที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความศรัทธาอย่างแรงกล้าในพุทธศาสนา
ศาลาการเปรียญ
ศาลาการเปรียญ ลักษณะเป็นเรือนโถงทรงไทย เจ้าอธิการโฉม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2431 ที่คอสองและฝ้าปีกนก มีภาพจิตรกรรมสีฝุ่นบนแผ่นไม้ เรื่อง พระปฐมสมโพธิกถา เวสสันดรชาดก และภาพธรรมชาติสัตว์ป่า เพดานประดับด้วยไม้จำหลักลายดาวล้อมเดือนบนพื้นแดง มุมเพดานเป็นลายไก่ฟ้า ขื่อ คาน และเสา ปรุทองล่องชาดลายหน้ากระดานและพุ่มข้าวบิณฑ์ ฝ้าปีกนกบางส่วนปรุลายทองลายพุดตานใบเทศ ทางด้านทิศตะวันตกและตะวันออก มีศาลาสกัดด้านละหนึ่งหลัง ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างเพิ่มเติมขึ้นในภายหลัง ดังมีจารึกบอกปีการสร้างที่ลายหน้าจั่วของศาลาสกัดด้านทิศตะวันออก ระบุ พ.ศ.2457